ภาวะตลาดเงินบาท: ปิด 33.37 ทรงตัวจากช่วงเช้า ตลาดรอติดตามผลการประชุมเฟดกลางสัปดาห์นี้

          นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้อยู่ที่ 33.37 บาท/ดอลลาร์ ทรงตัวในระดับ
เดียวจากเปิดตลาดเมื่อเช้านี้ เคลื่อนไหวในทิศทางเดียวกับภูมิภาค ระหว่างวันบาทเคลื่อนไหวผันผวน โดยเป็นไปตามโฟล์วตั้งแต่ช่วงเช้าที่
มีแรงซื้อดอลลาร์ และช่วงบ่ายมีแรงขายดอลลาร์ วันนี้นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิพันธบัตรไทยประมาณ 2,800 ล้านบาท โดยตลาดรอติดตาม
การส่งสัญญาณจากธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ที่จะมีการประชุมขึ้นในวันที่ 22 ก.ย.นี้ 
          "บาทอ่อนค่าทรงตัวจากเมื่อเช้านี้ โดยระหว่างวันเงินบาทผันผวนตามโฟล์ว และขึ้นไปแตะที่ 33.48 บาท/ดอลลาร์ ซึ่งเป็น
ระดับอ่อนค่าตั้งแต่ช่วงกลางเดือน ส.ค.ที่ผ่านมา" นักบริหารเงิน กล่าว
          นักบริหารเงิน ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในวันพรุ่งนี้ไว้ที่ 33.30 - 33.50 บาท/ดอลลาร์
 
          * ปัจจัยสำคัญ

          - เงินเยนอยู่ที่ระดับ 109.56 เยน/ดอลลาร์ จากเมื่อเช้าที่ระดับ 109.54 เยน/ดอลลาร์
          - เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.1732 ดอลลาร์/ยูโร จากเมื่อเช้าที่ระดับ 1.1726 ดอลลาร์/ยูโร
          - ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,614.86 จุด เพิ่มขึ้น 11.80 จุด, +0.74% มูลค่าการซื้อขาย 83,910.37 ล้านบาท
          - สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติซื้อสุทธิ 789.29 ล้านบาท (SET+MAI)
          - นายกรัฐมนตรี ชี้แจงเรื่องการขยายเพดานหนี้สาธารณะว่า เป็นการเพิ่มพื้นที่ทางการคลังให้กับรัฐบาล ในกรณีที่รัฐบาลจำ
เป็นต้องใช้มาตรการทางการคลังในการแก้ปัญหาทางด้านเศรษฐกิจและการพัฒนาประเทศซึ่งอยู่ในช่วงสถานการณ์โควิด-19 ตั้งแต่ปี 2563 
ต่อเนื่องมายังปี 2564 รัฐบาลได้ใช้จ่ายเพื่อบรรเทาความเดือดร้อน จากการแพร่ระบาดของโควิด-19 มาส่วนหนึ่งแล้ว 
          - ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เห็นความจำเป็นในการปรับเพิ่มเพดานหนี้ดังกล่าว เพื่อเพิ่มความคล่องตัวให้กับการ
ดำเนินนโยบายเพื่อรองรับสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 และพยุงการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในระยะข้างหน้า โดยประเมินว่าความ
เสี่ยงต่าง ๆ ยังต่ำ โดยการใช้จ่ายภาครัฐควรเน้นโครงการที่มีประสิทธิผลสูง และเพิ่มศักยภาพทางเศรษฐกิจของประเทศ และจะต้องเร่ง
ลดสัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP กลับมาที่ 60% ให้ได้ในระยะต่อไป
          - ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า สัดส่วนหนี้สาธารณะที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจนนำมาสู่การขยายกรอบเพดานหนี้สาธารณะจะไม่
กระทบเสถียรภาพทางการคลังในระยะสั้น โดยรัฐบาลยังมีความสามารถในการชำระหนี้ที่ครบกำหนดได้ เนื่องจากโครงสร้างหนี้สาธารณะ
ของไทยส่วนใหญ่เป็นการระดมทุนในประเทศและเป็นหนี้ระยะยาว โดย ณ เดือน ก.ค. 2564 สัดส่วนหนี้ในประเทศอยู่ที่ 98.2% ของหนี้
สาธารณะรวม ทำให้สัดส่วนหนี้ต่างประเทศในหนี้สาธารณะของไทยอยู่ในระดับต่ำมากเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ 
          - ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบในหลักการและขยายมาตรการบรรเทาภาระค่าไฟฟ้าและค่าน้ำประปา อนุมัติ
งบกลาง ปี 64 รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็นจำนวน 27,005.66 ล้านบาท
          - ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบกรอบและงบลงทุนของรัฐวิสาหกิจ 44 แห่ง ภายใต้สังกัด 15 กระทรวง ประจำปี
งบประมาณ 2565 วงเงินดำเนินการ (วงเงินสำหรับให้รัฐวิสาหกิจใช้เป็นกรอบลงนามในสัญญาเพื่อลงทุน) จำนวน 1.48 ล้านล้านบาท 
และวงเงินเบิกจ่ายลงทุน (วงเงินที่มีการเบิกจ่ายจริงเพื่อใช้ดำเนินการตามสัญญา) จำนวน 3.07 แสนล้านบาท ตามที่สภาพัฒนาการ
เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เสนอ โดยจะทำให้ GDP ประเทศไทยขยายตัวได้ 0.17%
          - เอสแอนด์พี โกลบอล เรทติ้งส์ (S&P) คาดการณ์ว่า บริษัทไชน่า เอเวอร์แกรนด์ กรุ๊ปซึ่งเป็นบริษัทอสังหาริมทรัพย์ราย
ใหญ่ที่สุดอันดับสองของจีนมีแนวโน้มที่จะผิดนัดชำระหนี้ และเชื่อว่ารัฐบาลจีนจะไม่ให้การสนับสนุนโดยตรงแก่เอเวอร์แกรนด์ แม้นักลงทุนมี
ความวิตกเพิ่มมากขึ้นว่า เอเวอร์แกรนด์อาจจะผิดนัดชำระหนี้การจ่ายดอกเบี้ยหุ้นกู้ 2 งวดในเดือนนี้
          - ประธานบริษัทไชน่า เอเวอร์แกรนด์ กรุ๊ปซึ่งเป็นบริษัทอสังหาริมทรัพย์รายใหญ่ที่สุดอันดับสองของจีน ได้ส่งจดหมายถึง
พนักงานของบริษัทว่า เอเวอร์แกรนด์มีความเชื่อมั่นว่าบริษัทจะสามารถผ่านพ้นช่วงเวลาที่มืดมนที่สุดในขณะนี้ไปได้ด้วยดี และคาดว่าการส่ง
มอบโครงการอสังหาริมทรัพย์ต่างๆ จะดำเนินไปตามสัญญา
          - ตลาดการเงินทั่วโลกจับตาการประชุมนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ในวันที่ 21-22 ก.ย.นี้ ขณะที่นัก
วิเคราะห์คาดการณ์ว่า เฟดจะส่งสัญญาณที่ชัดเจนมากขึ้นว่า เฟดจะเริ่มปรับลดวงเงินในโครงการซื้อพันธบัตรตามมาตรการผ่อนคลายเชิง
ปริมาณ (QE) อย่างเร็วที่สุดในเดือนพ.ย.นี้