สธ.เผยไม่ฉีดวัคซีนซิโนแวกให้นายกฯ มีคำแนะนำไม่ให้ฉีดกับผู้มีอายุเกิน 60 ปี

นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดกรมควบคุมโรค เปิดเผยว่า ขณะนี้ได้มีการกระจายวัคซีนต้านโควิด-19 ไปโรงพยาบาลกลุ่มเป้าหมาย 18 จังหวัดโดยเฉพาะ 13 จังหวัดแรกได้รับวัคซีนซิโนแวกล็อตแรก 2 แสนโดสกระจายไป 32 โรงพยาบาล และช่วงเย็นนี้ นพ.เกียรติภูมิ วงศ์รจิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.)จะไปตรวจเยี่ยมความเรียบร้อยการเตรียมการฉีดวัคซีนที่จะเริ่มในวันพรุ่งนี้ (28 ก.พ.) ที่รพ.บำราศนราศนาดูร

ทั้งนี้ในกระบวนการฉีดวัคซีน ประสิทธิภาพความปลอดภัยของวัคซีนในขณะนี้เป็นที่ยอมรับ วัคซีนหลายอันทั้งองค์การอนามัยโลก (WTO) องค์การอาหารและยาของแต่ละประเทศ และมีการฉีดไปเป็นจำนวนมากแล้ว แต่ทั้งนี้ วัคซีนต้านโควิด-19 ของบริษัท ซิโนแวกมีข้อแนะนำว่าคนอายุเกิน 60 ปีขึ้นไป ไม่แนะนำให้ฉีด เรื่องจากข้อมูลยังมีค่อนข้างน้อย เพราะฉะนั้นข้อแนะนำทางการแพทย์และข้อแนะนำขอซิโนแวก ก็จะไม่ให้ฉีดวัคซีนผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป ดังนั้นจึงไม่ได้ฉีดให้กับพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม เพราะมีอายุเกิน 60 ปี

"ผมเข้าใจว่านายกรัฐมนตรี ก็ลำบาก ครั้นจะไม่ฉีดวัคซีนคนก็หาว่าไม่มั่นใจ กลัว ทั้งที่ท่านก็อยากฉีด แต่พอจะฉีดก็จะถูกครหาว่าแย่งพี่น้องประชาชน แต่ถ้าพูดถึงในแง่การแพทย์และสาธารณสุขอย่างเดียว ก็พบว่าจริงๆ ท่านเป็นกลุ่มเสี่ยง"

กลุ่มเสี่ยง 4 กลุ่มได้แก่ เป็นบุคคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข กลุ่มผู้มีโรคประจำตัว กลุ่มผู้มีอายุ 60 ปีขึ้นไป และกลุ่มเจ้าหน้าที่ต่างๆที่อาจสัมผัสผู้ที่ติดเชื้อซึ่งรวมนายกรัฐมนตรีที่ได้ออกไปตรวจเยี่ยมพบพี่น้องประชาชนก็มีความเสี่ยง รวมทั้งใช้เกณฑ์พื้นที่เสี่ยง ซึ่งนายกรัฐมนตรีอยู่กรุงเทพมหานครซึ่งเป็นหนึ่งในพื้นที่เสี่ยง ฉะนั้นเมื่อดูตามเกณฑ์ นายกรัฐมนตรีก็เข้าเกณฑ์รับวัคซีนก่อน

อย่างไรก็ตาม หากวัคซีนของบริษัท แอสตร้าเซนเนกา ได้รับการรับรองมาตรฐานจากประเทศอังกฤษ นายกรัฐมนตรีก็อยู่ในเกณฑ์ที่จะต้องได้รับวัคซีน

เช่นเดียวกับนายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรมว.สาธารณสุข อายุไม่ถึง 60 ปี แต่เนื่องจากมีโอกาสสัมผัสกับผู้ติดเชื้อไม่ว่าจะไปตรวจเยี่ยมจุดที่มีการระบาด ลงพื้นที่พบพี่น้องประชาชน ถือเป็นกลุ่มที่อยู่ในเป้าหมายที่ได้รับการฉีดวัคซีน ซึ่งสามารถฉีดวัคซีนได้ทั้งวัคซีนซิโนแวก และแอสตร้าเซนเนกา

อย่างไรก็ตาม การฉีดวัคซีน เป็นไปโดยความสมัครใจ ไม่บังคับซึ่งจะไปบังคับ นายกรัฐมนตรี และรองนายกรัฐมนตรีไม่ได้ ถึงแม้จะเป็นกลุ่มเป้าหมาย ยึดถือเรื่องความสมัครใจ

น.พ.โอภาส กล่าวว่า สำหรับชาวต่างชาติ มีสิทธิได้รับวัคซีนถือว่าทุกคนที่อยู่ในแผ่นดินไทย ไม่ว่าจะทำงานในไทย หรือคนที่เดินทางไปมาประเทศไทย ก็อยู่ในเกณฑ์ที่ฉีดวัคซีน โดยก.สาธารณสุข ได้แจ้งให้จังหวัดรับว่ากำหนดพื้นที่เป้าหมาย เมื่อคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดไปกำหนดประชาชนกลุ่มเป้าหมาย จะทำการฉีดวัคซีนในโรงพยาบาลเท่านั้น โดยมีเป้าหมายฉีดวัคซีน 10 ล้านโดสต่อเดือน

นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก คณะแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวแนะนำว่าการรับวัคซีนแล้ว เริ่มแรกการเตรียมตัวรับวัคซีน ร่างกายต้องแข็งแรง วันนั้นต้องไม่มีไข้ หรือไม่สบาย เมื่อรับวัคซีนดูอาการหลังฉีด 30 นาที และเมื่อกลับบ้านถ้ามีอาการอะไรก็ตามแต่ที่ผิดปกติ เช่น ไข้สูง หรืออาการที่เกิดขึ้นสงสัยเกี่ยวข้องกับการฉีดวัคซีนหรือไม่เกี่ยวข้องก็แจ้ง โดยให้บันทึกข้อมูลใน"หมอพร้อม" ซึ่งเป็นแอปพลิเคชั่นที่ทุกคนควรดาวน์โหลด แต่หากมีอาการมากและต้องการพบแพทย์ให้กลับไปหาแพทย์ในโรงพยาบาลที่ทำการฉีดวัคซีน

นพ.ยง กล่าวว่า การระบาดโควิด-19 เหมือนกับไขัหวัดใหญ่สเปนที่เกิดขึ้นเมื่อ 100 ปีที่แล้ว ทางออกที่จะยุติโรคนนี้ได้คือ วัคซีน แต่ต้องถือครั้งนี้เป็นประวัติศาสตร์ที่สามารถผลิตวัคซีนภายในไม่ถึง 1 ปี ซึ่งผลิตอยู่ mRNA เป็นการใช้รหัสพันธุกรรมไวรัสเป็นตัวนำ วัคซีนของ Pfizer และ Moderna แต่การเก็บต้องอยู่อุณหภูมิ ติดลบ ส่วนวัคซีนเป็น Viral vector vaccine เป็นสารพันธุกรรมด้วยไวรัส ทำให้การสร้างโปรตีนไม่ต่างจาก mRNA ซึ่ง แต่จะทำให้การกระจายวัคซีน เพราะเก็บอุณหภูมิ 2-8 องศา ที่ไทยได้รับจากมหาวิทยาลัยออฟฟอร์ดและ แอสตร้าเซเนก้า และรัสเซียก็ผลิตวัคซีนSputnik V และตัวที่จับตาอยู่คือของ จอห์นสันแอนด์จอห์นสัน กำลังจะขึ้นทะเบียนในประเทศไทย ซึ่งมีข้อดีที่ฉีดเข็มเดียวและสามารถป้องกันโรคได้ดี

ส่วนวัคซีนที่จะฉีดในพรุ่งนี้ ที่เป็นวัคซีนของซิโนแวกเป็นวัคซีนที่มาจากเชื้อที่ตาย มีประสิทธิภาพค่อนข้างดี ที่สามารถป้องกันความรุนแรงของโรค ให้มีอาการน้อย สามารถป้องกันได้ถึง 78% แต่ป้องกันการป่วยที่ไม่ต้องเข้าโรงพยาบาลสามารถป้องกัน 100% และถ้าติดเชื้อแต่ป่วยไม่ต้องการดูแลทางการแพทย์ แสดงว่าการป่วยค่อนข้างน้อย วัคซีนจึงมีประสิทธิภาพป้องกันโรคได้เป็นอย่างดี

โดยซิโนแวกที่ต้องฉีดในผู้มีอายุ 18-59 ปี เนื่องจากเป็นวัคซีนใหม่ การศึกษาในระยะที่ 1-3 ที่ศึกษาในคน มีคนอายุ 60 ปีขึ้นไป 3% จึงไม่มีข้อมูลว่าถ้าให้คนอายุเกิน 60 ปี ผลในการป้องกันโรคเป็นอย่างไร อาการแทรกซ้อนเป็นอย่างไร แต่อย่างไรก็ตามวัคซีนตัวนี้ก็ไม่ได้เป็นข้อห้าม เราคงต้องรอการศึกษา อาจจะ 1-2 เดือนน่าจะมีข้อมูลมากขึ้น แล้วจึงปรับให้ใช้กับคนอายุ 60 ปีขึ้นไป ก็เป็นเหตุผลว่า นายกรัฐมนตรี อายุเกิน 60 ปี แล้ว แต่วัคซีนเข้ามาเป็นของซิโนแวก เราก็ต้องยึดตามกฎเกณฑ์ ถ้ามีข้อมูลเพิ่มเชื่อว่าจะให้ฉีดวัคซีนได้ ซึ่งคาดนายกฯยินดีจะมาฉีดแน่นอน

ส่วนวัคซีนโนวาแวกที่คนไทยเรียกร้องให้นำเข้ามา วัคซีนโนวาแวกคล้ายกับวัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบบี คือสังเคราะห์โปรตีนขึ้นมาจากสิ่งมีชีวิตมา จากเซลล์แมลงโดยใช้พาหะที่จะนำเข้าไปเซลล์แมลง เมื่อได้โปรตีนขึ้นมาแล้ว ก็นำไปทำเป็นวัคซีนแล้วเอามารวมกับตัวกระตุ้นภูมิคุ้มกันของร่างกาย ภูมิคุ้มกันถึงจะกระตุ้นได้สูง ตัวที่เสริมภูมิคุ้มกันคือ แมทริก เอ็มแม็กวาแรน ซึ่งเป็นสิ่งใหม่ยังไม่เคยใช้กับมนุษย์มาก่อน ซึ่งแมทริก ได้จากโมนาทรี ที่เป็นพืชหรือต้นไม้อย่างหนึ่งที่ชิลี วัคซีนตัวนี้ผลิตในสหรัฐฯ กำลังรอขึ้นทะเบียนแบบฉุกเฉินในสหรัฐฯอยู่

ทั้งนี้ ประเทศไทยมีวัคซีน 2 ตัว ตัวแรกมาจาก ซิโนแวก ที่เป็นเชื้อตาย และ แอสตร้าเซเนก้า ที่กำลังจะตามเข้ามาใน 1-2 สัปดาห์นี้ โดยวัคซีนทั้งสองนี้มีประสิทธิภาพไม่ต่างกัน ป้องกันโรคไม่ให้มีความรุนแรงของโรคได้ และไม่ให้เสียชีวิตได้ ดังนั้นถ้าเรามีวัคซีน ก็จะมีการผ่อนคลายมาตรการต่างๆเพิ่มขึ้น

"การฉีดวัคซีนไม่ต้องเสียเวลาคิด เป็นป้องกันเราและป้องกันเขา หรือคนรอบข้างเราด้วย โรคจะลดลง เหมือนกับการใส่หน้ากากอนามัย และถ้าฉีดมากๆ ก็เป็นการป้องกันเขาป้องกันเรา ก็จะทำให้บ้านเราไม่มีโรคนี้เกิดขึ้น ผมจึงอยากมาเชิญชวนเป็นการฉีดวัคซีนเพื่อชาติ ถ้าเราได้ฉีดกันมากๆแล้วเราป้องกันเรา ป้องกันเขา โรคนี้จะสงบลงไป แล้วชีวิตความเป็นอยู่จะได้กลับคืนมา ด้วยเหตุนี้ มาช่วยกันโดยการฉีดวัคซีนเพื่อให้เรากลับสู่ภาวะเศรษฐกิจที่ดีขึ้นทุกคนจะได้มีงานทำทุกคนจะได้ไม่ตกงาน"นพ.ยง กล่าวแนะนำ

ทั้งนี้ เมื่อวัคซีนทยอยเข้ามาก.สาธารณสุขจะมีการจัดสรรให้การฉีดวัคซีนเรียงลำดับความเสี่ยง ฉีดวัคซีนไม่ต้องรีรอ ปัจจุบัน ทั่วโลก ฉีดวัคซีนไปแล้ว 220 ล้านโดส โดยประเทศอิสราเอลฉีดไปมากแล้ว ครอบคลุมประชากร 80% ซึ่งเริ่มฉีด 20 ธ.ค.63 เมื่อฉีดวัคซีนในคนหมู่มาก จำนวนผู้ป่วยโควิดลดลงอย่างมาก ลงกว่าครึ่ง อัตราการตายลดลงอย่างมีนัยสำคัญ แสดงว่ามีการฉีดวัคซีนหมู่มากเป็นการป้องกันโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพมาก ส่วนจะฉีดชนิดไหน นพ.ยง กล่าวว่า วัคซีนที่มีอยู่ปัจจุบันมีประสิทธิภาพทั้งนั้น

จากการสำรวจพบว่าประเทศไทยมีแนวโน้มที่ต้องการฉีดวัคซีนมาก จากตัวอย่าง 3 หมื่นคนระบุไม่ฉีดเพียง 4% ระบุว่าฉีดแน่นอน 58% และรวมกับต้องการอยากจะฉีดเท่ากับ 80%กว่า แสดงว่าเมื่อมีวัคซีนประชาชนไทยพร้อมที่จะฉีด เพื่อให้โรคนี้เบาบางหรือสงบ ส่วนอาการแทรกซ้อน ทั่วโลกหลังฉีดวัคซีนไม่มีใครตาย แต่มีอาการแพ้อย่างรุนแรง 5 ในล้านคนและในสหรัฐฉีดไปแล้ว 13 ล้านคน มีการเสียชีวิต 113 คน หลังฉีด แต่เมื่อสอบสวนโรคไม่เกี่ยวกับวัคซีนโควิด อย่างไรก็ดี ไม่อยากให้ฉีดพร้อมกับวัคซีนอื่น วัคซีนโควิดเป็นของใหม่ แต่ให้ฉีดห่างกัน 2 สัปดาห์

นพ.ยงกล่าวว่า เมื่อฉีดวัคซีน ยังเป็นโรคโควิดได้ แต่อาการน้อยลง เพราะวัคซีนลดความรุนแรง เหลือแค่หวัดธรรมด การเป็นโควิดแล้ว ภูมิต้านทานไม่ได้อยู่ตลอดไป โดยภูมิจะลดลงหลัง 6 เดือน จึงแนะให้ฉีดวัคซีนหลังเป็นโรค 6 เดือน ระยะยาวอาจมีข้อมูลให้ฉีดกระตุ้นอย่างไร

และย้ำว่าควรสวมใส่หน้ากากอนามัย และเว้นระยะห่าง

อนึ่ง ในวันพรุ่งนี้ (28 ก.พ.) จะมีการฉีดวัคซีนที่ รพ.บำราศนราศนาดูร , สมุทรสาครที่ รพ.สมุทรสาคร และชลบุรี ที่รพ.ชลบุรี