ภาวะตลาดเงินบาท: ปิด 32.85 ทรงตัวรอปัจจัยชี้นำใหม่-ลุ้นผล ECB คาดกรอบพรุ่งนี้ 32.80-32.90

          นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้อยู่ที่ระดับ 32.85 บาท/ดอลลาร์ ใกล้
เคียงจากช่วงเช้าที่เปิดตลาดที่ระดับ 32.83/84 บาท/ดอลลาร์
          ระหว่างวันเงินบาทเคลื่อนไหวในกรอบไม่เกิน 10 สตางค์ ซึ่งเป็นเช่นนี้ต่อเนื่องมา 2 วันแล้ว คาดว่าตลาดรอดูปัจจัย
ชี้นำใหม่ๆ เช่น ผลกระทบจากการกลายพันธุ์ของไวรัสสายพันธุ์เดลตา ตลอดจนสถานการณ์ระบาดของหลายประเทศทั่วโลก ขณะที่วันพรุ่งนี้ 
จะมีผลประชุมธนาคารกลางยุโรป (ECB) ออกมา ซึ่งตลาดรอดูว่าจะมีการส่งสัญญาณลดการทำ QE ในระยะต่อไปหรือไม่
          "ตลาดลุ้นว่า ECB จะส่งสัญญาณลดการทำ QE ในระยะถัดไปหรือไม่ ถ้าไม่พูดถึง เงินยูโรก็อาจจะอ่อนค่า และทำให้
คนหันไปถือสกุลดอลลาร์สหรัฐ" นักบริหารเงิน ระบุ
          นักบริหารเงิน คาดว่า พรุ่งนี้เงินบาทจะเคลื่อนไหวในกรอบ 32.80 - 32.90 บาท/ดอลลาร์

          * ปัจจัยสำคัญ
          
          - เงินเยนอยู่ที่ระดับ 110.05 เยน/ดอลลาร์ จากช่วงเช้าที่ระดับ 109.97/98 เยน/ดอลลาร์
          - เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.1775 ดอลลาร์/ยูโร จากช่วงเช้าที่ระดับ 1.1777/1778 ดอลลาร์/ยูโร
          - ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,540.88 จุด เพิ่มขึ้น 2.02 จุด (+0.13%) มูลค่าการซื้อขาย 73,683 ล้านบาท
          - สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติขายสุทธิ 1,220.86 ลบ. (SET+MAI)
          - พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม เรียกประชุมศูนย์บริหารสถานการณ์เศรษฐกิจจากผล
กระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 (ศบศ.) ในวันพรุ่งนี้ (22 ก.ค.) เพื่อหารือสถานการณ์เศรษฐกิจ และมาตรการกระตุ้น
เศรษฐกิจและการลงทุน รวมไปถึงมาตรการเยียวยาต่างๆ เพิ่มเติม              
          - ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เผย ภายในไตรมาส 3/64 เตรียมออกประกาศหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการกำกับดูแลค่า
ธรรมเนียม (fee) ของธนาคารพาณิชย์กว่า 300 รายการ เพื่อให้การคิดค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรมต่าง ๆ สะท้อนต้นทุนและรายได้แท้
จริงของสถาบันการเงินมากที่สุด
          - ธปท.เผยจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ทั่วโลก ส่งผลให้ภาวะหนี้ครัวเรือนเพิ่มสูงขึ้นในทุกประเทศ และไทยมีหนี้ครัว
เรือนเพิ่มขึ้นสูงกว่าหลายประเทศ โดยไตรมาส 1/64 หนี้ครัวเรือนไทยอยู่ที่ 90.5% ของ GDP โดยยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นผล
จากรายได้ของประชาชนลดลง ขณะที่ภาระหนี้เดิมเพิ่มสูงขึ้น
          - ผู้อำนวยการใหญ่ขององค์การอนามัยโลก (WHO) เปิดเผยว่า โลกกำลังอยู่ในช่วงเริ่มต้นของการแพร่ระบาดของโรคโค
วิด-19 และการเสียชีวิตระลอกใหม่
          - รัฐบาลญี่ปุ่น เผยยอดส่งออกในช่วงครึ่งแรกของปี 2564 (ม.ค.-มิ.ย.) พุ่งขึ้น 23.2% เมื่อเทียบรายปี ซึ่งเป็นการขยาย
ตัวแข็งแกร่งที่สุดในรอบ 11 ปี สะท้อนให้เห็นว่าเศรษฐกิจโลกเริ่มฟื้นตัวขึ้น หลังจากชะลอตัวในช่วงที่ผ่านมาเนื่องจากการแพร่ระบาดของ
โรคโควิด-19
          - ข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญของหลายประเทศที่จะมีการรายงานในสัปดาห์นี้ ได้แก่ ธนาคารกลางยุโรป (ECB) ประชุมนโยบาย
การเงินและแถลงมติอัตราดอกเบี้ย, สหภาพยุโรป รายงานดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคบริการและภาคการผลิตขั้นต้นเดือนก.ค., 
สหรัฐฯ รายงานจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์, ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือน ก.ค. จาก Conference Board เป็นต้น