(เพิ่มเติม) ภาวะตลาดเงินบาท: เปิด 30.22 แนวโน้มทรงตัวรอปัจจัยใหม่ แม้ดอลล์แข็งค่า ให้กรอบวันนี้ 30.15-30.30

          นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทเปิดตลาดเช้านี้อยู่ที่ระดับ 30.22 บาท/ดอลลาร์ ทรงตัวจาก
เย็นวานนี้ที่ปิดตลาดที่ระดับ 30.23 บาท/ดอลลาร์
          เงินบาทยังค่อนข้างทรงตัวจากเย็นวานนี้ แม้ดอลลาร์สหรัฐปรับตัวแข็งค่าเมื่อเทียบกับสกุลเงินอื่น จากตัวเลขของสถาบัน
จัดการอุปทานของสหรัฐ (ISM) ที่เปิดเผยดัชนีภาคการผลิตเดือนก.พ.ออกมาดีกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ อย่างไรก็ดี ทิศทางเงินบาท
วันนี้คาดว่าจะยังมีแนวโน้มทรงตัว 
          "ปัจจัยคืนนี้ยังไม่มีอะไรมาก แต่พฤหัสนี้คงต้องรอฟังว่าประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะออกมาให้มุมมองหรือมีการ 
take action อย่างไร ต่อ Treasury Yield ของสหรัฐที่ขึ้นไปเร็วมาก" นักบริหารเงินระบุ
          นักบริหารเงิน คาดว่า วันนี้เงินบาทจะเคลื่อนไหวในกรอบ 30.15-30.30 บาท/ดอลลาร์
          THAI BAHT FIX 3M (1 มี.ค.) อยู่ที่ระดับ 0.28010% ส่วน THAI BAHT FIX 6M อยู่ที่ระดับ 0.31973%
          SPOT ล่าสุด อยู่ที่ระดับ 30.33000 บาท/ดอลลาร์

          * ปัจจัยสำคัญ

          - เงินเยนอยู่ที่ระดับ 106.86 เยน/ดอลลาร์ จากเย็นวานที่ระดับ 106.70 เยน/ดอลลาร์
          - เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.2035 ดอลลาร์/ยูโร จากเย็นวานที่ระดับ 1.2040 ดอลลาร์/ยูโร
          - อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท/ดอลลาร์ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างธนาคารของธปท.อยู่ที่ระดับ 30.338 บาท/ดอลลาร์
          - พิพัฒน์เตรียมหารือสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ทวง "เที่ยวไทยวัยเก๋า" หลังโครงการ
ไม่คืบ หน่วยงานรัฐเห็นแย้ง ในเงื่อนไขการจ่ายเงินสนับสนุนทัวร์ หรือจ่ายตรงให้กับนักท่องเที่ยวไม่เกิน 5,000 บาท/คน เห็นด้วยกับแคม
เปญตั๋วเครื่องบินบุฟเฟต์กระตุ้นความถี่
          - "คณิศ" เผยก่อนกลางปีนี้มีเซอร์ไพรส์ต่างชาติย้ายฐานจากสิงคโปร์มาลงทุน 5G ในไทย ขณะที่ "บอร์ดอีอีซี" คาดปี 
2564 ทัพนักลงทุนต่างชาติเข้ามาลงทุนในอีอีซีร่วม 4 แสนล้านบาท ทั้งจากที่ขอบีโอไอไว้ในปี 2563 และขอใหม่ในปีนี้รวมกับเม็ดเงินจาก
การลงทุนโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่อีก
          - ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยถึงผลสำรวจถึงดัชนีความเชื่อมั่นนักธุรกิจต่างประเทศที่
จัดทำเป็นครั้งแรก และสำรวจจากหอการค้าต่างประเทศในไทย 30 ประเทศ จำนวน 119 ราย ตั้งแต่เดือน ม.ค.-ก.พ.64 ว่าดัชนี
ความเชื่อมั่นนักธุรกิจต่างประเทศโดยรวมอยู่ที่ 29.8 ดัชนีความเชื่อมั่นที่มีต่อเศรษฐกิจโดยรวมอยู่ที่ 27.6 และดัชนีความเชื่อมั่นธุรกิจอยู่ที่ 
32.1
          - ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า ณ สิ้นเดือน ก.พ.64 มี
การใช้จ่ายเงินจากโครงการ "เราชนะ" แล้วกว่า 70,000 ล้านบาท จากผู้ใช้สิทธิ 30 ล้านคน และคาดว่าจำนวนผู้ได้รับสิทธิ์จะอยู่ที่ 
31-32 ล้านคนตามเป้าหมาย เมื่อปิดลงทะเบียนวันที่ 5 มี.ค.นี้ ส่วนงบประมาณที่นำมาใช้จ่ายในโครงการนี้ราว 200,000 ล้านบาทนั้น 
ขณะนี้ใช้จ่ายไปแล้ว 70,000 ล้านบาท ยังคงเหลืออีก 130,000 ล้านบาท หากไม่เพียงพอ กระทรวงการคลังจะเสนอให้คณะรัฐมนตรี 
(ครม.) อนุมัติเพิ่มเติม 
          - กระทรวงพาณิชย์สหรัฐ เปิดเผยว่า การใช้จ่ายด้านการก่อสร้างพุ่งขึ้น 1.7% ในเดือนม.ค. เมื่อเทียบรายเดือน สู่ระดับ 
1.521 ล้านล้านดอลลาร์ ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่ที่เริ่มมีการเก็บรวบรวมข้อมูลในปี 2545 และสูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 
0.8%
          - สถาบันจัดการด้านอุปทานของสหรัฐ (ISM) เปิดเผยว่า ดัชนีภาคการผลิตของสหรัฐพุ่งสู่ระดับ 60.8 ในเดือนก.พ. ซึ่ง
เป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนก.พ.2561 และสูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 58.9 จากระดับ 58.7 ในเดือนม.ค.
          - ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (1 มี.ค.) ขาน
รับความข้อมูลเศรษฐกิจที่สดใส รวมทั้งความคืบหน้าในการออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของสหรัฐ
          - สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดลบติดต่อกันเป็นวันที่ 5 เมื่อคืนนี้ (1 มี.ค.) เนื่องจากนักลงทุนเทขายทองคำในฐานะ
สินทรัพย์ที่ปลอดภัยหลังจากตลาดหุ้นสหรัฐพุ่งขึ้นอย่างแข็งแกร่งเมื่อคืนนี้ นอกจากนี้ การแข็งค่าของสกุลเงินดอลลาร์ยังเป็นปัจจัยกดดันราคา
ทองคำด้วย 
          - นักลงทุนจับตาข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐในสัปดาห์นี้ ได้แก่ ตัวเลขจ้างงานภาคเอกชนเดือนก.พ.จาก ADP, ดัชนีผู้จัดการฝ่าย
จัดซื้อ (PMI) ภาคบริการขั้นสุดท้ายเดือนก.พ.จากมาร์กิต, ดัชนีภาคบริการเดือนก.พ.จากสถาบันจัดการด้านอุปทานของสหรัฐ (ISM), 
จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์, ยอดสั่งซื้อภาคโรงงานเดือนม.ค., ตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตรเดือนก.พ. และดุลการค้า
เดือนม.ค.