(เพิ่มเติม) ภาวะตลาดเงินบาท: เปิด 34.63/68 แนวโน้มแกว่งในกรอบ 34.55-34.75 ตลาดจับตาข้อมูลศก.สหรัฐ

          นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงเทพ  เปิดเผยว่า เงินบาทเปิดตลาดเช้านี้อยู่ที่ระดับ 34.63/68 บาท/ดอลลาร์ อ่อนค่าจาก
เย็นวานนี้ที่ปิดตลาดที่ระดับ 34.60 บาท/ดอลลาร์ 
          วันนี้คาดว่าทิศทางเงินบาทจะทรงตัวอยู่ในกรอบ เนื่องจากยังไม่มีปัจจัยสำคัญที่จะมีผลต่อการเคลื่อนไหวของค่าเงินมากนัก 
ตลาดรอดูเพียงการรายงานข้อมูลเศรษฐกิจจากฝั่งสหรัฐ เช่น ยอดขายบ้านมือสองเดือนเม.ย. และจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานราย
สัปดาห์
          นักบริหารเงิน คาดว่า วันนี้เงินบาทจะเคลื่อนไหวในกรอบ  34.55 - 34.75 บาท/ดอลลาร์
          THAI BAHT FIX 3M (18 พ.ค.) อยู่ที่ระดับ 0.48532% ส่วน THAI BAHT FIX 6M อยู่ที่ระดับ 0.60754%
          SPOT ล่าสุด อยู่ที่ระดับ 34.61500 บาท/ดอลลาร์
 
          * ปัจจัยสำคัญ

          - เงินเยนอยู่ที่ระดับ 128.48 เยน/ดอลลาร์ จากเย็นวานที่ระดับ 129.14 เยน/ดอลลาร์
          - เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.0485 ดอลลาร์/ยูโร จากเย็นวานที่ระดับ 1.0516 ดอลลาร์/ยูโร
          - อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท/ดอลลาร์ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างธนาคารของธปท.อยู่ที่ระดับ 34.624 บาท/ดอลลาร์
          - รัฐเร่งดันดิจิทัลอินฟราสตรัคเจอร์ติดปีกเศรษฐกิจไทย "ชัยวุฒิ" ลั่นดัน "ดิจิทัล ไอดี-ดิจิทัล แพลตฟอร์ม" ปลดล็อกขับ
เคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัล ชี้ดิจิทัลอินฟราฯไทยอยู่ในเกณฑ์ดี ติดอันดับโลกหลายด้าน อันดับ 1 โมบายแบงกิ้ง อันดับ 2 โมบายเพย์เม้นท์ และ
อันดับ 3 อีคอมเมิร์ซ คาดปี 73 เศรษฐกิจดิจิทัลไทยมีสัดส่วน 30% ของจีดีพี ด้าน "หัวเว่ย" ชี้เศรษฐกิจดิจิทัลเติบโตเร็วในหลายมิติ แรง
ขับเคลื่อนสำคัญหลังยุคโควิด-19
          - "3 ค่ายมือถือ" หนุนดิจิทัลดันเศรษฐกิจฟื้นตัว "เอไอเอส" ชี้โครงข่าย 5จี ดันโอกาสธุรกิจมหาศาล "ดีแทค" ชี้คนไทย
ปรับตัวรับดิจิทัลดีเยี่ยม ย้ำจุดยืนผลักดันวาระดิจิทัลประเทศไทย "ทรู" เผย 5 เทรนด์เทคโนโลยีเด่นพลิกธุรกิจ
          - "แบงก์ชาติ" ชี้พิษโควิด-19 กระทบตลาดแรงงานเด็กจบใหม่สาหัส ห่วงว่างงานทะยานแตะแสนราย สาขาบริการและการ
ค้าอ่วมสุด
          - กระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยว่า ตัวเลขการเริ่มต้นสร้างบ้านลดลง 0.2% ในเดือนเม.ย. สู่ระดับ 1.724 ล้านยูนิต 
ขณะที่นักวิเคราะห์คาดว่าลดลงสู่ระดับ 1.765 ล้านยูนิต โดยการเริ่มต้นสร้างบ้านได้รับผลกระทบจากการพุ่งขึ้นของราคาวัสดุก่อสร้าง และ
การขาดแคลนแรงงาน
          - ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก ๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กในวันพุธ (18 พ.ค.) 
หลังจากนายเจอโรม พาวเวล ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ยืนยันว่าเฟดไม่ลังเลที่จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยสูงสุดเท่าที่จำเป็นเพื่อ
สกัดเงินเฟ้อ
          - สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดลบในวันพุธ (18 พ.ค.) โดยตลาดถูกกดดันจากการแข็งค่าของสกุลเงินดอลลาร์ รวมทั้งการ
ที่นายเจอโรม พาวเวล ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ยืนยันว่าเฟดไม่ลังเลที่จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยสูงสุดเท่าที่จำเป็นเพื่อสกัดเงิน
เฟ้อ
          - ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ยืนยันว่า เฟดจะไม่ลังเลในการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยสูงสุดเท่าที่จำเป็น เพื่อควบคุม
เงินเฟ้อไม่ให้พุ่งขึ้นรุนแรงจนสร้างความเสียหายต่อรากฐานเศรษฐกิจ
          - FedWatch Tool ของ CME Group บ่งชี้ว่า ขณะนี้นักลงทุนให้น้ำหนัก 100% ที่เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างน้อย 
0.50% ในการประชุมนโยบายการเงินอีก 2 ครั้ง ทั้งในเดือนมิ.ย.และก.ค. หลังจากที่เฟดเพิ่งปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.50% ในเดือนพ.
ค. ซึ่งเป็นการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งใหญ่ที่สุดในรอบกว่า 20 ปี
          - รัฐมนตรีคลังสหรัฐ กล่าวว่า เศรษฐกิจสหรัฐสามารถรับมือผลกระทบจากการทำสงครามระหว่างรัสเซียและยูเครน
          - คณะกรรมการจัดการประชุมเวิลด์ อิโคโนมิก ฟอรั่ม (WEF) ออกแถลงการณ์ระบุว่า WEF จะจัดการประชุมประจำปีนี้ที่
เมืองดาวอส สวิตเซอร์แลนด์ ในวันที่ 22-26 พ.ค. โดยจะเป็นการประชุมแบบพบหน้ากันเป็นครั้งแรกในรอบ 2 ปี หลังจากที่ได้เลื่อนการ
ประชุมก่อนหน้านี้เมื่อวันที่ 17-21 ม.ค. ท่ามกลางความกังวลเกี่ยวกับการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอน
          - นักวิเคราะห์ของโกลด์แมน แซคส์ได้ปรับลดคาดการณ์การขยายตัวของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ของจีนลงสู่
ระดับ 4% ในปี 2565 ซึ่งต่ำตัวเลขเป้าหมายที่รัฐบาลจีนกำหนดไว้ที่ 5.5% หลังจากข้อมูลเดือนเม.ย.บ่งชี้ว่า เศรษฐกิจจีนชะลอตัวลง
อย่างหนัก เนื่องจากการใช้มาตรการล็อกดาวน์เพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ได้ส่งผลกระทบต่อกิจกรรมทางธุรกิจ
          - ข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญของสหรัฐที่เปิดเผยในวันนี้ ได้แก่ จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์, ดัชนีการผลิตเดือนพ.
ค.จากเฟดฟิลาเดลเฟีย, ยอดขายบ้านมือสองเดือนเม.ย. และดัชนีชี้นำเศรษฐกิจเดือนเม.ย.จากคอนเฟอเรนซ์บอร์ด (Conference 
Board)