ภาวะตลาดเงินบาท: ปิด 36.26 กลับมาอ่อนค่าจากช่วงเช้า รับผลต่างชาติขายพันธบัตร

          นักบริหารเงิน ธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้อยู่ที่ 36.26 บาท/ดอลลาร์ ปรับตัวอ่อนค่าจากเปิด
ตลาดเมื่อเช้าที่ระดับ 36.08 บาท/ดอลลาร์ ระหว่างวันเคลื่อนไหวในกรอบ 36.03 - 36.27 บาท/ดอลลาร์ 
          วันนี้เงินบาทอ่อนค่า เนื่องจากมีนักลงทุนต่างชาติขายพันธบัตรสุทธิประมาณ 6,000 ล้านบาท ด้านสกุลเงินภูมิภาคเคลื่อนไหว
แบบไร้ทิศทาง ทั้งนี้ ตลาดรอดูรายงานการประชุมจากคณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐ (FOMC) คืนนี้เป็นหลัก
          นักบริหารเงิน ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในวันพรุ่งนี้ไว้ที่ 36.05 - 36.35 บาท/ดอลลาร์

          * ปัจจัยสำคัญ
          - เงินเยนอยู่ที่ระดับ 141.34 เยน/ดอลลาร์ จากช่วงเช้าที่ระดับ 141.36 เยน/ดอลลาร์
          - เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.0323 ดอลลาร์/ยูโร จากช่วงเช้าที่ระดับ 1.0304 ดอลลาร์/ยูโร
          - ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,624.40 จุด เพิ่มขึ้น 9.07 จุด (+0.56%) โดยมีมูลค่าการซื้อขาย 64,614 ล้านบาท
          - สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติซื้อสุทธิ 2,460.62 ลบ. (SET+MAI)
          - ดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการ SME (SME Sentiment Index: SMESI) ประจำเดือนต.ค. 65 ค่าดัชนี SMESI อยู่ที่
ระดับ 53.1 เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้าที่ระดับ 52.9 โดยเป็นการเพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 ปัจจัยบวก มาจากการขยายตัวต่อ
เนื่องของภาคการท่องเที่ยว และธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องเป็นสำคัญ อีกทั้งราคาน้ำมัน และราคาวัตถุดิบมีแนวโน้มปรับตัวลดลง ส่งผลดีต่อกำไร
ของภาคธุรกิจ อย่างไรก็ตาม เริ่มมีสัญญาณการทรงตัวของกำลังซื้อ โดยเฉพาะภาคการค้าที่มีความเชื่อมั่นชะลอตัวลง
          - ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB EIC) มองว่า อุตสาหกรรมเกษตรในปี 66 มีแนวโน้มเติบโตใน
ลักษณะรูปตัว K โดยอุตสาหกรรมน้ำตาล มันสำปะหลัง และข้าว ในปี 66 ยังมีแนวโน้มขยายตัวดีต่อเนื่องจากปีนี้ ขณะที่อุตสาหกรรม
ยางพาราและปาล์มน้ำมันมีแนวโน้มกลับมาหดตัว ท่ามกลางความเสี่ยงจากเศรษฐกิจโลกที่อาจเข้าสู่ภาวะถดถอย ราคาน้ำมันที่มีแนวโน้มปรับ
ลดลง รวมทั้งปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ในระบบเศรษฐกิจ
          - องค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD) คาดการณ์ว่า การขยายตัวของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายใน
ประเทศ (GDP) ทั่วโลกในปี 66 จะชะลอตัวลงสู่ระดับ 2.2% จากระดับ 3.1% ในปี 65 เนื่องจากผลกระทบของการที่ธนาคารกลางทั่ว
โลกพากันใช้นโยบายคุมเข้มด้านการเงินเพื่อสกัดเงินเฟ้อ โดยระบุว่าสาเหตุส่วนหนึ่งที่ทำให้เงินเฟ้อสูงขึ้นนั้น มาจากผลกระทบของการที่รัส
เซียทำสงครามกับยูเครน
          - สมาชิกคณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงินของธนาคารกลางจีน (PBOC) เปิดเผยว่า เศรษฐกิจจีนมีแนวโน้มจะขยายตัว
มากกว่า 5% ในปี 2566 หากการหยุดชะงักจากโควิด-19 สิ้นสุดลง และรัฐบาลจีนออกนโยบายเพิ่มเติมเพื่อกระตุ้นความเชื่อมั่นและการบริ
โภค
          - ผลสำรวจของเอสแอนด์พี โกลบอล แสดงให้เห็นว่า การชะลอตัวของกิจกรรมทางธุรกิจของยูโรโซนบรรเทาลงเล็กน้อยใน
เดือนพ.ย. แต่อุปสงค์โดยรวมยังคงลดลงเนื่องจากผู้บริโภคลดการใช้จ่ายท่ามกลางวิกฤตค่าครองชีพ
          - สำนักงานสถิติแห่งชาติสิงคโปร์ รายงานในวันนี้ว่า ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) พื้นฐานซึ่งเป็นมาตรวัดเงินเฟ้อที่ธนาคาร
กลางสิงคโปร์ให้ความสำคัญ ปรับตัวขึ้น 5.1% ในเดือนต.ค. ซึ่งชะลอตัวลงจากเดือนก.ย. ที่ระดับ 5.3% และต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์ในโพ
ลสำรวจของรอยเตอร์คาดไว้ที่ 5.3%
          - ธนาคารกลางเกาหลีใต้ (BOK) เปิดเผยในวันนี้ (23 พ.ย.) ว่า ความเชื่อมั่นของภาคธุรกิจเกาหลีใต้ที่มีต่อภาวะ
เศรษฐกิจภายในประเทศร่วงลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 ติดต่อกันในเดือนพ.ย. เนื่องจากความกังวลเกี่ยวกับเงินเฟ้อและภาวะเศรษฐกิจตก
ต่ำ