ภาวะตลาดเงินบาท: ปิด 32.48 ทรงตัวจากช่วงเช้า รอปัจจัยใหม่ ลุ้นข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ

          นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้ อยู่ที่ระดับ 32.48 บาท/ดอลลาร์ ทรงตัวจาก
ช่วงเช้า ที่เปิดตลาดที่ระดับ 32.48 บาท/ดอลลาร์
          ระหว่างวันเงินบาทเคลื่อนไหวแคบ ๆ อยู่ในกรอบ 32.45 - 32.54 บาท/ดอลลาร์ โดยเย็นนี้ถือว่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นเล็ก
น้อย เมื่อเทียบกับท้ายตลาดเย็นวานนี้
          "ภาพรวมยังคงเคลื่อนไหวตามภูมิภาค และแข็งค่าเล็กน้อยเมื่อเทียบกับท้ายตลาดวานนี้ วันนี้หุ้นบวกเยอะ น่าจะเป็นความคาด
หวังเรื่องการดีลภาษีกับสหรัฐฯ" นักบริหารเงินระบุ
          โดยคืนนี้ ตลาดรอดูการรายงานข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญของสหรัฐฯ คือ ยอดขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ และยอดค้าปลีก
เดือนมิ.ย.  
          นักบริหารเงิน คาดว่า พรุ่งนี้เงินบาทจะเคลื่อนไหวในกรอบ 32.40 - 32.60 บาท/ดอลลาร์

          * ปัจจัยสำคัญ

          - เงินเยน อยู่ที่ระดับ 148.73 เยน/ดอลลาร์ จากช่วงเช้าที่ระดับ 148.38 เยน/ดอลลาร์
          - เงินยูโร อยู่ที่ระดับ 1.1592 ดอลลาร์/ยูโร จากช่วงเช้าที่ระดับ 1.1610 ดอลลาร์/ยูโร
          - ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ 1,198.11 จุด เพิ่มขึ้น 40.48 จุด(+3.50%) มูลค่าซื้อขาย 63,374.58 ล้านบาท
          - สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติซื้อสุทธิ 2,500.35 ล้านบาท
          -  รมช.คลัง กล่าวถึงแนวทางการเจรจามาตรการภาษีกับสหรัฐฯ โดยยืนยันว่า ทีมไทยแลนด์ มีการชั่งน้ำหนักผลกระทบที่จะ
เกิดขึ้นกับเศรษฐกิจไทยจากการเจรจาภาษี โดยยึดหลักความสมดุล เพราะรัฐบาลมีหน้าที่ต้องดูแลคนไทยทั้งประเทศ อย่างไรก็ดี ขณะนี้ยัง
อยู่ในกระบวนการเจรจา ซึ่งรัฐบาลยืนยันว่าจะต้องทำให้ดีที่สุด 
          - โฆษกรัฐบาลญี่ปุ่น แถลงว่า รัฐบาลมีความกังวลต่อความเคลื่อนไหวของตลาดปริวรรตเงินตราในช่วงที่ผ่านมา ซึ่งรวมถึง
การเคลื่อนไหวที่เกิดจากการเก็งกำไร และกำลังจับตาอย่างใกล้ชิด ต่อการพุ่งขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาล  
          - สภาผู้แทนราษฎรสหรัฐฯ อนุมัติกติกาหรือเงื่อนไขการอภิปรายร่างกฎหมายกำกับดูแลคริปโทเคอร์เรนซี รวมถึงร่างกฎหมาย
งบประมาณของกระทรวงกลาโหมแล้ว หลังใช้เวลาในการลงมตินานกว่า 10 ชั่วโมง ซึ่งถือเป็นการลงคะแนนเสียงที่ยาวนานที่สุดในประวัติ
ศาสตร์ยุคใหม่ของสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐฯ
          - ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) สาขานิวยอร์ก กล่าวว่า แม้นโยบายการเงินที่ "คุมเข้มเล็กน้อย" ของเฟดในขณะนี้
จะมีความเหมาะสม เพราะช่วยให้มีเวลาในการวิเคราะห์ข้อมูลก่อนตัดสินใจ แต่ก็ได้ส่งสัญญาณเตือนว่า ผลกระทบทางเศรษฐกิจจากกำแพง
ภาษีการค้า เป็นเพียงจุดเริ่มต้นเท่านั้น และของจริงยังมาไม่ถึง
          - สภาธุรกิจสหรัฐฯ-จีน (USCBC) เปิดเผยผลสำรวจที่ระบุว่า บริษัทอเมริกันที่ลดการลงทุนในประเทศจีนนั้น มีสัดส่วนสูงสุด
เป็นประวัติการณ์ เนื่องจากความสัมพันธ์ทางการค้าที่ย่ำแย่ลงของจีน-สหรัฐฯ โดยผลสำรวจยังบ่งชี้ว่า มีบริษัทไม่ถึง 50% ที่วางแผนจะลง
ทุนในจีนในปี 2568 ซึ่งลดลงจากระดับ 80% ในปีที่แล้ว และเป็นสถิติต่ำสุดนับตั้งแต่ USCBC เริ่มทำการสำรวจเมื่อปี 2549
          - สื่อต่างประเทศรายงานว่า ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ เปิดเผยว่า จะกำหนดอัตราภาษีนำเข้าเป็นอัตราเดียวกันสำหรับ
กว่า 150 ประเทศและภูมิภาค เนื่องจากเป็นประเทศที่ไม่ใหญ่มาก และเป็นประเทศที่ไม่ได้มีมูลค่าการค้ากับสหรัฐฯ สูงมากนัก
          - ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ผู้นำสหรัฐฯ เปิดเผยว่า การบรรลุข้อตกลงทางการค้ากับญี่ปุ่น ให้แล้วเสร็จภายในเส้นตายวัน
ที่ 1 ส.ค.68 ที่กำหนดไว้สำหรับการเจรจาทวิภาคีนั้น น่าจะทำได้ยาก ทั้งนี้ ญี่ปุ่นเป็นประเทศที่สหรัฐฯ ส่งจดหมายแจ้งเก็บภาษีนำเข้าที่
อัตรา 25% เพิ่มขึ้น 1% จากที่เคยประกาศไว้เมื่อต้นเดือนเม.ย. ที่อัตรา 24%
          - กระทรวงการคลังญี่ปุ่น เปิดเผยว่า ยอดส่งออกเดือนมิ.ย.68 ลดลง 0.5% เมื่อเทียบรายปี นับเป็นการลดลงเดือนที่ 2 
โดยมีสาเหตุหลักมาจากยอดส่งออกรถยนต์ และเหล็กที่ลดลง ท่ามกลางแรงกดดันจากมาตรการภาษีศุลกากรของสหรัฐฯ ซึ่งการส่งออกที่ยัง
คงซบเซานี้ อาจฉุดเศรษฐกิจญี่ปุ่นให้หดตัวต่อเนื่องในไตรมาส 2/68 หลังจากหดตัวในไตรมาส 1/68 ซึ่งอาจเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอย
เชิงเทคนิคได้