‘อนุสรณ์’ ประเมินการกู้เงินธนาคาร ADB มีผลต่อเศรษฐกิจ ฐานะทางการคลังและค่าเงินบาท

นายอนุสรณ์ ธรรมใจ อดีตกรรมการนโยบายและกำกับการบริหารหนี้สาธารณะ กระทรวงการคลัง และ อดีตคณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ ม. รังสิต เปิดเผยว่า การก่อหนี้สาธารณะด้วยการกู้ยืมเงินจากต่างประเทศจะส่งผลกระทบทางลบต่ออัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจในระยะปานกลางและระยะยาว รวมทั้ง ขีดความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจในระยะสั้น เพราะอาจส่งผลให้ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นเมื่อมีไหลเข้าจากการกู้เงินความจำเป็นในการกู้ยืมเงินจากต่างประเทศอาจมีขึ้นในอนาคตแต่ไม่ใช่ในระยะนี้ เนื่องจากสภาพคล่องในระบบยังสูงและเรามีความเสี่ยงปัญหาเรื่องกับดักสภาพคล่องมากกว่าสภาพคล่องในระบบมีเพียงพอ ความจำเป็นเฉพาะหน้าระยะสั้นในการกู้เงินจากต่างประเทศจึงยังไม่มีขณะนี้

แม้นรัฐบาลเร่งรัดการลงทุนก็ยังไม่พบปัญหา Crowding Out Effect หรือ ทำให้สภาพคล่องลดลงและไปแย่งเม็ดเงินเอกชน ดันอัตราดอกเบี้ยสูงขึ้นแต่ประการใด เพราะการลงทุนภาคเอกชนยังคงติดลบหรือหดตัวไปอีกอย่างน้อย 2-3 ไตรมาสเป็นอย่างน้อยการใช้นโยบายการเงินเชิงรุกควบคู่การเร่งรัดการใช้จ่ายภาครัฐก็เพียงพอแล้ว เพิ่มปริมาณเงินให้เพียงพอกดอัตราดอกเบี้ยให้ต่ำ ยังไม่จำเป็นต้องกู้เงินต่างประเทศตอนนี้การกู้เงินต่างประเทศจะทำให้เป็นภาระทางการคลังแม้นดอกเบี้ยธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชียจะไม่สูงก็ตามหนี้รัฐบาล

ในส่วนของสกุลเงินต่างประเทศของประเทศแม้นยังอยู่ในระดับต่ำ แต่การกู้เงินต่างประเทศจะมีความเสี่ยงจากความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนเพิ่มเข้ามาและสถานการณ์ในอนาคตค่าเงินดอลลาร์จะมีความผันผวนสูงมาก และ มีแนวโน้มอ่อนค่าลงหนี้ต่างประเทศเทียบหนี้สาธารณะทั้งหมดไม่ถึง 3% จึงไม่ใช่ประเด็นประชาชนผู้เสียภาษีและรัฐบาลไทยไม่จำเป็นต้องไปเสียดอกเบี้ยให้สถาบันการเงินต่างชาติธนาคารแห่งประเทศไทยสามารถเพิ่มสภาพคล่องในระบบเพราะเรามีทุนสำรองระหว่างประเทศมากเพียงพอต่อการหนุนหลังค่าเงินสำหรับปริมาณเงินที่เพิ่มขึ้น

นายอนุสรณ์ กล่าวว่า หากการที่คณะรัฐมนตรีเห็นชอบร่างสัญญาเงินกู้ในนามของรัฐบาลไทยจากธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชีย (ADB) วงเงิน 1,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือคิดเป็น 48,000 ล้านบาท เพื่อนำไปใช้ในโครงการแผนงานตามพ.ร.ก.เงินกู้ ควรเป็นเพียงการเตรียมการเอาไว้ใช้ในคราวจำเป็นหากไม่สามารถกู้ในประเทศได้เพียงพอหากจะเดินหน้ากู้เงินจากต่างประเทศ ขอให้ต่อรองอัตราดอกเบี้ยเงินกู้และเงื่อนไขการชำระเงินกู้ใหม่ดอกเบี้ยควรต่ำกว่านี้ต้องยืดระยะเวลาการชำระคืนเงินต้นออกไปเพื่อไม่เป็นขีดจำกัดในการใช้จ่ายภาครัฐและงบประมาณในช่วง3-5 ปีข้างหน้างบประมาณของประเทศควรกำหนดสัดส่วนการชำระหนี้คืนเงินต้นไว้ต่ำจนกว่าเศรษฐกิจเริ่มฟื้นสู่ภาวะปรกติจึงค่อยผ่อนชำระในสัดส่วนที่สูงขึ้นในอนาคต

ทั้งนี้ จากงานวิจัย”การวิเคราะห์ผลกระทบหนี้สาธารณะต่ออัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจด้วยวิธีการถดถอยแบบควอนไทล์” พบว่า “กลุ่มประเทศกำลังพัฒนาเอเชีย (Developing Asia) พบว่า อัตราการเจริญเติบโตของอัตราส่วนระหว่างหนี้สาธารณะต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (DEBTG) มีผลต่ออัตราการเจริญเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศต่อหัว (GDPG) ในทิศทางตรงกันข้ามเฉพาะที่ระดับควอนไทล์ 0.25 และจากวิธี conditional mean เท่านั้น

นอกจากนี้ยังพบว่าปัจจัยที่มีผลต่ออัตราการเจริญเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศต่อหัว (GDPG) ได้แก่ อัตราการเจริญเติบโตของอัตราส่วนระหว่างการลงทุนต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (INVG) เฉพาะที่ระดับควอนไทล์ 0.5 และ 0.75 โดยมีผลกระทบทางบวกและผลกระทบเพิ่มขึ้นเมื่อระดับควอนไทล์เพิ่มขึ้นด้วย และพบว่าอัตราการเจริญเติบโตของอัตราการเปิดประเทศ (OPENG) มีผลกระทบทางบวกต่ออัตราการเจริญเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศต่อหัว (GDPG) จากวิธี conditional mean และมีผลกระทบทุกระดับควอนไทล์ โดยผลกระทบจะมีเพิ่มขึ้นมากขึ้นจากระดับ ควอนไทล์ 0.25 จนถึงระดับ ควอนไทล์ 0.5 แล้วผลกระทบลดลงจนถึงระดับควอนไทล์ 0.75 หากทำ การเปรียบเทียบความแตกต่างของผลกระทบของหนี้สาธารณะต่ออัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศต่างๆซึ่งมีระดับหนี้สาธารณะที่แตกต่างกัน พบว่า ทุกกลุ่มประเทศอัตราการเจริญเติบโตของอัตราส่วนระหว่างหนี้สาธารณะต่อผลิตภัณฑ์ มวลรวมภายในประเทศ (DEBTG) มีผลกระทบทางลบต่อ อัตราการเจริญเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศต่อหัว (GDPG)

“หากต้องการกู้ต่างประเทศจริงๆโปรดระมัดระวังการบริหารอัตราแลกเปลี่ยนให้ดี และ อย่าให้หนี้สาธารณะต่อจีดีพีเกิน 60-65% รวมทั้ง ต้องใช้เงินกู้อย่างโปร่งใส มีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล เป็นไปตามเป้าหมายและยุทธศาสตร์งบประมาณที่กำหนดเอาไว้อย่างแท้จริง”

นายอนุสรณ์ กล่าวทิ้งท้าย

โดย สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (09 ส.ค. 63)

Tags: , , ,
Back to Top