แพล้นโทโลยี จับกลุ่มพันธมิตรเซ็น MOU สร้าง Supply Chain อุตฯกัญชง

บริษัท แพล้นโทโลยี จำกัด ผู้ส่งเสริมให้ความรู้ในการปลูกพืชกัญชง (Hemp) ในระดับอุตสาหกรรม จับมือกับกลุ่มบริษัทผู้ผลิต (สกัด) กัญชง ได้แก่ บริษัท สุพรีม ฟาร์มาเทค จำกัด โรงงานสกัดน้ำมันจากเมล็ดกัญชง (Hemp seed oil), บมจ. ดีโอดี ไบโอเทค (DOD) โดย บริษัท สยาม เฮอเบิล เทค จำกัด และ บริษัท อีสเทิร์น สเปคตรัม กรุ๊ป จำกัด โรงงานสกัดสาร CBD สร้างเครือข่ายนักส่งเสริมการปลูกและจัดหาเกษตรกรผู้พร้อมสำหรับปลูกกัญชงคุณภาพ เพื่อนำผลผลิตป้อนเข้าสู่โรงงาน

พร้อมกันนั้น บริษัท แพล้นโทโลยี จำกัด ยังได้ลงนามความร่วมมือกับกลุ่มบริษัทผลิต โรงเรือนสำหรับการเพาะปลูกแบบอัจฉริยะ ได้แก่ บมจ.ซิก้า อินโนเวชั่น (ZIGA) ที่มีความเชี่ยวชาญในการผลิตโรงเรือนสำหรับปลูกพืช, บริษัท ทีเคเค คอร์ปอเรชั่น จำกัด ที่มีความเชียวชาญในระบบเพาะปลูกอัตโนมัติ นำความรู้ผสมผสานในการสร้างระบบการปลูกที่ใช้ปัญญาประดิษฐ์ (Ai) ช่วยพัฒนาระบบการปลูก การควบคุมปัจจัย สิ่งแวดล้อม เพื่อทำให้ได้ผลผลิตสูง มีคุณภาพ และพร้อมที่จะป้อนผลผลิตเข้าสู่ภาคอุตสาหกรรม

นอกจากนั้น บริษัท สยาม เฮมพ์ จำกัด ที่เป็นพันธมิตรกับ แพล้นโทโลยี ได้ลงนามความร่วมมือกับ บริษัท แบล็คแคนยอน (ประเทศไทย) จำกัด, บริษัท อโณไทย 2019 จำกัด, บมจ.เอส แอนด์ พี ซินดิเคท (SNP) ,บริษัท กิฟฟารีน สกายไลน์ ยูนิตี้ จำกัด และ บริษัท สยามเฟรชเอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด เพื่อนำผลผลิตกัญชง-กัญชาไปสู่ภาคการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่มีคุณภาพ เข้าถึงประชาชนได้ง่ายขึ้น โดยบริษัท สยาม เฮมพ์ จำกัด จะเป็นผู้ประสานสร้างเครือข่ายและถ่ายทอดองค์ความรู้

นายชาติประชา สอนกลิ่น กรรมการผู้จัดการ บริษัท แพล้นโทโลยี จำกัด ระบุว่า ขณะที่อุตสาหกรรมกัญชงกำลังเริ่มขึ้นนั้น ผู้ประกอบการจำนวนมากให้ความสนใจในเรื่องของการขายเมล็ดพันธุ์ วัสดุ อุปกรณ์ในการเพาะปลูก การสร้างโรงงานสกัดและการทำผลิตภัณฑ์ออกมาจำนวนมาก ซงึ่ เราได้มองเห็นโอกาสใน การเชื่อมต่อองค์ความรู้ไปสู่เกษตรกรว่าส่วนใดที่ยังขาดหายไป เราจึงอาสาสร้างเครือข่ายนักส่งเสริมการปลูกเข้า ไปช่วยเกษตรกรให้เป็นเกษตรกรมืออาชีพที่พร้อมสำหรับการปลูกกัญชงเพื่อส่งผลผลิคเข้าสู่ภาคอุตสาหกรรม ดังคำ ขวัญของการส่งเสริมที่ว่า “กัญชง มุ่งสู่ การสร้างเศรษฐกิจฐานรากของไทยอย่างยั่งยืน”

นายศุภกิจ งามจิตรเจริญ ประธานกรรมการบริหาร ZIGA เปิดเผยว่า ภายใต้ MOU ดังกล่าว แพล้นฯ เป็นบริษัท 1 ใน 7 ที่ได้รับในอนุญาตจากองค์การอาหารและยา (อย.) นำเข้าเมล็ดกัญชง ขณะที่บริษัทจะทำหน้าที่พัฒนาและก่อสร้างโรงเรือนในลักษณะ Smart Farm โดยมีระบบ AI เข้ามาช่วยควบคุมให้กับกลุ่มเครือข่ายเพาะปลูกของบริษัท แพล้นโทโลยี เบื้องต้นคาดว่าจะมีความต้องการใช้โรงเรือนไม่ต่ำกว่า 4,000-5,000 ไร่

“บริษัทหวังว่าความร่วมมือจะช่วยสนับสนุนให้ธุรกิจพัฒนา และก่อสร้างโรงเรือน ซึ่งเป็นธุรกิจใหม่เติบโตได้ต่อเนื่อง และคาดว่าจะมีโครงการความร่วมมือกับกลุ่มผู้ประกอบการอื่นๆต่อไป ดังนั้นจึงทำให้มั่นใจว่าจะช่วยสร้างรายได้เพิ่ม และสนับสนุนการเติบโตในอนาคตได้เป็นอย่างดี”

นายศุกภิจ กล่าวต่อว่า การก่อสร้างโรงเรือนแบบ Smart Farm เป็นการก่อสร้างที่ใช้ระยะเวลาไม่นาน เพื่อให้ทันต่อความต้องการ โดยใช้ความเชี่ยวชาญของ ZIGA รวมถึงวัตถุดิบหลักอย่างเหล็กกัลวาไนซ์ของทาง ZIGA ซึ่งถือเป็นเหล็กที่เหมาะกับการสร้างเป็นโรงเรือนให้กับพืชเศรษฐกิจชนิดนี้สามารถสร้างโรงเรือนได้อย่างรวดเร็วและมีความคุ้มค่าในระยะยาว

โดย สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (19 มี.ค. 64)

Tags: , , , , , , , , , , ,
Back to Top