MBKET จับเทรนด์รถ EV อาเซียนคาดโตแซงหน้ารถเครื่องยนต์สันดาปตั้งแต่ปี 78

Maybank Kim Eng Research (MKE Research) เปิดเผยรายงานบทวิเคราะห์ล่าสุด โดยระบุว่า ยานยนต์ไฟฟ้า (EVs) ตั้งเป้ายอดขายเทียบเท่ากับรถยนต์ที่ใช้เครื่องยนต์สันดาปภายใน (ICEV) ในอาเซียนภายในปี 73 และแซงหน้า ICEV จากปี 78 เป็นต้นไป

การเติบโตของยานยนต์ไฟฟ้าในอาเซียนอยู่ที่ 4% ในปี 63 อย่างไรก็ตาม ด้วยตลาดของกลุ่มขับเคลื่อน 4 ล้อ (4W) อยู่ที่ 40 ล้านคัน และกลุ่มขับเคลื่อน 2 ล้อ (2W) อยู่ที่ 220 ล้านคัน ตามลำดับ และคาดว่า EV จะเติบโตขึ้น 5 เท่า เป็น 20% ภายในปี 68 โดยประเทศไทย อินโดนีเซีย และมาเลเซียถือเป็นตลาด 4W ที่ใหญ่ที่สุดในอาเซียน ในแง่ของยอดขาย โดยครองส่วนแบ่งตลาด 75% ในขณะเดียวกันก็เป็นศูนย์กลางการผลิตในอาเซียนด้วย

ส่วนในกลุ่ม 2W ไทย เวียดนาม อินโดนีเซีย และมาเลเซียมีส่วนแบ่งตลาดที่สูงถึง 99% ในแง่ของยอดขาย Liaw Thong Jung รองผู้อำนวยการฝ่ายวิจัย ของ เมย์แบงก์ กิมเอ็ง มาเลเซีย กล่าวว่า ไทย อินโดนีเซียและสิงคโปร์ยังคงนำหน้ากลุ่ม ในแง่ของการพัฒนานโยบายที่เป็นมิตรกับ EV ในทางกลับกัน ผู้บริโภคชาวมาเลเซียค่อนข้างให้ความสำคัญเรื่องของราคา และนิยมรถยนต์ประจำชาติ ในขณะที่ฟิลิปปินส์ชอบรถจักรยานยนต์มากกว่า โดยการอุดหนุนน้ำมันเชื้อเพลิงในสองประเทศดังกล่าวนี้ยังมีส่วนทำให้ผู้บริโภคชื่นชอบรถยนต์ที่ใช้เครื่องยนต์สันดาปภายในมากกว่าอีกด้วย และในภูมิภาคอาเซียน เราคาดว่ารถยนต์ขับเคลื่อน 2W จะออกมาเร็วกว่ากลุ่ม 4W

ปัจจัยขับเคลื่อนสำคัญสำหรับ EV ในอาเซียน ได้แก่ ต้นทุนที่ลดลง ความชอบของผู้บริโภค สำหรับไลฟ์สไตล์ที่เน้นพลังงานสะอาดและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม รวมถึงนโยบายของรัฐบาล อย่างไรก็ตาม ตลาดยานยนต์ในอาเซียนยังคงให้ความสำคัญกับ ICEV เป็นอย่างมาก เนื่องจากการใช้ EV ยังอยู่ในช่วงเริ่มต้น โดยมีอัตราการขยายตัวต่ำกว่า 1% ในตอนนี้

ทั้งนี้

  • สิงคโปร์เป็นประเทศที่มองการณ์ไกลมากที่สุดและเร็วที่สุดในการรองรับ e-mobility โดยประเทศมุ่งมั่นที่จะยุติการผลิต ICEV ภายในปี 2583
  • ประเทศไทยกำลังเร่งการนำ EV มาใช้ โดยย่นระยะเวลาคาดการณ์ล่วงหน้า (การผลิตและการใช้งานในประเทศ) ให้เร็วขึ้น 5 ปีจากคาดการณ์ก่อนหน้านี้ โดยตั้งเป้าที่จะเป็นศูนย์กลางการผลิต EV ของอาเซียนภายในปี 2568
  • อินโดนีเซียมีนโยบาย EV ที่ชัดเจนและเป็น FDI ที่สนับสนุน EV โดยประเทศได้เน้นย้ำถึงความตั้งใจที่จะยุติการผลิต ICEV ภายในปี 2578 โดยมีปริมาณนิกเกิลสำรองที่ใหญ่ที่สุดในโลก ซึ่งเป็นวัตถุดิบหลักที่ใช้ในการผลิตแบตเตอรี่
  • เวียดนาม โดย Vinfast ผู้ผลิต EV ที่สำคัญของเวียดนาม (ผลิตยานยนต์ สกูตเตอร์ รถบัส) พร้อมที่จะส่งออกรุ่นต่างๆ ไปทั่วโลก

MKE Research มองว่าความท้าทายที่จะมาขัดขวางการเร่งนำ EV มาใช้ ได้แก่ ราคาที่จับต้องได้ ระยะเวลาในการชาร์จ ระยะทางต่อการชาร์จหนึ่งครั้ง ความน่าเชื่อถือ และความพร้อมใช้งานของสถานีชาร์จ รวมถึงตัวเลือกต่างๆ ของรถยนต์ EV ในรุ่นต่างๆ นโยบายของรัฐบาลในรูปแบบของสิ่งจูงใจสามารถสนับสนุนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและปรับปรุงด้านราคา EV ให้สามารถจับต้องได้ ในขณะเดียวกัน บริษัทผู้รับจ้างผลิตสินค้า (OEM) ต้องเป็นผู้นำด้านนวัตกรรม ในแง่ของความน่าเชื่อถือของแบตเตอรี่และเทคโนโลยี

ในบรรดานโยบายและสิ่งจูงใจที่รัฐบาลสามารถพิจารณาเพื่อเพิ่มความต้องการให้กับ EV ได้แก่ แรงจูงใจทางการเงินที่เกิดขึ้นประจำ เช่น ภาษีน้ำมันหรือราคาไฟฟ้าแบบไดนามิก สิ่งจูงใจทางการคลังแบบครั้งเดียว เช่น การยกเว้นภาษีหรือการกำหนดราคาคาร์บอน และสิ่งจูงใจที่ไม่ใช่การคลัง เช่น การเรียกเก็บเงินค่าโครงสร้างพื้นฐาน การเข้าถึงช่องทางพิเศษ ที่จอดรถฟรี การยกเว้นค่าผ่านทางและการเข้าถึงเขตการปล่อยมลพิษต่ำ

ดังนั้น เพื่อใช้ประโยชน์จากโอกาสที่เทรนด์ EV กำลังมา อาเซียนควรมองไปที่การดึงดูดการลงทุน EV ของจีนและการร่วมเป็นหุ้นส่วน EV ที่มีศักยภาพ ซึ่งจีนมีโมเดล EV ที่ได้รับการพิสูจน์แล้ว พร้อมห่วงโซ่คุณค่าที่สมบูรณ์และบริษัท EV ที่ได้รับการพิสูจน์แล้ว ซึ่งอาเซียนสามารถเป็นตลาดรถยนต์ไฟฟ้าขับเคลื่อนพวงมาลัยขวาให้กับจีนได้อีกด้วย

โดย สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (22 เม.ย. 64)

Tags: , ,
Back to Top