คลัง เผยศก.ภูมิภาคม.ค.ได้ภาคท่องเที่ยวหนุน-บริโภคเอกชนชะลอ เหตุกังวลโควิด

นายพิสิทธิ์ พัวพันธ์ ผู้อำนวยการสำนักนโยบายเศรษฐกิจมหภาค สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) เปิดเผยรายงานภาวะเศรษฐกิจภูมิภาคประจำเดือนม.ค. 65 ว่า เศรษฐกิจภูมิภาค ได้รับปัจจัยสนับสนุนจากภาคการท่องเที่ยว และความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมที่ปรับตัวดีขึ้นในเกือบทุกภูมิภาค อย่างไรก็ตาม การบริโภคภาคเอกชนชะลอลงจากเดือนก่อนหน้า โดยเฉพาะในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล เนื่องจากมีความกังวลต่อสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19)

– เศรษฐกิจภาคใต้

ได้รับปัจจัยสนับสนุนจากภาคการท่องเที่ยว การบริโภคภาคเอกชน และความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น โดยในเดือนม.ค. 65 พบว่า เครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการบริโภคภาคเอกชน สะท้อนจากการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ ขยายตัวเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล 22.3% และ 1.3% ตามลำดับ ส่วนจำนวนรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ขยายตัว 16.1% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่ชะลอลงเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล -14.5% สำหรับจำนวนรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่แม้ว่าชะลอตัวลง -5.9% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่ขยายตัวเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล 0.9%

สำหรับเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการลงทุนภาคเอกชน สะท้อนจากจำนวนรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่ขยายตัวเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 27.3% แต่ชะลอลงเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล -2.2% เช่นเดียวกับจำนวนรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลจดทะเบียนใหม่ที่ทรงตัวเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่ชะลอลงเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาลที่ -3.1% สำหรับเงินทุนของโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการชะลอตัวลงทั้งเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนและเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล -81.3% และ -69.5% ตามลำดับ

ด้านอุปทาน มีสัญญาณการฟื้นตัวจากการท่องเที่ยว โดยจำนวนผู้เยี่ยมเยือน และรายได้จากผู้เยี่ยมเยือนรวมขยายตัว 131.7% และ 325.3% ต่อปี ตามลำดับ นอกจากนี้ ในด้านความเชื่อมั่น พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมปรับเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 85.0 จากเดือนก่อนหน้าที่ระดับ 83.0 ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคปรับลดลงมาอยู่ที่ระดับ 41.0 จากเดือนก่อนหน้าที่ระดับ 42.3 จากความวิตกกังวลต่อการแพร่ระบาดของไวรัสสายพันธุ์ใหม่โอมิครอนและราคาสินค้าที่เพิ่มขึ้น

– เศรษฐกิจภาคตะวันตก

ได้รับปัจจัยสนับสนุนจากภาคการท่องเที่ยว การบริโภคภาคเอกชน และความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น โดยในเดือนม.ค. 65 พบว่า เครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการบริโภคภาคเอกชน สะท้อนจากการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ ขยายตัวเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล 27.1% และ 4.9% ตามลำดับ ส่วนจำนวนรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ขยายตัว 5.7% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่ชะลอลงเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล -13.1% สำหรับจำนวนรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่แม้ว่าชะลอตัวลง -12.7% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่ขยายตัวเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล 4.5%

สำหรับเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการลงทุนภาคเอกชน สะท้อนจากจำนวนรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่ขยายตัวเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 28.4% แต่ชะลอลงเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล -1.5% สำหรับเงินทุนของโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการแม้ว่าชะลอตัวลง -46.5% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่ขยายตัวเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล 16.8% ขณะที่จำนวนรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลจดทะเบียนใหม่ชะลอตัวลง ทั้งเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนและเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล -3.8% และ -18.7% ตามลำดับ

ด้านอุปทาน มีสัญญาณการฟื้นตัวจากการท่องเที่ยว โดยจำนวนผู้เยี่ยมเยือน และรายได้จากผู้เยี่ยมเยือนรวมขยายตัว 173.9% และ 127.1% ต่อปี ตามลำดับ นอกจากนี้ ในด้านความเชื่อมั่น พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมปรับเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 88.7 จากเดือนก่อนหน้าที่ระดับ 86.5 ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคปรับลดลงมาอยู่ที่ระดับ 44.0 จากเดือนก่อนหน้าที่ระดับ 45.3 จากความวิตกกังวลต่อการแพร่ระบาดของไวรัสสายพันธุ์ใหม่โอมิครอนและราคาสินค้าที่เพิ่มขึ้น

– เศรษฐกิจภาคตะวันออก

ปรับตัวดีขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่ลดลงจากเดือนก่อนหน้า หลังขจัดผลทางฤดูกาลทั้งจากการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชน รวมถึงความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่ลดลง อย่างไรก็ดี การท่องเที่ยว และความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมปรับตัวดีขึ้น โดยในเดือนม.ค. 65 พบว่า เครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการบริโภคภาคเอกชน สะท้อนจากการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ และจำนวนรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ ขยายตัว 51.5% และ 20.6% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่ชะลอลงเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล -13.0% และ -1.6% ตามลำดับ ในขณะที่จำนวนรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่ชะลอตัวลงทั้งเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนและเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล -7.5% และ -0.8%

สำหรับเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการลงทุนภาคเอกชน สะท้อนจากจำนวนรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่และเงินทุนของโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการ ขยายตัวเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 7.3% และ 159.6% ตามลำดับ แต่ชะลอลง -5.8% และ -48.3% ตามลำดับ เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล สำหรับจำนวนรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลจดทะเบียนใหม่ชะลอลงทั้งเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนและเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาลที่ -9.7% และ -6.7% ตามลำดับ

ด้านอุปทาน มีสัญญาณฟื้นตัวจากการท่องเที่ยว โดยจำนวนผู้เยี่ยมเยือน และรายได้จากผู้เยี่ยมเยือนรวมขยายตัว 547.5% และ 863.6% ต่อปี ตามลำดับ นอกจากนี้ ในด้านความเชื่อมั่น พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมปรับเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 108.8 จากเดือนก่อนหน้าที่ระดับ 107.4 ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคปรับลดลงมาอยู่ที่ระดับ 47.7 จากเดือนก่อนหน้าที่ระดับ 49.1 จากความวิตกกังวลต่อการแพร่ระบาดของไวรัสสายพันธุ์ใหม่โอมิครอน และราคาสินค้าที่เพิ่มขึ้น

– เศรษฐกิจ กทม. และปริมณฑล

ปรับตัวดีขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่ลดลงจากเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาลทั้งจากการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชน รวมถึงความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่ลดลง อย่างไรก็ดี การท่องเที่ยว และความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมปรับตัวดีขึ้น โดยในเดือนม.ค. 65 พบว่า เครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการบริโภคภาคเอกชน สะท้อนจากการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ และจำนวนรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ ขยายตัว 7.3% และ 0.1% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกัน ของปีก่อน แต่ชะลอลงเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล -7.8% และ -10.0% ตามลำดับ ในขณะที่จำนวนรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่ชะลอตัวลงทั้งเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนและเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล -19.6% และ -20.3%

สำหรับเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการลงทุนภาคเอกชน สะท้อนจากเงินทุนของโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการขยายตัวเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล 169.8% และ 82.8% ตามลำดับ โดยมาจากโรงงานบริการซ่อมแซม บำรุงรักษาเครื่องยนต์ ใน กทม. เป็นหลัก ด้านจำนวนรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลจดทะเบียนใหม่ และจำนวนรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่ขยายตัวเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 11.0% และ 7.2% ตามลำดับ แต่ชะลอลงเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล -1.8% และ -7.1% ตามลำดับ

ด้านอุปทาน มีสัญญาณการฟื้นตัวจากการท่องเที่ยว โดยจำนวนผู้เยี่ยมเยือน และรายได้จากผู้เยี่ยมเยือนรวมขยายตัว 60.2% และ 28.8% ต่อปี ตามลำดับ นอกจากนี้ ในด้านความเชื่อมั่น พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมปรับเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 88.7 จากเดือนก่อนหน้าที่ระดับ 86.5 ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคปรับลดลงมาอยู่ที่ระดับ 43.3 จากเดือนก่อนหน้าที่ระดับ 44.8 จากความวิตกกังวลต่อการแพร่ระบาดของไวรัสสายพันธุ์ใหม่โอมิครอน และราคาสินค้าที่เพิ่มขึ้น

– เศรษฐกิจภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ปรับตัวดีขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าจากการลงทุนภาคเอกชน รวมถึงความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่ลดลง อย่างไรก็ดี ภาคการท่องเที่ยว และความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมปรับตัวดีขึ้น โดยในเดือนม.ค. 65 พบว่า เครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการบริโภคภาคเอกชน สะท้อนจากการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ และจำนวนรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่ แม้ว่าชะลอตัวลง -1.3% และ -6.2% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่ขยายตัวเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล 5.1% และ 1.7% ตามลำดับ จำนวนรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ ขยายตัว 12.6% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่ชะลอลงเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล -5.6%

สำหรับเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการลงทุนภาคเอกชน สะท้อนจากจำนวนรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่ขยายตัว 9.5% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่ชะลอลงเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาลที่ -10.2% ด้านจำนวนรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลจดทะเบียนใหม่แม้ว่าชะลอตัวลง -5.7% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่ขยายตัวเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาลที่ 4.5% สำหรับเงินทุนของโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการชะลอตัวลงทั้งเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล -44.0% และ -42.7% ตามลำดับ

ด้านอุปทาน มีสัญญาณการฟื้นตัวจากการท่องเที่ยว โดยจำนวนผู้เยี่ยมเยือน และรายได้จากผู้เยี่ยมเยือนรวมขยายตัว 70.0% และ 2.8% ต่อปี ตามลำดับ นอกจากนี้ ในด้านความเชื่อมั่น พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมปรับเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 80.5 จากเดือนก่อนหน้าที่ระดับ 78.4 ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคปรับลดลงมาอยู่ที่ระดับ 48.9 จากเดือนก่อนหน้าที่ระดับ 50.2 จากความวิตกกังวลต่อการแพร่ระบาดของไวรัสสายพันธุ์ใหม่โอมิครอนและราคาสินค้าที่เพิ่มขึ้น

– เศรษฐกิจภาคกลาง

ได้รับปัจจัยสนับสนุนจากภาคการการท่องเที่ยว และความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น โดยในเดือนม.ค. 65 พบว่า เครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการบริโภคภาคเอกชน สะท้อนจากจำนวนรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่ขยายตัวเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล 3.5% และ 3.8% ตามลำดับ ด้านการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่แม้ว่าชะลอตัวลง -0.4% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่ขยายตัว 7.4% เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล ในขณะที่จำนวนรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ ขยายตัว 1.3% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่ชะลอลงเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล -5.5%

สำหรับเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการลงทุนภาคเอกชน สะท้อนจากจำนวนรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลจดทะเบียนใหม่ แม้ว่าชะลอตัวลง -1.3% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่ขยายตัวเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล 5.6% ส่วนจำนวนรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่และเงินทุนของโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการ ชะลอลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน -6.6% และ -84.8% และชะลอลงเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล -4.6% และ -73.6% ตามลำดับ

ด้านอุปทาน มีสัญญาณการฟื้นตัวจากการท่องเที่ยว โดยจำนวนผู้เยี่ยมเยือน และรายได้จากผู้เยี่ยมเยือนรวมขยายตัว 167.5% และ 141.3%ต่อปี ตามลำดับ นอกจากนี้ ในด้านความเชื่อมั่น พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมปรับเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 88.7 จากเดือนก่อนหน้าที่ระดับ 86.5 ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคปรับลดลงมาอยู่ที่ระดับ 44.0 จากเดือนก่อนหน้าที่ระดับ 45.3 จากความวิตกกังวลต่อการแพร่ระบาดของไวรัสสายพันธุ์ใหม่โอมิครอน และราคาสินค้าที่เพิ่มขึ้น

– เศรษฐกิจภาคเหนือ

ปรับตัวดีขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้า จากการบริโภค การลงทุนภาคเอกชน รวมถึงความเชื่อมั่นผู้บริโภคและภาคอุตสาหกรรมที่ลดลง อย่างไรก็ดี ยังมีสัญญาณการฟื้นตัวจากการท่องเที่ยว โดยในเดือนม.ค. 65 พบว่า เครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการบริโภคภาคเอกชน สะท้อนจากจำนวนรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่ขยายตัวเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล 0.3% และ 23.6% ตามลำดับ ด้านการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ ขยายตัว 5.9% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่ชะลอลงเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล -2.0% ส่วนจำนวนรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ ชะลอลงทั้งเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาลที่ -1.7% และ -13.9% ตามลำดับ

สำหรับเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการลงทุนภาคเอกชน สะท้อนจากเงินทุนของโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการและจำนวนรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่ ขยายตัวเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 252.6% และ 9.4% ตามลำดับ แต่ชะลอลงเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล -48.2% และ -9.9% ตามลำดับ ในขณะที่จำนวนรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลจดทะเบียนใหม่ แม้ว่าชะลอตัวลง -5.7% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่ขยายตัวเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล 3.3%

ด้านอุปทาน มีสัญญาณการฟื้นตัวจากการท่องเที่ยว โดยจำนวนผู้เยี่ยมเยือน และรายได้จากผู้เยี่ยมเยือนรวมขยายตัว 173.2% และ 157.8% ต่อปี ตามลำดับ นอกจากนี้ ในด้านความเชื่อมั่น พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคและภาคอุตสาหกรรมลดลง มาอยู่ที่ระดับ 47.6 และ 63.5 ตามลำดับ จากเดือนก่อนหน้าที่ระดับ 48.9 และ 64.8 ตามลำดับ จากความวิตกกังวลต่อการแพร่ระบาดของไวรัสสายพันธุ์ใหม่โอมิครอนและราคาสินค้าที่เพิ่มขึ้น

โดย สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (25 ก.พ. 65)

Tags: , , ,
Back to Top