กลุ่มท่องเที่ยวบวกรับไทยเตรียมเปิดประเทศเต็มรูปแบบหากโควิดเป็นโรคประจำถิ่น

กลุ่มท่องเที่ยวปรับขึ้นตอบรับไทยเตรียมประกาศโควิดเป็นโรคประจำถิ่นในกลางปีนี้ เมื่อเวลา 11.06 น.นำโดย CENTEL ดีดขึ้นแรง 4.86% หรือเพิ่มขึ้น 1.75 บาท มาที่ 37.75 บาท มูลค่าซื้อขาย 122.82 ล้านบาท

  • MINT ปรับขึ้น 4.17% หรือเพิ่มขึ้น 1.25 บาท มาที่ 31.25 บาท มูลค่าซื้อขาย 362.30 ล้านบาท
  • ERW ปรับขึ้น 1.92% หรือเพิ่มขึ้น 0.06 บาท มาที่ 3.18 บาท มูลค่าซื้อขาย 13.90 ล้านบาท
  • SHR ปรับขึ้น 1.23% หรือเพิ่มขึ้น 0.04 บาท มาที่ 3.30 บาท มูลค่าซื้อขาย 8.31 ล้านบาท
  • AOT ปรับขึ้น 0.39% หรือเพิ่มขึ้น 0.25 บาท มาที่ 64.50 บาท มูลค่าซื้อขาย 645.21 ล้านบาท

บล.เคทีบีเอสที ระบุในบทวิเคราะห์ว่า มีมุมมองเป็นบวกต่อการจัดให้โควิดเป็นโรคประจำถิ่น เพราะเป็นการเปิดทางให้มีการเปิดประเทศแบบเต็มรูปแบบ ซึ่งจะส่งผลดีต่อกลุ่มท่องเที่ยว เนื่องจากจำนวนนักท่องเที่ยวจะกลับมาเดินทางท่องเที่ยวและมีโอกาสที่จะฟื้นตัวได้มากกว่าคาด โดยกลุ่มท่องเที่ยวเราคาดว่าหุ้นที่จะได้รับประโยชน์จากมาก-น้อยเรียงตามสัดส่วนรายได้ในประเทศไทยจากมาก-น้อยคือ ERW (90%), CENTEL (80%), MINT (15%) และ SHR (5%)

ยังคงน้ำหนักกลุ่มท่องเที่ยวเป็น “มากกว่าตลาด” โดยยังชอบ MINT (ซื้อ/เป้า 40.00 บาท) จากยุโรปที่ฟื้นตัวเร็วกว่าไทย และชอบ CENTEL (ซื้อ/เป้า 45.00 บาท) เพราะจะเห็นการฟื้นตัวได้ดีทั้งโรงแรมและอาหาร ขณะที่วานนี้หุ้นท่องเที่ยวในยุโรปปรับตัวเพิ่มขึ้นมากกว่า 10% ทำให้เราคาดว่า MINT และ SHR (ซื้อ/เป้า 4.50 บาท) จะปรับตัวขึ้น outperform กลุ่มได้

นอกจากนี้ เรายังมองบวกต่อ ERW (ซื้อ/เป้า 3.50 บาท) เพราะได้รับประโยชน์จากประเด็นนี้มากที่สุด รวมทั้งจะได้ผลบวกต่อ AAV (ถือ/เป้า 2.80 บาท) ได้ผลบวกจากการเดินทางท่องเที่ยวในประเทศกลับมาเป็นปกติ และมีโอกาสเปิดเที่ยวบินต่างประเทศเพิ่ม และ AOT (ซื้อ/เป้า 72.00 บาท) ได้ประโยชน์จากจานวนผู้โดยสารที่เพิ่มขึ้น

ทั้งนี้ ไทยเตรียมประกาศโควิดเป็นโรคประจำถิ่นคาดเริ่มวันที่ 1 ก.ค. นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.สาธารณสุข (สธ.) แถลงหลักการจัดการตามแผนและมาตรการรองรับการเปลี่ยนผ่านการระบาดของโรคโควิด-19 สู่โรคประจำถิ่น โดยมีแผนรองรับการเข้าสู่ Endemic approach แบ่งออกเป็น 4 เดือน เรียกว่า 3 บวก 1 (4 ระยะ) ดังนี้

  • ระยะที่ 1 (12 มี.ค.-ต้นเม.ย.) เรียกว่า Combatting เป็นระยะต่อสู้ ออกแรงกดตัวเลขไม่ให้สูงกว่านี้ เพื่อลดการระบาดและความรุนแรงลง จะมีมาตรการต่างๆ ออกไป การดำเนินการให้กักตัวลดลง
  • ระยะที่ 2 (เม.ย.-พ.ค.) เรียกว่า Plateau คือ การคงระดับผู้ติดเชื้อไม่ให้สูงขึ้น เป็นระนาบจนลดลงเรื่อยๆ
  • ระยะที่ 3 (ปลาย พ.ค.-30 มิ.ย.) เรียกว่า Declining ลดจานวน ผู้ติดเชื้อลงให้เหลือ 1-2 พันราย
  • ระยะที่ 4 ตั้งแต่วันที่ 1 ก.ค.65 เป็นต้นไป เรียกว่า Post pandemic คือ ออกจากโรคระบาดเข้าสู่โรคประจำถิ่น

โดย สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (10 มี.ค. 65)

Tags: , , ,
Back to Top