BBIK แนะปรับกระบวนทัพด้วย Marketing Transformation รับมือการแข่งขันโลกดิจิทัล

บมจ.บลูบิค กรุ๊ป (BBIK) เปิดเผยว่า หากการทำการตลาด (Marketing) คือ การตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคด้วยคุณค่าอะไรบางอย่างได้อย่างยั่งยืน และยังสามารถสร้างผลกำไรได้ ด้วยเหตุนี้การที่ภาคธุรกิจสามารถเข้าใจถึงความต้องการของผู้บริโภค นั่นคือสิ่งสำคัญที่จะทำให้ธุรกิจสามารถเติบโตได้อย่างแข็งแรง

แต่การเข้าถึงความต้องการผู้บริโภคได้อย่างถูกต้องแม่นยำในยุคที่พฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วนั้นไม่ง่ายเลย นอกจากสินค้าและบริการที่โดนใจแล้ว การสร้างประสบการณ์ใหม่ๆ สำหรับผู้บริโภคเป็นสิ่งที่ภาคธุรกิจ ห้ามละเลย และนี่คือเหตุผลว่าทำไมองค์กรจึงจำเป็นต้องทำ Marketing Transformation

นายสโรจ เลาหศิริ Head of Marketing Transformation and Marketing Strategy ของ BBIK ระบุว่า กระบวนการทำการตลาดที่มี Data เป็นพื้นฐานสำคัญในการปูทางสู่โมเดลทางการตลาด ที่สามารถสร้างการเติบโตให้กับธุรกิจด้วย Data Management Ecosystem พร้อมปลดล็อคขีดความสามารถในการทำ Marketing Automation & Artificial Intelligence (AI) จะสามารถตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าได้อย่างถูกต้องรวดเร็ว อีกทั้งยังช่วยลดต้นทุนทางการตลาด และสร้างโมเดลธุรกิจใหม่ๆ ที่สามารถก่อให้เกิด Incremental Growth ให้กับธุรกิจได้อีกด้วย

Marketing Transformation เป็นการเปลี่ยนแปลงกระบวนการตลาดทั้งหมดด้วยกระบวนการคิด เทคโนโลยีและการวิเคราะห์ข้อมูลขั้นสูงมาใช้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำการตลาดและสร้างโอกาสทางธุรกิจใหม่ๆ ซึ่งการทำ Marketing Transformation นั้นสามารถแก้ไขปัญหา หรือ Pain Points ที่หลายองค์กรกำลังประสบอยู่ ดังต่อไปนี้

1) สภาพแวดล้อมทางการตลาดที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างมากและยากที่จะตามทัน

2) แม้หลายองค์กรจะรู้ถึงความเปลี่ยนแปลงในโลกของการทำธุรกิจแล้ว แต่กลับไม่รู้ว่าควรเริ่มเปลี่ยนแปลงจาก จุดไหนก่อน

3) ไม่เห็นภาพธุรกิจที่ชัดเจนในระยะยาว และไม่สามารถกำหนดเป้าหมายการทำ Digital Transformation สำหรับแบรนด์ของตนเอง

4) Creative Partner ยังไม่เข้าใจว่าอะไรคือ Digital Transformation

5) Tech Partner ขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการตลาดและธุรกิจ

6) ล้มเหลวในการนำข้อมูลและเทคโนโลยีมาใช้ในการทำการตลาด

ลำดับขั้นการเช็คสุขภาพองค์กรก่อนทำ Marketing Transformation โดยทั่วไปแล้วแต่ละองค์กรมีความพร้อมในการปรับเปลี่ยนไม่เท่ากัน บางองค์กรสามารถปรับเปลี่ยนได้อย่างรวดเร็ว ในขณะที่หลายองค์กรอาจต้องใช้เวลา ดังนั้น BBIK จึงได้จัดทำ 4 ลำดับขั้นสำหรับเช็คสุขภาพและความพร้อมขององค์กรก่อนทำ Marketing Transformation ดังต่อไปนี้

1) Marketing Primitive Approach เป็นลำดับขั้นขององค์กรที่ยังทำการตลาดแบบ Mass Marketing ไม่มีการแบ่งกลุ่มผู้บริโภคตามลักษณะเฉพาะ หรือ Segmentation เลือกใช้ช่องทางการสื่อสารผ่าน Mass Media เป็นหลัก นอกจากนี้ยังใช้ Raw Data ข้อมูลจาก Third Party เช่น บริษัทวิจัย และใช้ประสบการณ์การทำงานเป็นองค์ประกอบในการตัดสินใจทางธุรกิจ

2) Marketing Digitization Approach เป็นลำดับขั้นขององค์กรที่ทำการตลาดโดยใช้ช่องทางในการเข้าถึงลูกค้าหลากหลายมากยิ่งขึ้น แต่ยังไม่ถึงขั้นที่มีการทำ Personalized Marketing ที่ครอบคลุมการใช้ข้อมูลทางการตลาดทั้งช่องทางออนไลน์และออฟไลน์ ในลำดับขั้นนี้องค์กรจะเริ่มมีจัดเก็บข้อมูลไปยังฐานข้อมูลกลาง แต่ยังไม่ได้ทำการเชื่อมฐานข้อมูล แต่ถือได้ว่าเริ่มมีการบริหารจัดการข้อมูลในระดับหนึ่ง

3) Marketing Digitalization เป็นลำดับขั้นที่องค์กรได้นำเทคโนโลยีและข้อมูลมาใช้ทำการตลาด ทั้งในแง่ของการสร้าง Personalized Experience และ Cross Promotion เพื่อโปรโมทสินค้าได้ตรงตามกลุ่มเป้าหมายมากยิ่งขึ้น โดยมีระบบ Back office ในการทำ Personalized Cross-channel รวมถึงการนำเอาเทคโนโลยีมาใช้งานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการสื่อสาร สร้างประสบการณ์ใช้งานที่ดีให้กับลูกค้า ลดต้นทุนในการบริหารงานและต้นทุนด้านเวลา ยกตัวอย่างเช่น Chatbot, Data Analytics Tools และ ERP เป็นต้น

4) Marketing Transformation เป็นลำดับขั้นที่หลายองค์กรตั้งเป้าหมายหรือกำลังมุ่งไปสู่จุดนี้ ที่มีสามารถทำการตลาดแบบ Personalized Omni-channel ในการรับส่งข้อมูล วิเคราะห์ จนถึงการจัดเก็บข้อมูล ยกตัวอย่างเช่น Netflix หรือ Facebook ที่สามารถส่งต่อประสบการณ์การใช้งานแบบไร้รอยต่อให้กับลูกค้า ได้ทุกช่องทาง ทุกแพลตฟอร์ม ทั้งรูปแบบออนไลน์ ออฟไลน์ และเรียลไทม์ ซึ่งการมอบประสบการณ์แบบ Seamless Marketing ได้นั้นต้องอาศัยเทคโนโลยีเข้ามาช่วย นั่นคือ Automation และ AI ในการวิเคราะห์และประมวลผลพฤติกรรม จนนำไปสู่กระบวนการนำเสนอสินค้าและบริการ และสร้างประสบการณ์ได้ตรงตามความต้องการราวกับเข้าไปนั่งอยู่ในใจผู้บริโภค

อยากทำ Marketing Transformation เริ่มจากตรงไหน?

1) Marketing Digitization การเปลี่ยนข้อมูลและรูปแบบการเก็บข้อมูลในรูปแบบต่างๆ เช่น รูปแบบงานพิมพ์ (Physical Hard Copy) หรือ Analog ให้อยู่ในรูปแบบดิจิทัลที่พร้อมใช้งาน

2) Marketing Digitalization การใช้ดิจิทัลหรือเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการทำการตลาด อาทิ Marketing Analytics Tools หรือ การเก็บข้อมูลต่างๆ มาประกอบการใช้งาน หรือเตรียมพร้อมสำหรับการทำ Digital Ecosystem

3) Marketing Transformation การควบรวมขั้นตอนการทำงานตั้งแต่หลังบ้านและหน้าบ้าน โดยมี Key Message คือ ลูกค้าเป็นศูนย์กลาง ภายใต้ Concept ว่า “We change because they changed, not we change because we want to change”

การรู้สถานะปัจจุบันเป็นสิ่งสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงในทุกรูปแบบ เปรียบได้กับองค์กรที่รู้จุดยืนในปัจจุบัน จะสามารถกำหนดทิศทางสำหรับก้าวต่อไปได้อย่างถูกต้องในอนาคต และเป็นการปูทางไปสู่การเป็น Data-driven Organization ที่สามารถแข่งขันในโลกธุรกิจไร้พรมแดนได้อย่างแข็งแกร่ง

โดย สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (31 พ.ค. 65)

Tags: , ,
Back to Top