คลัง เผยเศรษฐกิจภูมิภาคพ.ค. ปรับตัวดีขึ้นรับปัจจัยท่องเที่ยวฟื้นหนุน

นายพิสิทธิ์ พัวพันธ์ ผู้อำนวยการสำนักนโยบายเศรษฐกิจมหภาค สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) เปิดเผยภาวะเศรษฐกิจภูมิภาคประจำเดือนพฤษภาคม 65 ว่า เศรษฐกิจภูมิภาคในเดือนพฤษภาคม 2565 ได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการท่องเที่ยวที่ปรับตัวดีขึ้นในทุกภูมิภาค อีกทั้งการบริโภคภาคเอกชนปรับตัวดีขึ้นในภาคตะวันออกและภาคตะวันตก อย่างไรก็ดี ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคปรับตัวลดลง เนื่องจากความกังวลต่อค่าครองชีพที่ปรับตัวสูงขึ้น

– เศรษฐกิจภาคตะวันออก

ได้รับปัจจัยสนับสนุนจากภาคการท่องเที่ยว และการบริโภคภาคเอกชนที่ปรับตัวดีขึ้น ขณะที่ความเชื่อมั่นของผู้บริโภค และภาคอุตสาหกรรมปรับตัวลดลง

ด้านอุปสงค์ พบว่าเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการบริโภคภาคเอกชน สะท้อนจากการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ ขยายตัว 41.2% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน นอกจากนี้ จำนวนรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่ และจำนวนรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ขยายตัว 10.3% และ 17.4% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตามลำดับ สอดคล้องกับรายได้เกษตรกรที่ขยายตัว 18.4% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

สำหรับเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการลงทุนภาคเอกชน สะท้อนจากจำนวนรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลจดทะเบียนใหม่และจำนวนรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่ขยายตัว 5.5% และ 8.5% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตามลำดับ สำหรับเงินทุนของโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการขยายตัวเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 49.6% แต่ชะลอลง -43.7% เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล

สำหรับด้านอุปทาน มีสัญญาณฟื้นตัวจากการท่องเที่ยว โดยจำนวนผู้เยี่ยมเยือน และรายได้จากผู้เยี่ยมเยือนรวม ขยายตัว 1,581.3% และ 1,975.5% ต่อปี ตามลำดับ ทั้งนี้ ในด้านความเชื่อมั่น พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค และดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมปรับลดลง มาอยู่ที่ระดับ 43.2 และ 104.8 ตามลำดับ จากเดือนก่อนหน้าที่ระดับ 43.7 และ 109.4 ตามลำดับ

– เศรษฐกิจภาคตะวันตก

ได้รับปัจจัยสนับสนุนจากภาคการท่องเที่ยว การบริโภคภาคเอกชน และความเชื่อมั่นของภาคอุตสาหกรรมที่เพิ่มขึ้น

ด้านอุปสงค์ พบว่าเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการบริโภคภาคเอกชน สะท้อนจากจำนวนรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่ และจำนวนรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ขยายตัว 20.2% และ 19.6% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตามลำดับ ขณะที่การจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ และรายได้เกษตรกรขยายตัว 32.7% และ 13.4% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตามลำดับ แต่ชะลอลงเล็กน้อยที่ร้อยละ -0.7% และ -1.1% เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล ตามลำดับ

สำหรับเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการลงทุนภาคเอกชน สะท้อนจากจำนวนรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลจดทะเบียนใหม่ ขยายตัว 20.4% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ขณะที่จำนวนรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่ขยายตัว 4.5% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่ชะลอลงที่ -1.8% เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล สำหรับเงินทุนของโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการแม้ว่าชะลอลง -68.1% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่ขยายตัว 19.0% เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล จากโรงงานผลิตพลังงานไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนพื้นดินในจังหวัดราชบุรีเป็นสำคัญ

ด้านอุปทาน มีสัญญาณการฟื้นตัวจากการท่องเที่ยว โดยจำนวนผู้เยี่ยมเยือน และรายได้จากผู้เยี่ยมเยือนรวมขยายตัว 1,752.8% และ 1,457.7% ต่อปี ตามลำดับ ทั้งนี้ ในด้านความเชื่อมั่น พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมปรับเพิ่มขึ้น มาอยู่ที่ระดับ 86.4 จากเดือนก่อนหน้าที่ระดับ 85.3 ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคปรับลดลง มาอยู่ที่ระดับ 39.5 จากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ 40.1

– เศรษฐกิจ กทม. และปริมณฑล

ได้รับปัจจัยสนับสนุนจากภาคการท่องเที่ยว และความเชื่อมั่นของภาคอุตสาหกรรมที่เพิ่มขึ้น

ด้านอุปสงค์ พบว่าเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการบริโภคสะท้อนจากจำนวนรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่ จำนวนรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ และรายได้เกษตรกร ขยายตัว 15.4% 13.9% และ 10.9% ต่อปี ตามลำดับ ขณะที่การจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ ขยายตัว 2.2% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่ชะลอลง -4.4% เมื่อเทียบเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล

สำหรับเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการลงทุนภาคเอกชน สะท้อนจากจำนวนรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลจดทะเบียนใหม่ขยายตัว 10.3% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ขณะที่จำนวนรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่ และเงินทุนของโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการแม้ว่าชะลอลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน -9.3% และ -36.7% ตามลำดับ แต่ขยายตัวเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล 1.5% และ 20.6% ตามลำดับ

ด้านอุปทาน มีสัญญาณการฟื้นตัวจากการท่องเที่ยว โดยจำนวนผู้เยี่ยมเยือน และรายได้จากผู้เยี่ยมเยือนรวมขยายตัว 806.5% และ 1,293.3% ต่อปี ตามลำดับ ทั้งนี้ ในด้านความเชื่อมั่น พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมปรับเพิ่มขึ้น มาอยู่ที่ระดับ 86.4 จากเดือนก่อนหน้าที่ระดับ 85.3 ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคปรับลดลง มาอยู่ที่ระดับ 38.3 จากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ 38.9

– เศรษฐกิจภาคกลาง

ได้รับปัจจัยสนับสนุนจากภาคการท่องเที่ยว และความเชื่อมั่นของภาคอุตสาหกรรมที่เพิ่มขึ้น

ด้านอุปสงค์ พบว่าเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการบริโภคภาคเอกชน สะท้อนจากจำนวนรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่ จำนวนรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ และรายได้เกษตรกร ขยายตัว 13.8% 22.8% และ 15.9% ต่อปี ตามลำดับ ขณะที่การจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ ชะลอลงทั้งเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล

สำหรับเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการลงทุนภาคเอกชน สะท้อนจากจำนวนรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่ขยายตัว 19.2% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ขณะที่จำนวนรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลจดทะเบียนใหม่แม้ว่าชะลอลง -3.3% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่ขยายตัวร้อยละ 7.5 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล ขณะที่เงินทุนของโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการชะลอลงทั้งเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล

ด้านอุปทาน มีสัญญาณการฟื้นตัวจากการท่องเที่ยว โดยจำนวนผู้เยี่ยมเยือน และรายได้จากผู้เยี่ยมเยือนรวมขยายตัว 1,341.2% และ 1,399.3% ต่อปี ตามลำดับ ทั้งนี้ ในด้านความเชื่อมั่น พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมปรับเพิ่มขึ้น มาอยู่ที่ระดับ 86.4 จากเดือนก่อนหน้าที่ระดับ 85.3 ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคปรับลดลง มาอยู่ที่ระดับ 39.5 จากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ 40.1

– เศรษฐกิจภาคใต้

ได้รับปัจจัยสนับสนุนจากภาคการท่องเที่ยว ขณะที่ความเชื่อมั่นของผู้บริโภค และภาคอุตสาหกรรมปรับตัวลดลง

ด้านอุปสงค์ พบว่าเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการบริโภคภาคเอกชน สะท้อนจากการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ ขยายตัวร้อยละ 11.5% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ขณะที่จำนวนรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่ จำนวนรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ และรายได้เกษตรกร ขยายตัว 6.0% 22.7% และ 20.9% ต่อปี ตามลำดับ แต่ชะลอลงเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล

สำหรับเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการลงทุนภาคเอกชน สะท้อนจากจำนวนรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลจดทะเบียนใหม่ และจำนวนรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่ ขยายตัว 1.8% และ 3.8% ต่อปี ตามลำดับ แต่ชะลอลงเมื่อเทียบกับแดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล ขณะที่เงินทุนของโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการชะลอลงทั้งเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนและเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล

ด้านอุปทาน มีสัญญาณการฟื้นตัวจากการท่องเที่ยว โดยจำนวนผู้เยี่ยมเยือน และรายได้จากผู้เยี่ยมเยือนรวม ขยายตัว 3,463.6% และ 7,136.3% ต่อปี ตามลำดับ ทั้งนี้ ในด้านความเชื่อมั่น พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค และดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมปรับลดลง มาอยู่ที่ระดับ 36.8 และ 74.7 ตามลำดับ จากเดือนก่อนหน้าที่ระดับ 37.3 และ 83.4 ตามลำดับ

– เศรษฐกิจภาคเหนือ

ได้รับปัจจัยสนับสนุนจากภาคการท่องเที่ยว ขณะที่ความเชื่อมั่นของผู้บริโภค และภาคอุตสาหกรรมปรับตัวลดลง

ด้านอุปสงค์ พบว่าเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการบริโภคภาคเอกชน สะท้อนจากจำนวนรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่ จำนวนรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ และรายได้เกษตรกร ขยายตัว 17.4% 10.9% และ 27.0% ต่อปี ตามลำดับ ขณะที่การจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ ชะลอลงทั้งเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล

สำหรับเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการลงทุนภาคเอกชน สะท้อนจากเงินทุนของโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการขยายตัวเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 137.9% ด้วยเงินทุน 0.4 พันล้านบาท จากโรงงานโรงงานผลิตแอสฟัลท์ติกคอนกรีต ในจังหวัดเชียงราย และโรงงานสี ฝัด หรือขัดเมล็ดพืช ในจังหวัดเชียงใหม่ เป็นสำคัญ สำหรับจำนวนรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลจดทะเบียนใหม่แม้ว่าชะลอลงร้อยละ -0.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่ขยายตัวร้อยละ 2.2 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล ขณะที่จำนวนรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่ขยายตัว 4.1% ต่อปี แต่ชะลอลง -3.6% เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล

ด้านอุปทาน มีสัญญาณการฟื้นตัวจากการท่องเที่ยว โดยจำนวนผู้เยี่ยมเยือน และรายได้จากผู้เยี่ยมเยือนรวมขยายตัว 662.4% และ 784.1% ต่อปี ตามลำดับ ทั้งนี้ ในด้านความเชื่อมั่น พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค และดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมปรับลดลง มาอยู่ที่ระดับ 43.3% และ 59.3% ตามลำดับ จากเดือนก่อนหน้าที่ระดับ 43.8% และ 62.2% ตามลำดับ

– เศรษฐกิจภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ได้รับปัจจัยสนับสนุนจากภาคการท่องเที่ยว ขณะที่ความเชื่อมั่นของผู้บริโภค และภาคอุตสาหกรรมปรับตัวลดลง

ด้านอุปสงค์ พบว่าเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการบริโภคภาคเอกชน สะท้อนจากจำนวนรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่ จำนวนรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ และรายได้เกษตรกร ขยายตัว 10.5% 14.3% และ 22.4% ต่อปี ตามลำดับ ขณะที่การจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ ชะลอลงทั้งเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนและเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล

ด้านเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการลงทุน สะท้อนจากจำนวนรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลจดทะเบียนใหม่ และจำนวนรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่ขยายตัวร้อยละ 1.0% และ 8.1% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตามลำดับ ขณะที่เงินทุนของโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการชะลอลงทั้งเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล

ด้านอุปทาน มีสัญญาณการฟื้นตัวจากการท่องเที่ยว โดยจำนวนผู้เยี่ยมเยือน และรายได้จากผู้เยี่ยมเยือนรวมขยายตัว853.3% และ 993.3% ต่อปี ตามลำดับ ทั้งนี้ ในด้านความเชื่อมั่น พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค และดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมปรับลดลง มาอยู่ที่ระดับ 44.7 และ 75.4 ตามลำดับ จากเดือนก่อนหน้าที่ระดับ 45.1 และ 79.4 ตามลำดับ

โดย สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (29 มิ.ย. 65)

Tags: , , , ,
Back to Top