เงินบาทเปิด 36.30/34 อ่อนค่าต่อเนื่องตามภูมิภาค ตลาดกังวลภาวะศก.-พลังงานในยุโรป

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงเทพ เปิดเผยว่า เงินบาทเปิดตลาดเช้านี้อยู่ที่ระดับ 36.30/34 บาท/ดอลลาร์ อ่อนค่าจาก เย็นวานนี้ที่ปิดตลาดที่ระดับ 36.11 บาท/ดอลลาร์

เงินบาทยังคงอ่อนค่าต่อเนื่องเช่นเดียวกับเงินสกุลอื่นๆ ในภูมิภาคเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเป็นการอ่อนค่าตามทิศทาง ของเงินยูโร ที่อ่อนค่าใกล้จุดต่ำสุดในปี 2002 จากเหตุผลที่ตลาดกังวลภาวะเศรษฐกิจของยุโรป ประกอบกับปัญหาวิกฤติพลังงานในยุโรป

“ตอนนี้ยูโรอ่อนค่าไปใกล้จะเท่ากับ 1 ดอลลาร์ = 1 ยูโรแล้ว เพราะความกังวลเรื่องเศรษฐกิจในยุโรป รวมทั้งการ จัดหาพลังงาน ที่ความต้องการใช้จะมากขึ้นเมื่อใกล้หน้าหนาว ในขณะที่ยุโรปยังมีมาตรการคว่ำบาตรรัสเซียอยู่”

นักบริหารเงินระบุ

นักบริหารเงิน คาดว่า วันนี้เงินบาทยังมีทิศทางอ่อนค่าต่อ ให้กรอบที่ 36.24 – 36.50 บาท/ดอลลาร์

THAI BAHT FIX 3M (11 ก.ค.) อยู่ที่ระดับ 0.54492% ส่วน THAI BAHT FIX 6M อยู่ที่ระดับ 0.81765%

* ปัจจัยสำคัญ

– เงินเยนอยู่ที่ระดับ 137.00/20 เยน/ดอลลาร์ จากเย็นวานที่ระดับ 137.01 เยน/ดอลลาร์

– เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.0015/0030 ดอลลาร์/ยูโร จากเย็นวานที่ระดับ 1.0105 ดอลลาร์/ยูโร

– อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท/ดอลลาร์ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างธนาคารของธปท.อยู่ที่ระดับ 36.012 บาท/ดอลลาร์

– คลังเตรียมหารือธนาคารแห่งประเทศไทย และกระทรวงมหาดไทย ขยายมาตรการลดค่าธรรมเนียมการโอนและจด จำนอง กระตุ้นอสังหาริมทรัพย์ที่จะสิ้นสุดปลายปี 2565 หวังลากเศรษฐกิจไทยโตได้ จับตาเงินทุนไหลออก

– คลังเล็งชง ครม.ต่ออายุมาตรการลดภาษีสรรพสามิตน้ำมัน 5 บาท อีก 2 เดือน คาดเสียรายได้ 2 หมื่นล้านบาท ขณะที่ กกพ.เปิดฟังความเห็น 3 แนวทางขึ้นค่าไฟงวดใหม่เป็นครั้งแรก ชี้อาจขึ้นตั้งแต่ 93.43 สต.-1.39 บาท ส่วน กบน.ตรึงราคาดีเซล 34.95 บาทต่อลิตรอีกสัปดาห์

– “กสิกรไทย” ทุ่มเต็มพิกัด 1 แสนล้าน ลงทุนเทคโนโลยี-เทคโอเวอร์ฟินเทค ปูพรมปล่อยสินเชื่อออนไลน์ ดึงคนไทยเข้าใช้ บริการธนาคาร ตั้งเป้าตัดวงจรหนี้นอกระบบที่คิดดอกเบี้ยโหด แย้มเตรียมผนึกค้าปลีกในต่างจังหวัด ลุยปล่อยสินเชื่อบุคคล ไม่ต้องใช้หลัก ทรัพย์ค้ำประกัน

– ธปท.เตรียมแก้หลักเกณฑ์เงื่อนไขดูแลเงินบาท เหตุเกณฑ์ล้าสมัยใช้ตั้งแต่ปี 40 พร้อมเอื้อผู้ให้บริการทางการเงินให้ บริการ “เฮดจิ้ง” กว้างขึ้น บนต้นทุนต่ำลง

– ยุโรปกำลังเผชิญวิกฤตพลังงาน ขณะที่รัสเซียประกาศยุติการส่งก๊าซธรรมชาติผ่านทางท่อส่ง Nord Stream 1 โดยบริษัท Nord Stream AG ซึ่งเป็นผู้ดำเนินการท่อส่ง Nord Stream 1 ยืนยันว่าทางบริษัทได้ปิดท่อส่งดังกล่าวเมื่อวานนี้ ซึ่งเป็นท่อส่งก๊าซ ธรรมชาติจากรัสเซียมายังเยอรมนีผ่านทางทะเลบอลติก เพื่อทำการซ่อมบำรุงจนถึงวันที่ 21 ก.ค.

– ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) สาขานิวยอร์ก เปิดเผยผลสำรวจพบว่า ตัวเลขคาดการณ์เงินเฟ้อของผู้บริโภคสหรัฐสำหรับใน ปีหน้าพุ่งแตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์

– อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐปรับตัวลงในวันนี้ ขณะที่นักลงทุนปิดรับความเสี่ยง และหันเข้าซื้อพันธบัตรในฐานะ สินทรัพย์ปลอดภัย ท่ามกลางความกังวลเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจถดถอย

– สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก ๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กในวันจันทร์ (11 ก.ค.) เนื่องจากนักลงทุนเข้าซื้อดอลลาร์ในฐานะสกุลเงินปลอดภัย ท่ามกลางความกังวลเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจถดถอยในยูโรโซน เนื่อง จากอัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้นหลังจากราคาน้ำมันทะยานขึ้น อันเป็นผลมาจากความไม่แน่นอนที่เกิดจากการที่รัสเซียบุกโจมตียูเครน

– สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดร่วงลงแตะระดับต่ำสุดในรอบกว่า 9 เดือนในวันจันทร์ (11 ก.ค.) เนื่องจากการแข็งค่า ของสกุลเงินดอลลาร์เป็นปัจจัยกดดันตลาด โดยดัชนีดอลลาร์พุ่งขึ้นทะลุระดับ 108 ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ 20 ปี

– นักลงทุนคาดการณ์ว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) มีโอกาสปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 1.00% ในการประชุมกำหนดนโยบาย การเงินในเดือนนี้ หลังการเปิดเผยตัวเลขจ้างงานที่แข็งแกร่ง

ทั้งนี้ FedWatch Tool ของ CME Group บ่งชี้ว่า นักลงทุนให้น้ำหนัก 4.6% ที่เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 1.00% ในการ ประชุมวันที่ 26-27 ก.ค. และให้น้ำหนัก 95.4% ที่เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.75%

– นักลงทุนจับตาสหรัฐเปิดเผยดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ซึ่งเป็นมาตรวัดเงินเฟ้อจากการใช้จ่ายของผู้บริโภค ประจำเดือน มิ.ย.ในวันพุธนี้ ขณะที่นักวิเคราะห์คาดว่าดัชนี CPI จะพุ่งขึ้นเหนือระดับ 8.6% ของเดือนพ.ค. รวมถึงข้อมูลเศรษฐกิจจีนที่สำคัญหลาย รายการในสัปดาห์นี้ อาทิ ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ไตรมาส 2/2565, การผลิตภาคอุตสาหกรรมและยอดค้าปลีกเดือนมิ. ย.

– ข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐด้านอื่น ๆ ที่มีกำหนดเปิดเผยในสัปดาห์นี้ ได้แก่ ดัชนีความเชื่อมั่นของธุรกิจขนาดย่อมเดือนมิ.ย.จาก สหพันธ์ธุรกิจอิสระแห่งชาติสหรัฐ (NFIB), รายงานสรุปภาวะเศรษฐกิจ หรือ Beige Book จากธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด), จำนวนผู้ ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์, ยอดค้าปลีกเดือนมิ.ย., ดัชนีภาคการผลิต (Empire State Manufacturing Index) เดือนก. ค.จากเฟดนิวยอร์ก, การผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนมิ.ย. และดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคขั้นต้นเดือนก.ค.จากมหาวิทยาลัยมิชิแกน

 

โดย สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (12 ก.ค. 65)

Tags: ,
Back to Top