เปิดค่าใช้จ่ายบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ก.พ. 66 ใช้อะไรได้บ้าง

น.ส.วารี แว่นแก้ว รองอธิบดีกรมบัญชีกลาง ในฐานะโฆษกกรมบัญชีกลาง รายงานผลการจ่ายเงินให้แก่หน่วยงาน/ ร้านค้า ที่รับชำระเงินด้วยบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ และการโอนเงินเข้ากระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ (e-Money) ตั้งแต่วันที่ 1-31 มกราคม 2566 ดังนี้

ขณะเดียวกัน กรมบัญชีกลาง เผยกำหนดการเบิกจ่ายและโอนเงินให้แก่หน่วยงาน และร้านค้า ที่รับชำระค่าสินค้าและ บริการผ่านบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2566 ดังนี้

ทุกวันที่ 1 ของเดือน (ไม่สามารถถอนเป็นเงินสดได้ และไม่สะสมในเดือนถัดไป)

1. วงเงินซื้อสินค้า 200/300 บาท/เดือน

2. ส่วนลดค่าซื้อก๊าซหุงต้ม 100 บาทต่อ 3 เดือน (ม.ค. – มี.ค. 66)

3. ค่าใช้จ่ายในการเดินทาง ประกอบด้วย – ค่าโดยสารรถ บขส. 500 บาท/เดือน

– ค่าโดยสารรถไฟ 500 บาท/เดือน

– ค่าโดยสารรถ ขสมก./รถไฟฟ้า (MRT/BTS/ARL) 500 บาท/เดือน (สำหรับผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐที่อาศัยอยู่ ในเขต กทม. และปริมณฑล)

ทุกวันที่ 18 ของเดือน (สามารถถอนเป็นเงินสดได้ และสะสมในเดือนถัดไปได้)

1. เงินชดเชยค่าไฟฟ้า ไม่เกิน 315 บาท/ครัวเรือน/เดือน (สำหรับผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐที่ได้ลงทะเบียนกับ กฟน. กฟภ. และกิจการไฟฟ้าสวัสดิการสัมปทานกองทัพเรือ ที่ใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 315 บาทต่อเดือน)

2. เงินชดเชยตามจำนวนเงินที่ชำระค่าน้ำประปา ไม่เกิน 100 บาท/ครัวเรือน/เดือน (สำหรับผู้ถือบัตรสวัสดิการ แห่งรัฐ ที่ได้ลงทะเบียนกับ กปน. กปภ. ที่ใช้น้ำประปาไม่เกิน 315 บาท/เดือน จะได้รับเงินคืนค่าน้ำประปาไม่เกิน 100 บาท (ที่ ได้ชำระเงินแล้ว) ส่วนที่เกินจาก 100 บาท ผู้ถือบัตรฯ เป็นผู้ชำระเอง)

ทุกวันที่ 22 ของเดือน (สามารถถอนเป็นเงินสดได้ และสะสมในเดือนถัดไปได้)

– เงินเพิ่มเบี้ยความพิการ 200 บาท/เดือน (สำหรับผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ที่มีบัตรประจำตัวคนพิการและได้รับ เงินเบี้ยความพิการ)

ทั้งนี้ สำหรับผู้ที่มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ยังสามารถใช้บัตรฯ ต่อไปได้ตามปกติ จนกว่ากระทรวงการคลังจะประกาศให้ เริ่มใช้บัตรประชาชนแทน

โดย สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (02 ก.พ. 66)

Tags: , , , , ,
Back to Top