เงินบาทเปิด 34.74 แนวโน้มอ่อนค่าหลังตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐหนุนดอลลาร์แข็งค่า

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทเปิดตลาดเช้านี้อยู่ที่ 34.74 บาท/ดอลลาร์ ปรับตัวอ่อนค่าจาก ปิดตลาดเย็นวานนี้ที่ระดับ 34.59 บาท/ดอลลาร์ เคลื่อนไหวในทิศทางเดียวกับภูมิภาคและตลาดโลก เนื่องจากดอลลาร์แข็งค่าตาม บอนด์ยีลด์ที่ปรับตัวสูงขึ้น หลังตัวเลขเศรษฐกิจของสหรัฐที่ประกาศออกมาเมื่อคืนนี้ดีเกินคาด ทั้งยอดขอรับสวัสดิการว่างงานในรอบสัปดาห์ที่ น้อยกว่าคาดการณ์ และจีดีพีไตรมาสแรกของปีนี้ที่ขยายตัว 1.3% สูงกว่าคาดการณ์ไว้ที่ 1.1% ส่วนการพิจารณาขยายเพดานหนี้ของสหรัฐมี แนวโน้มไปในทางที่ดี ขณะที่ราคาทองคำในตลาดโลกปรับตัวลดลงราว 20 ดอลลาร์/ออนซ์

“บาทอ่อนค่าจากเย็นวานนี้ ทิศทางผันผวนและมีแนวโน้มอ่อนค่า เนื่องจากมีปัจจัยหนุนทั้งภายในและภายนอกประเทศ” นัก บริหารเงิน กล่าว

นักบริหารเงิน ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในวันนี้ไว้ที่ 34.60 – 34.85 บาท/ดอลลาร์ โดยปัจจัยที่มีผลต่อค่า เงินบาทวันนี้ ได้แก่ ทิศทางของเงินทุนต่างประเทศ (Flow) เนื่องจากนักลงทุนต่างชาติยังขายออกพันธบัตรและหุ้นต่อเนื่อง รวมถึงการนำ เข้าทองคำ

THAI BAHT FIX 3M (25 พ.ค.) อยู่ที่ระดับ 1.69082% ส่วน THAI BAHT FIX 6M อยู่ที่ระดับ 1.93646%

* ปัจจัยสำคัญ

– เงินเยนอยู่ที่ระดับ 140.00 เยน/ดอลลาร์ จากเย็นวานนี้ที่ระดับ 139.52 เยน/ดอลลาร์

– เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.0724 ดอลลาร์/ยูโร จากเย็นวานนี้ที่ระดับ 1.0730 ดอลลาร์/ยูโร

– อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท/ดอลลาร์ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างธนาคารของธปท.อยู่ที่ระดับ 34.716 บาท/ดอลลาร์

– บริษัทฟิทช์ เรทติ้งส์ ซึ่งเป็นบริษัทจัดอันดับความน่าเชื่อถือระดับโลก ได้ออกรายงานโดยระบุว่าความ ไม่แน่นอนด้านการ เมืองและการคลัง อาจจะ เป็นปัจจัยฉุดรั้งอันดับความน่าเชื่อถือของประเทศไทย

– พาณิชย์ ถกทูตพาณิชย์-เอกชน เคาะแผนส่งออก 7 ภูมิภาค รวม 350 กิจกรรม ดันยอดตัวเลขส่งออกครึ่งปีหลังเพิ่มขึ้น ตั้ง เป้าทั้งปีพลิกกลับมาเป็นบวก 1-2% เอกชนห่วงค่าเงินบาทผันผวน ขึ้นค่าแรงขั้นต่ำกระทบต้นทุนการผลิต มั่นใจมูลค่าส่งออกพ้นจุดต่ำสุด แล้ว

– รองประธานกรรมการหอการค้าไทย ระบุว่า ผู้ส่งออกมีความเป็นห่วงเรื่องนโยบายการขึ้นค่าแรงของรัฐบาล จะเป็นปัจจัย เสี่ยงที่กระทบต่อการส่งออกของไทย เพราะหากค่าแรงขึ้นจะทำให้ต้นทุนการผลิตเพิ่ม และการแข่งขันยากกว่าเดิม กลุ่มนายจ้างไม่ได้คัด ค้านการขึ้นค่าแรง แต่การปรับขึ้นค่าแรงตามนโยบายหาเสียงถือว่าอันตรายมากจะทำให้นักลงทุนต้องคิดหนัก โดยเฉพาะบริษัทใหม่ๆ จะ ชะลอการลงทุนไปเพราะความไม่ชัดเจนของค่าแรง ส่วนบริษัทเก่าที่ลงทุนอยู่แล้วก็จะมีภาระต้นทุนเพิ่มอย่างเลี่ยงไม่ได้

– อธิบดีกรมธนารักษ์ เปิดเผยว่า ขณะนี้กรมอยู่ระหว่างดำเนินการปรับราคาค่าเช่าที่ดินราชพัสดุที่ให้เอกชนเช่าในเชิง พาณิชย์ มีความคืบหน้าไปอย่างมาก โดยในหลักการคือต้องเป็นธรรม ซึ่งการปรับราคาค่าเช่าดังกล่าวได้มีระบุอยู่ในสัญญาเช่าอยู่แล้วว่าจะ ดำเนินการในส่วนนี้ทุกๆ 3 ปี หรือ 9 ปี ขึ้นอยู่กับสัญญา

– กระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยตัวเลขประมาณการครั้งที่ 2 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ประจำไตรมาส 1/2566 โดยระบุว่า GDP ขยายตัว 1.3% สูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 1.1% และสูงกว่าตัวเลขประมาณการครั้งที่ 1 ที่ระดับ 1.1%

– กระทรวงแรงงานสหรัฐ เปิดเผยตัวเลขผู้ยื่นขอสวัสดิการว่างงานครั้งแรกเพิ่มขึ้น 4,000 ราย สู่ระดับ 229,000 รายใน สัปดาห์ที่แล้ว แต่ต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 245,000 ราย

– นักลงทุนยังคงวิตกกังวลเกี่ยวกับปัญหาเพดานหนี้ของสหรัฐ ขณะที่ฟิทช์ เรทติ้งส์ ประกาศให้เครดิตพินิจ (Rating Watch) ของสหรัฐเป็นเชิงลบ และเตือนว่าอาจจะปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือของสหรัฐซึ่งปัจจุบันอยู่ที่ AAA เนื่องจากการเจรจาปรับเพิ่ม เพดานหนี้ยังไม่มีความคืบหน้า ซึ่งอาจจะส่งผลให้สหรัฐเผชิญกับการผิดนัดชำระหนี้ครั้งประวัติศาสตร์

– ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าอย่างต่อเนื่องเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก ๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กในวัน พฤหัสบดี (25 พ.ค.) เนื่องจากนักลงทุนยังคงเข้าซื้อดอลลาร์ในฐานะสกุลเงินปลอดภัย ท่ามกลางความกังวลเกี่ยวกับการผิดนัดชำระหนี้ ของสหรัฐ และล่าสุดฟิทช์ เรทติ้งส์ เตือนว่าอาจจะปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือของสหรัฐ เนื่องจากการเจรจาปรับเพิ่มเพดานหนี้ยังคงยืด เยื้อ

– สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดร่วงลงแตะระดับต่ำสุดในรอบ 9 สัปดาห์ในวันพฤหัสบดี (25 พ.ค.) และเป็นการปิดในแดน ลบติดต่อกัน 4 วันทำการ เนื่องจากการแข็งค่าของดอลลาร์ยังคงเป็นปัจจัยฉุดตลาด ขณะที่นักลงทุนจับตาการเปิดเผยดัชนีราคาการใช้จ่าย เพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) ของสหรัฐในวันนี้ เพื่อหาสัญญาณบ่งชี้ทิศทางอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด)

– นักลงทุนจับตาการเปิดเผยดัชนีราคาการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) เดือนเม.ย.ของสหรัฐในวันนี้ โดยดัชนี PCE เป็นมาตรวัดเงินเฟ้อที่เฟดให้ความสำคัญ เนื่องจากสามารถตรวจจับการเปลี่ยนแปลงในพฤติกรรมของผู้บริโภค และครอบคลุมราคา สินค้าและบริการในวงกว้างมากกว่าข้อมูลดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI)

โดย สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (26 พ.ค. 66)

Tags: ,
Back to Top