กังหันลมบนบกของซานี่ รีนิวเอเบิล เอเนอร์จี ได้รับการรับรองจากยูแอล โซลูชันส์

กังหันลมบนบกขนาด 5 เมกะวัตต์ของซานี่ รีนิวเอเบิล เอเนอร์จี (SANY Renewable Energy) ได้รับการรับรองจากยูแอล โซลูชันส์ ผู้นำระดับโลกด้านวิทยาศาสตร์ความปลอดภัยประยุกต์ นอกจากนี้ ซานี่ รีนิวเอเบิล เอเนอร์จี ยังได้รับการรับรองจากยูแอล โซลูชันส์ ให้เป็นพันธมิตรผู้ให้บริการห้องปฏิบัติการระหว่างพิธีมอบรางวัลอีกด้วย

ทั้งนี้กังหันลมบนบกขนาด 5 เมกะวัตต์ของซานี่ รีนิวเอเบิล เอเนอร์จี เคยได้รับการรับรองโดยดีเอ็นวี เมื่อปี 2564 ส่งผลให้บริษัทฯ เป็นผู้จัดหากังหันลมรายแรกในประเทศจีนที่ได้รับการรับรองในระดับสากล สำหรับกังหันลมระดับเมกะวัตต์ขนาดใหญ่พร้อมสถานีย่อยแบบกล่อง

สำหรับกังหันลมดังกล่าวออกแบบในลักษณะแพลตฟอร์ม และใช้เทคโนโลยี “ป้อนสองทางความเร็วสูง” เพื่อให้ได้ความเป็นเลิศในเรื่องความน่าเชื่อถือ ประสิทธิภาพ ต้นทุนการดำเนินงาน และการบำรุงรักษา และส่งผลให้ลูกค้าได้มูลค่าทางเศรษฐกิจมากขึ้น โดยการเพิ่มกังหันลมเข้าไปในโครงข่ายไฟฟ้าถือเป็นความก้าวหน้าครั้งใหม่สำหรับซานี่ รีนิวเอเบิล เอเนอร์จี ในการวิจัยและพัฒนาพลังงานลมบนบก และจะเป็นพื้นฐานที่มั่นคงสำหรับการเชื่อมต่อโครงข่ายไฟฟ้าในราคาที่ถูกลง

ปัจจุบัน พลังงานลมจัดว่าเป็นพลังงานสะอาดที่ให้ต้นทุนกิโลวัตต์-ชั่วโมงต่ำที่สุด โดยซานี่ รีนิวเอเบิล เอเนอร์จี เชื่อว่าเทคโนโลยีนี้จะมีส่วนสำคัญในการลดคาร์บอนและเดินหน้าสู่เป้าหมายคาร์บอนคู่ขนาน (Dual Carbon) ของจีน ด้วยเหตุนี้ ซานี่ รีนิวเอเบิล เอเนอร์จี จึงได้พัฒนาผลิตภัณฑ์กังหันลมที่มีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีพร้อมสมรรถนะการทำงานและความน่าเชื่อถือที่ยอดเยี่ยม ซึ่งไม่เพียงแต่สนับสนุนความคิดริเริ่มระดับโลกเพื่อรับมือกับความท้าทายด้านสภาพอากาศ แต่ยังส่งเสริมการยกระดับตลาดพลังงานทั่วโลกอีกด้วย

ด้าน นิเวธ บี เอส ผู้จัดการฝ่ายวิศวกรรมทั่วไปของยูแอล โซลูชันส์ วินด์ เอเชีย เปิดเผยว่า มีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้เป็นพันธมิตรด้านห้องปฏิบัติการกับซานี่ รีนิวเอเบิล เอเนอร์จี พร้อมคาดหวังในการทำงานร่วมกันในการกำหนดมาตรฐานใหม่ ๆ พัฒนาบุคลากรคนเก่งและทีมงาน เช่นเดียวกับโครงการวิจัยและพัฒนาในระยะยาว

ขณะที่ ดร. หวัง จี้โจว ผู้อำนวยการศูนย์ทดสอบและทดลองของซานี่ รีนิวเอเบิล เอเนอร์จี กล่าวว่า ความร่วมมือกับยูแอล โซลูชันส์ จะให้การสนับสนุนที่เชื่อถือได้ในการปฏิบัติให้ได้ตามมาตรฐาน การออกแบบและทดสอบแผนวิจัยและพัฒนา การประเมินประสิทธิภาพของกังหันลม และอื่นๆ เพื่อยกระดับความได้เปรียบทางการแข่งขันของตัวผลิตภัณฑ์

โดย สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (26 มิ.ย. 66)

Tags: , , , ,
Back to Top