ทริสฯ หั่นแนวโน้มอันดับเครดิต JMT เป็น Negative จาก Stable ตาม JMART

ทริสเรทติ้งคงอันดับเครดิตองค์กร และ หุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิ ไม่มีหลักประกันของบมจ. เจเอ็มที เน็ทเวอร์ค เซอร์วิสเซ็ส (JMT) ที่ ระดับ BBB+” ในขณะเดียวกัน ทริสเรทติ้งปรับแนวโน้มอันดับเครดิตเป็น ” Negative” หรือ “ลบ” จาก ” Stable” หรือ “คงที่” การเปลี่ยนของแนวโน้มอันดับเครดิตเป็นไปตามการเปลี่ยนแปลงของ บมจ. เจมาร์ท กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ (JMART) (อันดับเครดิต BBB+/ Negative)

ทั้งนี้ อันดับเครดิตสะท้อนถึงสถานะของบริษัทในการเป็นบริษัทลูกหลัก ( Core Subsidiary) ของ JMART เป็นสำคัญ ซึ่งตาม “เกณฑ์การจัดอันดับเครดิตกลุ่มธุรกิจ” ของทริสเรทติ้งนั้น อันดับเครดิตองค์กรและแนวโน้มอันดับเครดิตของบริษัทจะเท่ากับอันดับเครดิตองค์กรของ JMART

ประเด็นสำคัญที่กำหนดอันดับเครดิต

  • เป็นบริษัทลูกหลักของกลุ่มเจมาร์ท

ทริสเรทติ้งพิจารณาเห็นว่าบริษัทเป็นบริษัทลูกหลักของกลุ่มเจมาร์ท (JMART Group) โดย ณ สิ้นปี 2566 บริษัทเจมาร์ท กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ ถือหุ้นในสัดส่วน 53.9% ของบริษัทและยังคงเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ที่สุด ในขณะที่คณะกรรมการครึ่งหนึ่งของบริษัท เป็นตัวแทนมาจากกลุ่มเจมาร์ท และมีความสัมพันธ์เชื่อมโยงเกี่ยวข้องกันอย่างใกล้ชิดกับคณะผู้บริหารของบริษัท

บริษัทเจมาร์ท กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ ควบคุมทิศทางธุรกิจและเป้าหมายทางการเงินของบริษัทผ่านคณะกรรมการบริษัท โดยบริษัทเจมาร์ท กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ แสดงความต้องการที่จะรักษาสัดส่วนการถือหุ้นในบริษัทผ่านการเพิ่มทุนเป็นระยะๆจากการใช้สิทธิในใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นสามัญของบริษัท รวมถึงการใช้สิทธิซื้อหุ้นตามการจัดสรรหุ้นเพิ่มทุน นอกจากนี้ชื่อเสียงของบริษัทยังมีความเชื่อมโยงที่ใกล้ชิดกับชื่อเสียงของบริษัทเจมาร์ท กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ ผ่านการใช้ชื่อทางการค้าร่วมกันอีกด้วย

บริษัทให้บริการติดตามหนี้ซึ่งเป็นบทบาทสำคัญและหัวใจหลักต่อแผนธุรกิจของกลุ่มเจมาร์ท โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในธุรกิจด้านการเงิน ในมุมมองของทริสเรทติ้ง บริษัทมีผลการดำเนินงานที่ดีและเป็นหัวใจสำคัญในการผลักดันผลการดำเนินการโดยรวมของบริษัทเจมาร์ท กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ แผนการขยายสินทรัพย์อย่างต่อเนื่องของบริษัทนั้นก็มีส่วนในการส่งเสริมการเติบโตของสินทรัพย์รวม ของบริษัท เจมาร์ท กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ ด้วยเช่นกัน

  • มีสัดส่วนสร้างรายได้สุทธิและสินทรัพย์ที่มีนัยสำคัญต่อกลุ่มเจมาร์ท

บริษัทสร้างผลดำเนินงานที่ดีต่อเนื่องให้กลุ่มเจมาร์ท ทริสเรทติ้งเชื่อว่าบริษัทจะยังคงสถานะในการเป็นผู้สร้างกำไรสุทธิ หลักให้แก่ กลุ่มเจมาร์ท สืบเนื่องจากแผนการลงทุนและประสิทธิภาพการดำเนินงาน เมื่อเทียบกับบริษัทรายอื่นในกลุ่ม ซึ่งเป็นสิ่งที่ช่วยยืนยันถึงสถานะในการเป็นบริษัทลูกหลัก ( Core Subsidiary) ของบริษัทเจมาร์ท กรุ๊ป โฮลดิ้งส์

บริษัทมีสัดส่วนสินทรัพย์ต่อสินทรัพย์รวมของกลุ่มเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 68.2% ณ สิ้นปี 2566 จาก 43.0% ณ สิ้นปี 2561 แม้ว่าผลกระดำเนินงานจะอ่อนกว่าที่คาดไว้ ในปี 2566 แต่บริษัทก็ยังประกาศกำไรสุทธิที่ 2.1 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 23.3% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า

มองไปข้างหน้า ทริสเรทติ้งคาดว่า บริษัทจะยังคงเป็นกลไกหลักการการลงทุนของกลุ่มเจมาร์ท ส่งเสริมบทบาทการเป็นผู้สร้างสร้างรายได้และกำไรสุทธิหลักให้รายได้และกำไรสุทธิหลักให้กลุ่ม โดยบริษัทจะยังคงสถานะดังกล่าวและมีและมีความสำคัญต่อความสำคัญต่อกลุ่มต่อไป

  • มีพื้นฐานที่แข็งแกร่งในธุรกิจบริหารหนี้ด้อยคุณภาพที่ไม่มีหลักประกัน

บริษัทเป็นผู้ประกอบการรายใหญ่ที่สุดในธุรกิจบริหารหนี้ด้อยคุณภาพที่ไม่มีหลักประกันในประเทศไทย ประสบการณ์ที่ยาวนานและมีฐานข้อมูลการติดตามหนี้ที่ยาวนานมากกว่า 20 ปีเป็นเป็นจุดแข็งที่สำคัญของบริษัทซึ่งมีส่วนช่วยให้บริษัทสามารถรักษาการเติบโตทางธุรกิจและประสิทธิภาพในการดำเนินงานเอาไว้ได้

ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา การเติบโตของสินทรัพย์เพิ่มขึ้นอย่างมาก ทำให้บริษัทมีสถานะเป็นหนึ่งในบริษัทบริหารหนี้อันดับต้น ๆ ของประเทศไทย ในปี 2566 บริษัทบริษัทได้ใช้เงินจำนวนประมาณ 7.3 พันล้านบาทในการลงทุนซื้อหนี้ด้อยคุณภาพเข้ามาบริหาร เพิ่มขึ้นจาก 4.6 พันล้านบาทในปีก่อนหน้า ทำให้บริษัทมีส่วนแบ่งทางการตลาดเพิ่มสูงขึ้นในแง่ของสินทรัพย์รวมอยู่ที่ระดับ 15% ในปี 2566 จากระดับ 12.4%ในปี 2565

ณ สิ้นปี 2566 บริษัทมีสินทรัพย์รวมจำนวน 4.24 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้น 25.3% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า บริษัทมีมูลหนี้คงค้างคงค้างของหนี้ด้อยคุณภาพอยู่ที่ 3.31 แสนล้านบาทเพิ่มขึ้นจาก 2.61 แสนล้านบาทในปี ในปี 2565 โดยถ้ารวม บริษัทบริหารสินทรัพย์เจเคเจเค จำกัด จำกัด (JK AMC) ที่เป็นบริษัทร่วมของบริษัทลูก บริษัท บริหารสินทรัพย์ เจ จำกัด (JAM) และธนาคารกสิกรไทย ส่วนแบ่งทางการตลาดจะเพิ่มขึ้นเป็น 23.4% ในปี ในปี 2566

  • ผลดำเนินงานที่ลดลงจากเงินสดจัดเก็บที่น้อยกว่าที่คาดไว้

ผลดำเนินงานของบริษัทต่ำกว่าที่ทริสเรทติ้งคาดไว้ เนื่องจากเงินสดจัดเก็บน้อยกว่าที่คาด ในปี 2566 เงินสดจัดเก็บอยู่ที่ 5.8 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 4% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า น้อยกว่าอัตราการเติบโตที่มากกว่า 20% ในปี 2564-2565 ซึ่งเป็นผลมาจากสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจที่อ่อนแอ และอัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มสูงขึ้นซึ่งส่งผลกระทบต่อความสามารถในจ่ายชำระชำระหนี้ของลูกหนี้ และภาระค่าครองชีพที่เพิ่มสูงขึ้น นอกจากนี้ ผลกระทบจากปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยยังส่งผลชัดกับสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (Non-performing Loan – NPL) ที่มีหลักประกัน เนื่องจากธนาคารมีความมีความเข้มงวดมากขึ้นในการอนุมัติสินเชื่อเพื่อการรีไฟแนนซ์และสินเชื่อบ้าน ซึ่งซึ่งส่งผลทำให้การรีไฟแนนซ์น้อยลงและการขายสินสินทรัพย์ยากยิ่งขึ้น

การจัดการ NPL มีหลักประกันที่ยากยากยิ่งขึ้น ทำให้บริษัทเปลี่ยนแผนการซื้อสินทรัพย์ด้อยคุณภาพในปี 2566 โดยบริษัท 99% ของเงินลงทุนซื้อ NPL ที่ไม่มีหลักประกัน ด้วยอัตราดอกเบี้ยที่มีแนวโน้มว่าจะยังคงอยู่ในระดับสูงในปี 2567 ทริสเรทติ้งคาดว่าบริษัทจะยังคงมุ่งเน้นที่การซื้อ NPL ที่ไม่มีหลักประกัน ในระยะกลาง จากการค่อยๆ ฟื้นตัวฟื้นตัวของของเศรษฐกิจและแนวโน้มดอกเบี้ยที่น่าจะลดลง ทริสเรทติ้งคาดว่า เงินสดจัดเก็บและผลการดำเนินงานของบริษัทบจะปรับตัวดีขึ้น

  • ผลประกอบการที่แข็งแรงจากบริษัทบริหารสินทรัพย์ที่เป็นบริษัทร่วม

JK AMC มีผลดำเนินงานที่ดีตั้งแต่เริ่มก่อตั้งในปี 2565 ในปี 2566 JK AMC มีกำไรสุทธิอยู่ที่ 1.08 พันล้านบาท และมีส่วนแบ่งกำไรให้บริษัทที่ 528 ล้านบาท ณ สิ้นปี 2566 JK AMC มีเงินลงทุนใน NPL อยู่ที่ 2.13 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้น 14% จาก 1.87 หมื่นล้านบาทในปี 2565 ในด้านแหล่งเงินทุนของบริษัทร่วมสำหรับการลงทุนใน NPL บริษัท และธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) (KBANK) ให้เงินกู้ฝ่ายละ 4.9 พันล้านบาท ณ สิ้นธันวาคม 2566 โดยมีเงินกู้จากบุคคลภายนอกอีกประมาณ 2 พันล้านบาท เมื่อมองไปข้างหน้าจาก NPL ที่มีอยู่ในมือ ทริสเรทติ้งเชื่อว่าผลดำเนินงานของ JK AMC จะช่วยยกระดับผลการการดำเนินของบริษัทได้ในระยะยาว

  • บริการติดตามเร่งรัดหนี้สินและธุรกิจประกัน

บริการติดตามเร่งรัดหนี้สิน และธุรกิจประกันของบริษัทมีสัดส่วนรายได้ประมาณ 7% ของรายได้รวมในปี 2566 เทียบกับรายได้ 86% ที่มาจากธุรกิจซื้อและบริหารหนี้ บริการติดตามเร่งรัดหนี้สินให้บริการลูกค้าที่หลากหลาย รวมไปถึง ธนาคารพาณิชย์ บริษัทสินเชื่อที่ไม่ใช่ธนาคาร ผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ และธุรกิจอื่น ๆ มากไปกว่านั้น บริษัทยังให้บริการกับบริษัทสินเชื่อที่เกี่ยวข้องภายในกลุ่มเจมาร์ท ซึ่งช่วยเสริมสร้างการทำงานร่วมกันของกลุ่ม

ในปี 2566 บริษัทมีรายได้จากค่าบริการติดตามเร่งรัดหนี้สินอยู่ที่ 355 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 8.5% จากปีก่อนหน้า และเมื่อมองไปข้างหน้า ทริสเรทติ้งคาดมองว่าธุรกิจบริการติดตามเร่งรัดหนี้สินจะไม่เติบโตมาก เนื่องจากบริษัทน่าจะให้ความสำคัญกับธุรกิจบริหารหนี้ด้อยคุณภาพมากกว่า โดยในช่วง 3 ปีข้างหน้า ทริสเรทติ้งคาดว่ารายได้จากค่าบริการติดตามเร่งรัดหนี้สินจะอยู่ที่ประมาณ ประมาณ 300-400 ล้านบาทต่อปี

ในด้านธุรกิจประกันนั้น ธุรกิจของบริษัทประกอบไปด้วยการประกันภัยและการเป็นนายหน้าขายประกัน ในปี 2566 บริษัทมีรายได้จากธุรกิจประกันที่ 315 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจาก 295 ล้านบาทในปี 2565 ในระยะสั้น ทริสเรทติ้งคาดว่าธุรกิจประกันของบริษัทจะเติบโตอย่างค่อยเป็นค่อยไป โดยในปี 2567 บริษัทจะมุ่งเน้นการเริ่มใช้มาตรฐานบัญชีฉบับใหม่ TFRS17

สมมติฐานกรณีกรณีพื้นฐานพื้นฐาน

  • สมมติฐานกรณีพื้นฐานของทริสเรทติ้งตั้งอยู่บนความคาดหมายว่าบริษัทจะยังคงดำรงสถานะในการเป็นบริษัทลูกหลักของกลุ่มบริษัทเจมาร์ทต่อไป

  • แนวโน้มอันดับเครดิต “Negative” หรือ “หรือ “ลบลบ” ” เป็นไปตามแนวโน้มอันดับเครดิตอันดับเครดิตของบริษัทเจมาร์ กรุ๊ป โฮลดิ้งส์กรุ๊ป โฮลดิ้งส์

  • อันดับเครดิตและ/หรือแนวโน้มอันดับเครดิตของบริษัทมีทิศทางไปมีทิศทางไปตามอันดับเครดิตของบริษัทเจมาร์ท

โดย สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (19 มี.ค. 67)

Tags: , , , ,
Back to Top