
นายมูฮัมหมัด โนแวน บิน อามีรูดิน ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร CIMB Group Holdings Berhad กล่าวว่า CIMB Group ได้วางแผนปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ของ CIMBT ไปสู่การเป็นธนาคารเฉพาะด้าน (Niche Bank) แทนการเป็นธนาคารรอบด้าน เพื่อให้สอดรับกับภาวะเศรษฐกิจของไทยที่มีความไม่แน่นอน และมีความผันผวนค่อนข้างมาก ประกอบกับ เศรษฐกิจของไทยยังเติบโตในระดับค่อนข้างต่ำ และธุรกิจธนาคารในประเทศไทยมีการแข่งขันสูง
ดังนั้น CIMBT จึงต้องปรับตัวให้สอดคล้องเพื่อสร้างความสามารถในการแข่งขันกับธนาคารอื่นๆ ได้ และมีความโดดเด่นในเฉพาะด้านที่ลูกค้าเลือกใช้บริการ เพื่อสร้างผลการดำเนินงานให้กลับมาโดดเด่นขึ้น พร้อมกับการเป็นส่วนหนึ่งในเครือข่ายของ CIMB Group ที่ช่วยเสริมบริการ Cross Boarder ให้กับลูกค้าในอาเซียน ตอกย้ำการเป็นผู้นำ Asean Bank ของ CIMB Group
นายวุธว์ ธนิตติราภรณ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร CIMBT กล่าวว่า ธนาคารภายใต้ CIMB Group ได้วางโรดแมพ 6 ปี ภายใต้ Forward30 โดยจะมุ่งตอบโจทย์ทุกความท้าทายของเศรษฐกิจโลกบนความไม่แน่นอน ด้วยเป้าหมาย “Advancing Customers & Society” ส่งเสริมความก้าวหน้าให้ลูกค้าพร้อมสร้างคุณค่าให้สังคม
Forward30 จะเป็นกลุยุทธ์หลักในการเติบโตของธุรกิจให้พร้อมแข่งขันและมุ่งสู่การเป็นผู้นำในตลาด โดยใช้จฺดแข็งทางด้านบุคคลากรและเครือข่ายอาเซียนที่แข็งแกร่ง พร้อมกับเพิ้มประสิทธิภาพในการจักการต้นทุนและทรัพยากร ขับเคลื่อนผลการดำเนินงานที่ยั่งยืน และสร้างมูลค่าระยะยาวให้แก่ลูกค้าและสังคม โดยมีพื้นฐานจากเมกะเทรนด์ระดับโลก และสร้างความคล่องตัวในการปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมที่ซับซ้อนยิ่งขึ้น เพื่อสร้างความสำเร็จให้เกิดขึ้น
ธนาคารจะปรับเปลี่ยนไปสู่การเป็น Niche Bank แทนการเป็นธนาคารทุกอย่างของลูกค้า โดยจะให้ความสำคัญในด้านการให้บริการเฉพาะด้านกับทูกค้ามากขึ้น เน้นใน 3 ด้านหลัก ได้แก่ กลุ่มลูกค้าองค์กรและสถาบัน, การบริหารความมั่งคั่งเฉพาะบุคคลเพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืนและมั่นคง และบริการของธนาคารที่สะดวกและเข้าถึงง่ายผ่านช่องทางดิจิทัล
“เราจะไม่เป็นเพียงธนาคารที่ขายผลิตภัณฑ์ แต่จะเป็นธนาคารที่เข้าใจปัญหาของลูกค้า และเสนอทางออกที่ใช่ในเวลาที่เหมาะสม ด้วยโซลูชันแบบครบวงจร (end-to-end solution) ทุกจังหวะชีวิตลูกค้า มุ่งขจัด pain point ลูกค้าให้หมดไป โดยมีแผนยกระดับผลิตภัณฑ์และบริการไปอีกขั้น คือ ลูกค้าต้องได้รับประสบการณ์ Simpler, Better, Faster ง่ายกว่า ดีกว่า เร็วกว่า” นายวุธว์ กล่าว
กลยุทธ์หลักของธนาคารจะมุ่งเน้นและรุกมากขึ้นในสิ่งที่ CIMBT มีความเชี่ยวชาญ และให้บริการกับลูกค้าอย่างดีมาอย่างต่อเนื่อง ได้แก่ การสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับลูกค้าผ่านบริการด้านเงินฝาก การลงทุนตราสารหนี้และหุ้นกู้ รวมถึง Stucture note ซึ่งจะเป็นส่วนที่สร้างรายได้ที่ไม่ไช่ดอกเบี้ยเข้ามาให้กับธนาคารได้ดีต่อเนื่องด้วย โดยธนาคารตั้งเป้าที่จะเพิ่มมูลค่าสินทรัพย์ภายใต้การบริหารจัดการ (AUM) ตามแผน Forward30 หรือภายในปี 73 เป็น 2 เท่า จากปัจจุบันที่มี AUM อยู่ที่ 2.5 แสนล้านบาท
ขณะที่บริการทางด้านดิจิทัลจะเดินหน้าในการพัฒนาดิจิทัลแบงก์กิ้งให้ลูกค้าเข้าถึงได้ง่ายถึง และสามารถนำเสนอบริการทางการเงินให้ลูกค้าเข้าถึงได้มากขึ้นเช่นเดียวกัน และเป็นการสนับสนุนให้ Cost to income ratio (CIR) ของธนาคารลดลงต่ำกว่า 50% จากปัจจุบันที่ 52%
ธนาคารยังจะมีบทบาทเชิงรุกในเรื่อง ESG โดยมี ESG Advisory ทีมผู้เชี่ยวชาญที่พร้อมให้คำปรึกษา ช่วยลูกค้าตรวจสุขภาพองค์กร พร้อมแนะแนวทางการปรับตัวสู่ธุรกิจที่ยั่งยืน รองรับด้วยเงินทุนสนับสนุนภายใต้เป้าหมาย Transition Finance มูลค่า 2 หมี่นล้านบาทภายใน 2 ปี พร้อมกับการเชื่อมลูกค้าของ CIMB Group ในอาเซีนน
นายวุธว์ กล่าวว่า แนวโน้มผลการดำเนินงานของ CIMBT ในช่วงครึ่งปีหลังของปี 68 ยังมีความเสี่ยงจากปัจจัยด้านเศรษฐกิจทั้งในและต่างประเทศ และผลกระทบจากนโยบายภาษีของทรัมป์ ซึ่งทำให้ธนาคารยังมีความระมัดระวังในการปล่อยสินเชื่อ ประกอบกับลูกค้ายังคงรอติดตามสถานการณ์ของปัจจัยต่างๆ ทำให้คาดว่าสินเชื่อรวมในปี 68 จะทรงตัว จากเป้าที่ตั้งไว้เติบโต 5% ซึ่งในครึ่งปีแรกสินเชื่อรวมของธนาคารติดลบ 2% โดยที่สินเชื่อรายย่อยเติบโตเพียงเล็กน้อย แต่สินเชื่อลูกค้าธุรกิจรายใหญ่หดตัวลงค่อนข้างมาก
ด้านการควบคุมคุณสินทรัพย์ของ CIMBT ยังคงตั้งเป้าคุมสัดส่วนหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) ไม่เกิน 2.6% ซึ่งเป็นไปตามเป้าหมาย หลังจากตัดขาย NPL ออกไป 1 ครั้งในครึ่งปีแรก แต่ธนาคารก็มีการตั้งสำรองฯเพิ่มขึ้นในครึ่งปีแรก เนื่องจากมองเห็นความเสี่ยงมากขึ้นในครึ่งปีหลัง จึงต้องการเตรียมความพร้อมรับมือไว้ ส่วนการตั้งสำรองฯในครึ่งปีหลังก็ยังติดตามปัจจัยต่างๆ ก่อน
ทั้งนี้ ตัววัดความสำเร็จที่ชัดเจนที่สุดคือ คะแนนความพึงพอใจจากลูกค้า (NPS Score) ที่ผ่านมาเราได้รับการจัดอันดับในระดับต้นๆ ของอุตสาหกรรม และจะเดินหน้าพัฒนาต่อไปเพื่อรักษาอันดับ Top 3 และจะต่อยอดธุรกิจสู่ความเป็นผู้นำอาเซียน
นายวุธว์ กล่าวว่า หุ้น CIMBT ที่ถูกตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยขึ้นเครื่องหมาย SP เพราะมีสัดส่วนผู้ถือหุ้นรายย่อยต่ำกว่าเกณฑ์นั้น ธนาคารได้รับทราบปัญหาและได้หารือกับผู้ถือหุ้นรายใหญ่ แต่ก็ยังไม่มีแผนลดสัดส่วนการถือหุ้นลง และเนื่องจากข้อกำหนดทางกฎหมายเกี่ยวกับการถือหุ้นของต่างชาติก็ไม่สามารถเพิ่มสัดส่วนการถือหุ้นและไม่สามารถทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์ (Tender Offer) ได้
ดังนั้น จึงเป็นไปได้อย่างสูงว่า CIMBT จะไม่สามารถแก้ไขคุณสมบัติการมี Free Float ให้ครบถ้วนได้ และส่งผลให้ถูกขึ้นเครื่องหมาย SP ซึ่งหากไม่สามารถแก้ไข Free Float ได้ใน 1 ปี หรือภายในเดือนมิ.ย. 69 ตลาดหลักทรัพย์ฯ อาจใช้ดุลยพินิจเพิกถอนหุ้น ซึ่งจะส่งผลให้การซื้อขายหุ้นของธนาคารจะทำได้ด้วยวิธีการชำระราคาและส่งมอบหลักทรัพย์นอกตลาดหลักทรัพย์ฯ (Over-the-Counter Trading: OTC) เท่านั้น โดยผู้ถือหุ้นยังคงมีสถานะเป็นผู้ถือหุ้นของธนาคาร และยังคงได้รับสิทธิในฐานะของผู้ถือหุ้น เช่น การรับเงินปันผล เป็นต้น
โดย สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (22 ก.ค. 68)