สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (20 ก.ค. 64)
นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้อยู่ที่ 32.82 บาท/ดอลลาร์ ใกล้เคียงจากเปิด ตลาดเมื่อเช้าที่ระดับ 32.81/86 บาท/ดอลลาร์ วันนี้ตลาดยังไม่มีปัจจัยชี้นำใหม่ ทั้งในประเทศและต่างประเทศยังกังวลสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 โดยเฉพาะ การพบผู้ติดเชื้อสายพันธุ์เดลตาเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว จึงอาจส่งผลให้เศรษฐกิจโลกฟื้นตัวช้าลง ระหว่างวันเงินบาทเคลื่อนไหวในกรอบ 32.78 - 32.86 บาท/ดอลลาร์ "วันนี้เงินบาทเคลื่อนไหวไม่กว้างมาก และเงินบาทปรับตัวแข็งค่าเมื่อเทียบกับเมื่อวาน แม้ว่าตลาดหุ้นของทั้งไทยและต่าง ประเทศจะปรับตัวลง ส่วนสกุลยูโรปรับตัวลงในช่วง 2-3 วันนี้ เนื่องจากตลาดรอดูผลการประชุมของธนาคารกลางยุโรป (ECB) ใน ค่ำวันพฤหัสบดีนี้" นักบริหารเงิน กล่าว นักบริหารเงิน ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในวันพรุ่งนี้ไว้ที่ 32.75 - 32.90 บาท/ดอลลาร์ * ปัจจัยสำคัญ - เงินเยนอยู่ที่ระดับ 109.42 เยน/ดอลลาร์ จากเมื่อเช้าที่ระดับ 109.29/71 เยน/ดอลลาร์ - เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.1799 ดอลลาร์/ยูโร จากเมื่อเช้าที่ระดับ 1.1784/1805 ดอลลาร์/ยูโร - ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,538.86 จุด ลดลง 17.15 จุด, -1.10% มูลค่าการซื้อขาย 92,956.58 ล้านบาท - สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติขายสุทธิ 885.64 ล้านบาท(SET+MAI) - ครม.อนุมัติกรอบวงเงินโครงการเยียวยานายจ้างและผู้ประกันตน มาตรา 33 ในกิจการที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการ ของรัฐในพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด และพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ตามที่กระทรวงแรงงานเสนอรวมทั้งสิ้น 10 จังหวัด สำหรับกิจการ ที่ได้รับผลกระทบ 9 สาขา จากเดิมที่ได้เห็นชอบไปแล้ว 2,519 ล้านบาท เพิ่มเป็น 13,504 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 10,985 ล้านบาท ส่วนอีก 3 จังหวัดที่ ศบค.ได้ประกาศเพิ่มเติม ได้แก่ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี และพระนครศรีอยุธยานั้น ได้เห็นชอบให้ขยายพื้นที่เยียว ยาผู้ประกอบการและลูกจ้างที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการโควิดเพิ่มเติม และจะนำกรอบวงเงินที่เพิ่มขึ้นนำเสนอ ครม.เพื่อพิจารณาต่อไป - ครม.รับทราบแผนจัดหาวัคซีนโควิด-19 เพื่อฉีดบริการให้กับประชาชน โดยเป็นวัคซีนครบทุกเทคโนโลยีที่มีการผลิตแล้วใช้ งานอยู่ในปัจจุบัน - ครม.ปรับโครงการ "ยิ่งใช้ยิ่งได้" โดยขยายระยะเวลาการใช้จ่ายเพื่อซื้อสินค้าหรือรับบริการที่ได้รับการสนับสนุน e- Voucher จากเดิมระหว่างวันที่ 1 ก.ค. ถึงวันที่ 30 ก.ย.64 เป็นตั้งแต่วันที่ 1 ก.ค.ถึงวันที่ 30 พ.ย.64 และเพิ่มวงเงินใช้จ่ายสูงสุด ที่จะนำมาคำนวณสิทธิ ไม่เกิน 10,000 บาท/คน/วัน ตั้งแต่วันที่ 15 ก.ค.จนถึงวันที่ 30 พ.ย.64 แต่ยังจำกัดวงเงินใช้จ่ายสูงสุดที่จะนำ มาคำนวณสิทธิ e-Voucher ไม่เกิน 60,000 บาทต่อคน พร้อมทั้งปรับลดจำนวนกลุ่มเป้าหมายของโครงการฯ จากเดิมที่ไม่เกิน 4 ล้าน คน มาเป็นไม่เกิน 1.4 ล้านคน ทำให้กรอบวงเงินโครงการฯ ลดลงจาก 28,000 ล้านบาท เป็น 9,800 ล้านบาท หรือลดลงประมาณ 18,200 ล้านบาท - บริษัท ไฟเซอร์ (ประเทศไทย) จำกัด และไบออนเทค ประกาศลงนามสัญญาร่วมกับกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณ สุข ในการจัดส่งวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 จำนวน 20 ล้านโดสสำหรับปี 64 ให้กับประเทศไทย โดยมีแผนกำหนดการส่งมอบในไตรมาส 4 ของปีนี้ - กระทรวงการคลังจีน เผยรายได้ด้านการคลังของจีนในช่วงครึ่งแรกของปี 2564 ปรับตัวเพิ่มขึ้น 21.8% เมื่อเทียบเป็น รายปี แตะที่ 11.7 ล้านล้านหยวน (ประมาณ 1.8 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ) และเพิ่มขึ้น 8.6% เมื่อเทียบกับช่วงก่อนการแพร่ระบาดของ โรคโควิด-19 ในปี 62 - ธนาคารกลางจีน (PBOC) ประกาศคงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลูกค้าชั้นดี (LPR) ประเภท 1 ปี ไว้ที่ระดับ 3.85% และคง อัตราดอกเบี้ย LPR ประเภท 5 ปี ไว้ที่ระดับ 4.65% ในวันนี้ โดยธนาคารกลางจีนได้ตรึงอัตราดอกเบี้ยทั้งสองประเภทติดต่อกันเป็นเดือน ที่ 15 - ธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชีย (ADB) ปรับลดคาดการณ์การขยายตัวทางเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาในเอเชียใน ปี 2564 ลงสู่ระดับ 7.2% จากคาดการณ์เดิมที่ระดับ 7.3% เนื่องจากการแพร่ระบาดรอบใหม่ของไวรัสโควิด-19 ส่งผลให้การฟื้นตัวทาง เศรษฐกิจเป็นไปอย่างเชื่องช้า