ภาวะตลาดเงินบาท: ปิด 35.39 แข็งค่ากว่าภูมิภาคจากเงินไหลเข้าตลาดพันธบัตร ติดตามกนง.-เงินเฟ้อสหรัฐพรุ่งนี้

          นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้อยู่ที่ 35.39 บาท/ดอลลาร์ ปรับตัวแข็งค่าต่อ
เนื่องจากเปิดตลาดเมื่อเช้าอยู่ที่ระดับ 35.44 บาท/ดอลลาร์ หลังดอลลาร์อ่อนค่าเนื่องจากตลาดกังวลเรื่องภาวะเศรษฐกิจสหรัฐถดถอย 
และทิศทางการปรับตัวเบี้ยขาขึ้นของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ประกอบกับมีเงินทุนต่างประเทศไหลเข้ามาในตลาดพันธบัตรระยะสั้น โดย
ระหว่างวันเงินบาทเคลื่อนไหวในกรอบระหว่าง 35.37 - 35.55 บาท/ดอลลาร์
          "บาทปรับตัวแข็งค่าต่อเนื่องวันละกว่า 10 สตางค์ และวันนี้แข็งค่ามากสุดในภูมิภาค โดยลงมาอยู่ระดับแข็งค่าสุดในเดือน ก.
ค.65 จากที่เคยปรับตัวอ่อนค่าขึ้นไปก่อนหน้านี้" นักบริหารเงิน กล่าว
          นักบริหารเงิน ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในวันพรุ่งนี้ไว้ที่ 35.30 - 35.50 บาท/ดอลลาร์ โดยช่วงบ่ายจะมี
การประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ซึ่งตลาดคาดว่าจะมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.25% ส่วนช่วงค่ำจะมีการประกาศตัว
เลขเงินเฟ้อเดือน ก.ค.65 ของสหรัฐ ซึ่งตลาดคาดว่าจะชะลอตัวลดลงจากเดือน มิ.ย.ที่เพิ่มขึ้น 9.1%

          * ปัจจัยสำคัญ

          - เงินเยนอยู่ที่ระดับ 134.87 เยน/ดอลลาร์ จากเมื่อเช้าที่ระดับ 134.70 เยน/ดอลลาร์
          - เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.0235 ดอลลาร์/ยูโร จากเมื่อเช้าที่ระดับ 1.0189 ดอลลาร์/ยูโร
          - ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,618.80 จุด เพิ่มขึ้น 9.93 จุด, +0.62% มูลค่าการซื้อขาย 57,673.66 ล้านบาท
          - สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติซื้อสุทธิ 3,259.19 ล้านบาท (SET+MAI)
          - ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจฯ คาด กนง.จะมีมติปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีก 0.25% เนื่องจากเงินเฟ้อล่าสุด
เดือน ก.ค.ยังอยู่ในระดับสูงที่ 7.6% โดยทั้งปีคาดว่าจะเฉลี่ยอยู่ที่ 6-6.5% ซึ่งสูงกว่ากรอบเป้าหมายเงินเฟ้อของธนาคารแห่งประเทศ
ไทย (ธปท.) ที่ตั้งไว้ที่ 1-3% อยู่มาก
          - ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสำนักวิจัย และที่ปรึกษาการลงทุน ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย (CIMBT) เชื่อว่าคณะ
กรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) รอบนี้ (10 ส.ค.) จะขึ้นดอกเบี้ยอีก 0.25% แต่เสียงแตก โดยมติจะไม่เป็นเอกฉันท์ คาดว่า กนง.
เสียงข้างมากน่าจะให้น้ำหนักความเสี่ยงในการฟื้นตัวและการกระจายตัวของเศรษฐกิจไทย จึงปรับขึ้นดอกเบี้ย 0.25% เท่านั้น และน่าจะมี
เสียงข้างน้อย 3 เสียงเช่นเดิมที่สนับสนุนการขึ้นดอกเบี้ยที่ 0.50%
          - ครม.รับทราบความคืบหน้าการเบิกจ่ายงบประมาณและค่าใช้จ่ายภาครัฐประจำปีงบประมาณ 2565 ไปแล้ว 2,464,723 
ล้านบาท จากแผนการใช้จ่ายรวม 4,060,682 ล้านบาท คิดเป็น 60.70%
          - ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจฯ หนุนปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำอีก 5-8% ที่จะเริ่มตั้งแต่ปี 66 ซึ่งจะทำให้มีเม็ดเงินเพิ่มเข้าไป
ในระบบเศรษฐกิจอีกเดือนละ 1,500-2,400 ล้านบาท/เดือน หรือคิดเป็นเพิ่มขึ้นปีละ 2-3 หมื่นล้านบาท ช่วยผลักดันให้ GDP ในปี 66 
ขยายตัวขึ้นอีก 0.1-0.2%
          - มูดี้ส์ อินเวสเตอร์ เซอร์วิส และฟิทช์ เรทติ้งส์คาดการณ์ว่า ร่างกฎหมายว่าด้วยการปรับลดเงินเฟ้อ (Inflation 
Reduction Act) ที่เพิ่งผ่านความเห็นชอบจากวุฒิสภาสหรัฐเมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา (7 ส.ค.) ซึ่งมีเป้าหมายที่จะต่อสู้กับภาวะโลกร้อน, 
ปรับลดราคายา และปรับขึ้นภาษีเงินได้นิติบุคคลบางประเภทนั้น จะทำให้อัตราเงินเฟ้อของสหรัฐปรับตัวลงในระยะกลางจนถึงระยะยาว 
และจะช่วยลดการขาดดุลของสหรัฐด้วย
          - มหาเศรษฐีนักลงทุนด้านคริปโทเคอร์เรนซี และผู้บริหารบริษัทกาแล็กซี ดิจิทัล โฮลดิงส์คาดการณ์ว่า ราคาบิตคอยน์จะยังคง
เคลื่อนไหวในกรอบแคบ ๆ และอาจจะยังไม่สามารถพุ่งขึ้นทะลุระดับ 30,000 ดอลลาร์ได้ในระยะใกล้นี้ และยังระบุด้วยว่า นักลงทุน
สถาบันไม่ได้เข้ามาลงทุนในตลาดคริปโทเคอร์เรนซีอย่างมีนัยสำคัญ
          - หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ประจำภูมิภาคเอเชียของธนาคารเอชเอสบีซี (HSBC) คาดการณ์ว่า กลุ่มผู้ส่งออกของเอเชียจะ
เผชิญกับความท้าทายครั้งใหญ่ เนื่องจากอุปสงค์จากตลาดหลัก ๆ เช่น สหรัฐ ยุโรป และจีนมีแนวโน้มชะลอตัวลงในช่วงหลายเดือนข้างหน้า