ภาวะตลาดเงินบาท: ปิด 32.82/84 ทรงตัวจากช่วงเช้า เกาะติดผลประชุมเฟด-ตัวเลขศก.สหรัฐ

          นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงเทพ เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้อยู่ที่ระดับ 32.82/84 บาท/ดอลลาร์ ใกล้เคียงจาก
เปิดตลาดที่ระดับ 32.86 บาท/ดอลลาร์ โดยระหว่างวันเงินบาทเคลื่อนไหวในกรอบ 32.80 - 32.95 บาท/ดอลลาร์
          วันนี้เงินบาทไม่ค่อยมีการเคลื่อนไหว ด้านสกุลเงินในภูมิภาคอ่อนค่าลงเล็กน้อย เนื่องจากตลาดรอดูผลการประชุมธนาคาร
กลางสหรัฐฯ (FOMC) ซึ่งจะทราบผลในวันพรุ่งนี้
          ส่วนคืนนี้รอติดตามตัวเลขจากทางสหรัฐฯ ทั้งดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) และตัวเลขการเปิดรับสมัครงานและอัตราการ
หมุนเวียนของแรงงาน (JOLTS)
          นักบริหารเงิน คาดว่า พรุ่งนี้เงินบาทจะเคลื่อนไหวในกรอบ 32.70 - 33.00 บาท/ดอลลาร์

         * ปัจจัยสำคัญ

          - เงินเยนอยู่ที่ระดับ 129.87 เยน/ดอลลาร์ จากช่วงเช้าที่ระดับ 129.96 เยน/ดอลลาร์
          - เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.0885 ดอลลาร์/ยูโร จากช่วงเช้าที่ระดับ 1.0861 ดอลลาร์/ยูโร
          - ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,685.75 จุด เพิ่มขึ้น 14.29 จุด (+0.85%) โดยมีมูลค่าการซื้อขาย 63,791 ล้านบาท
          - สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติขายสุทธิ 137.13 ลบ. (SET+MAI)
          - คณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) มองว่า เศรษฐกิจไทยมีแรงสนับสนุนจากภาคการท่องเที่ยว แต่มีความ
เสี่ยงจากภาคการส่งออก โดยจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติในปีนี้อาจมากกว่า 22.5 ล้านคนที่ประเมินไว้เดิม จากนักท่องเที่ยวกลุ่มยุโรป 
และสหรัฐฯ มีแนวโน้มฟื้นตัวได้ดีกว่าคาด ขณะที่นักท่องเที่ยวจีน จะปรับตัวดีขึ้นอย่างชัดเจนในไตรมาสที่ 2
          อย่างไรก็ดี กกร. ยังมีความเป็นห่วงเรื่องต้นทุนการผลิตที่ยังทรงตัวในระดับสูง โดยเฉพาะค่าไฟฟ้า รวมทั้งแนวโน้มการปรับ
ขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอย่างต่อเนื่อง ท่ามกลางสถานการณ์เงินบาทแข็งค่า ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อขีดความสามารถการแข่งขันของผู้
ประกอบการ รวมถึงการส่งผ่านต้นทุนไปยังผู้บริโภค ผ่านราคาสินค้าและบริการที่เพิ่มขึ้น
          - สภาทองคำโลก (WGC) เปิดเผยว่า ธนาคารกลางทั่วโลกซื้อทองคำเป็นทุนสำรองในปี 2565 รวมกันมากถึง 1,136 ตัน 
คิดเป็นมูลค่า 7 หมื่นล้านดอลลาร์ ซึ่งถือเป็นมูลค่าสูงที่สุดนับตั้งแต่ปี 2510
          - ธนาคารกลางยุโรป (ECB) ส่อเค้าปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกครั้งในวันพฤหัสบดี (2 ก.พ.) โดยเจ้าหน้าที่กำหนดนโยบาย
หันมาให้ความสนใจอัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน แทนที่อัตราเงินเฟ้อทั่วไป