ภาวะตลาดเงินบาท: เย็นนี้ 32.47 คาดแนวโน้มพรุ่งนี้แกว่งผันผวน ลุ้นศาลรธน.รับ-ไม่รับคำร้องถอดถอนนายกฯ

          นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทเย็นนี้อยู่ที่ระดับ 32.47 บาท/ดอลลาร์ แข็งค่าจากเปิดตลาด
เมื่อเช้าอยู่ที่ระดับ 32.65 บาท/ดอลลาร์ โดยระหว่างวันเงินบาทเคลื่อนไหวในกรอบ 32.45 - 32.65 บาท/ดอลลาร์ 
          เย็นนี้เงินบาทแข็งค่า ขณะที่สกุลเงินไต้หวันและดอลลาร์อ่อนค่าไปมาก โดยเงินบาทยังขาดปัจจัยชี้นำใหม่ เคลื่อนไหวตามทิศ
ทางราคาทองคำในตลาดโลก ประกอบกับวันนี้นักลงทุนต่างชาติขายพันธบัตรไทย 3,700 ล้านบาท
          "วันนี้ยังเป็นช่วงสิ้นไตรมาส และปิดครึ่งปี แรงซื้อดอลลาร์จากกลุ่มผู้นำเข้าน่าจะดำเนินการไปหมดแล้ว เลยทำให้บาทแข็งค่า
กลับลงมา" นักบริหารเงิน ระบุ
          สำหรับคืนนี้ยังไม่มีตัวเลขเศรษฐกิจสำคัญ ตลาดรอดูประเด็นการเมืองในประเทศพรุ่งนี้ว่า ศาลรัฐธรรมนูญจะรับคำร้องถอด
ถอนนายกรัฐมนตรีไว้พิจารณาวินิจฉัยหรือไม่ โดยถ้ามีคำสั่งให้หยุดปฏิบัติหน้าที่ จะมีรองนายกฯ ขึ้นมารักษาการแทน ในกรณีนี้มองว่า เงิน
บาทระหว่างวันอาจจะผันผวน แต่ยังมีผลต่อค่าเงินบาทจำกัด เมื่อเทียบกับตลาดหุ้น 
          นักบริหารเงิน ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทวันพรุ่งนี้ไว้ที่ 32.35 - 32.55 บาท/ดอลลาร์
          THAI BAHT SPOT RATE FIXING อยู่ที่ระดับ 32.4900 บาท/ดอลลาร์

          *  ปัจจัยสำคัญ
          - เงินเยน อยู่ที่ระดับ 144.15 เยน/ดอลลาร์ จากช่วงเช้าที่ระดับ 144.55 เยน/ดอลลาร์
          - เงินยูโร อยู่ที่ระดับ 1.1720 ดอลลาร์/ยูโร ทรงตัวในระดับเดียวกับช่วงเช้า
          - รมว.คลัง เป็นผู้นำคณะผู้แทนทีมไทยแลนด์ เดินทางไปยังกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. สหรัฐอเมริกา ภายในคืนนี้ (30 มิ.ย.) 
เพื่อเจรจามาตรการภาษีระหว่างไทยกับสหรัฐฯ อย่างเป็นทางการ
          - ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) เปิดเผยภาวะเศรษฐกิจการคลังประจำเดือนพ.ค. 68 ว่า สถานการณ์
เศรษฐกิจไทยในเดือนพ.ค. 68 ได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการส่งออกสินค้า ที่ขยายตัวในระดับสูงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 11 อย่างไรก็ดี 
จำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศชะลอตัวลง ขณะที่จำนวนผู้เยี่ยมเยือนชาวไทย ยังขยายตัวได้ต่อเนื่อง ทั้งนี้ ยังจำเป็นต้องติดตาม
สถานการณ์เศรษฐกิจทั้งภายใน และภายนอกประเทศ ที่จะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยในด้านต่าง ๆ อย่างใกล้ชิดต่อไป
          - ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายเศรษฐกิจมหภาค ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เผยเศรษฐกิจไทยในเดือนพ.ค. 68 ชะลอ
ลงเล็กน้อยจากเดือนก่อน จากการผลิตภาคอุตสาหกรรม และภาคบริการด้านการค้า การขนส่ง และการท่องเที่ยว โดยการผลิตภาค
อุตสาหกรรมลดลง เนื่องจากบางส่วนเร่งผลิตเพื่อเติมสินค้าคงคลังไปแล้วในเดือนก่อน ประกอบกับมีปัจจัยชั่วคราวจากการปิดซ่อมบำรุงโรง
กลั่นน้ำมัน
          - สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เผยดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) เดือน พ.ค. 68 อยู่ที่ 100.79 ขยาย
ตัว 1.88% จากเดือนเดียวกันของปีก่อน และขยายตัว 9.48% จากเดือน เม.ย. 68 โดยได้รับปัจจัยหนุนจากดัชนีการผลิตอุตสาหกรรม
ยานยนต์ที่กลับมาขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 จากยอดจองในงานมอเตอร์โชว์, การค้าระหว่างประเทศขยายตัวต่อเนื่อง, มาตรการ
กระตุ้นเศรษฐกิจภาครัฐ และการปรับลดอัตราดอกเบี้ย
          - KKP Research ปรับลดคาดการณ์ GDP ปี 68 เหลือ 1.6% จาก 1.7% และปี 69 เหลือ 1.5% โดยประเมินว่า 
เศรษฐกิจไทยจะไม่ได้รับประโยชน์จากการปรับตัวดีขึ้นของเศรษฐกิจโลกตามสถานการณ์สงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีนที่ปรับตัวดีขึ้น
มากนัก เนื่องจากเศรษฐกิจในประเทศยังคงเผชิญแรงกดดันหลายด้านทั้งปัจจัยเชิงโครงสร้างระยะยาว และปัจจัยลบในปี 68 ที่สำคัญคือ
การชะลอตัวของนักท่องเที่ยวต่างชาติ โดยเฉพาะจีน การผลิตภาคอุตสาหกรรมที่มีโอกาสกลับมาชะลอลงในช่วงครึ่งหลังของปี การบริโภค
ในประเทศที่ยังคงอ่อนแอตามสินเชื่อที่หดตัว ตลอดจนความไม่แน่นอนทางการเมืองที่รุนแรงขึ้น
          - รัฐบาลไต้หวันออกแถลงการณ์ระบุว่า การเจรจาการค้ารอบที่สองกับสหรัฐฯ มีความคืบหน้าอย่างสร้างสรรค์ พร้อมกับย้ำว่า
การลงทุนระหว่างสองประเทศจะส่งเสริมความเจริญรุ่งเรื่องและการพัฒนาสำหรับทั้งสองฝ่าย
          - ธนาคารเพื่อการชำระหนี้ระหว่างประเทศ (BIS) เปิดเผยรายงานประเมินภาวะเศรษฐกิจโลกครั้งล่าสุดในวันอาทิตย์ 
(29 มิ.ย.) ว่า สถานการณ์ตึงเครียดด้านการค้าและภูมิรัฐศาสตร์นั้น มีความเสี่ยงที่จะทำให้ระบบการเงินโลกเผชิญกับความไม่สอดคล้อง
กันในระดับที่ลึกขึ้น