ภาวะตลาดเงินบาท: ปิด 32.41 ระหว่างวันผันผวน คาดกรอบพรุ่งนี้ 32.30-32.55

          นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้อยู่ที่ 32.41 บาท/ดอลลาร์ แข็งค่าเล็กน้อยจาก
เปิดตลาดเมื่อเช้าที่ระดับ 32.42 บาท/ดอลลาร์ เนื่องจากดอลลาร์อ่อนค่าเมื่อเทียบกับทุกสกุลเงิน โดยระหว่างวันเงินบาทเคลื่อนไหวใน
ช่วง 32.40 - 32.62 บาท/ดอลลาร์ วันนี้ต่างชาติขายพันธบัตร 3,419 ล้านบาท
          "ทิศทางบาทวันนี้ผันผวน หลังมีคำสั่งศาลรัฐธรรมนูญปรับตัวไปแตะระดับอ่อนค่าสุดของวัน ก่อนที่จะกลับมาแข็งค่าตามภูมิภาคใน
ช่วงท้ายตลาด" นักบริหารเงิน กล่าว
          นักบริหารเงิน ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในวันพรุ่งนี้ไว้ที่ 32.30 - 32.55 บาท/ดอลลาร์

          *  ปัจจัยสำคัญ
          - เงินเยน อยู่ที่ระดับ 142.84 เยน/ดอลลาร์ จากเมื่อเช้าที่ระดับ 143.66 เยน/ดอลลาร์
          - เงินยูโร อยู่ที่ระดับ 1.1820 ดอลลาร์/ยูโร จากเมื่อเช้าที่ระดับ 1.1793 ดอลลาร์/ยูโร
          - ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ 1,110.01 จุด เพิ่มขึ้น 20.45 จุด (+1.88%) มูลค่าซื้อขาย 41,714.05 ล้านบาท
          - สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติขายสุทธิ 773.65 ล้านบาท
          - ศาลรัฐธรรมนูญมีมติเป็นเอกฉันท์รับพิจารณาคำร้องของ 36 สว.ที่ยื่นถอดถอด น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี 
ออกจากตำแหน่ง และมีมติ 7:2 ให้หยุดปฏิบัติหน้าที่ทันที
          - กลุ่มรวมพลังแผ่นดิน ปกป้องอธิปไตย เตรียมนัดชุมนุมใหญ่อีกครั้งเพื่อขับไล่นายกรัฐมนตรีและรัฐบาลในช่วงกลางเดือน ส.
ค.68
          - ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เผยดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจในเดือน มิ.ย.68 ปรับเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 48.6 
จาก 46.7 แต่หากพิจารณาโดยรวมทั้งไตรมาส 2/2568 ความเชื่อมั่นปรับลดลงจากภาคที่มิใช่การผลิตเป็นสำคัญ นำโดยกลุ่มโรงแรมและ
ร้านอาหาร ที่ความเชื่อมั่นด้านปริมาณการให้บริการและคำสั่งซื้อปรับลดลงมาก ตามจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติโดยเฉพาะสัญชาติจีนที่ลดลง
มากจากความกังวลด้านความปลอดภัย (safety concern)
          - ธนาคารกรุงเทพ (BBL) หั่นคาดการณ์เศรษฐกิจไทย (GDP) ปี 68 ลงมาเหลือเติบโต 2% แบบมี Downside ที่จะเติบ
โตได้ต่ำกว่านั้น หากเกิดกรณี worst case อาจเติบโตต่ำเหลือแค่ 1.5% ซึ่งต้องรอดติดตามว่าสถานการณ์ต่าง ๆ จะคลี่คลายอย่างไร 
โดยเฉพาะการเจรจาการค้าของสหรัฐที่สร้างความผันผวนตั้งแต่ต้นปี
          - ผู้บริหารสำนักวิจัย ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย คงคาดการณ์ GDP ปี 68 ไว้ที่ 1.8% แม้ธนาคารแห่งประเทศไทย 
(ธปท.) จะปรับการคาดการณ์ไปสู่ระดับ 2.3% จาก 2.0% จากแรงส่งที่แรงกว่าคาดของ GDP ไตรมาส 1/68 ที่ขยายตัวถึง 3.1% และ
ส่งออกที่เติบโตได้ดี
          - ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ เดินหน้ากดดันธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ให้ผ่อนคลายนโยบายการเงิน โดยได้ส่งรายการ
อัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางทั่วโลกให้กับเจอโรม พาวเวล ประธานเฟด พร้อมเขียนข้อความด้วยลายมือตนเองกำกับไว้ว่า อัตรา
ดอกเบี้ยของสหรัฐฯ ควรจะอยู่ระหว่าง 0.5% ของญี่ปุ่น และ 1.75% ของเดนมาร์ก
          - ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) เปิดเผยผลการทดสอบภาวะวิกฤต (Stress Test) ประจำปีของภาคธนาคาร โดยระบุ
ว่า ธนาคารรายใหญ่ของสหรัฐฯ ทั้ง 22 แห่งสามารถผ่านการทดสอบดังกล่าว เนื่องจากธนาคารเหล่าอยู่ในสถานะที่ดีที่จะสามารถรับมือกับ
ภาวะเศรษฐกิจถดถอยรุนแรงและยังคงสามารถปล่อยเงินกู้ต่อไปได้ โดยที่ธนาคารยังคงรักษาระดับเงินทุนที่แข็งแกร่งแม้จะประสบปัญหาการ
ขาดทุนหลายแสนล้านดอลลาร์ก็ตาม
          - ประธานธนาคารกลางยุโรป (ECB) ระบุความไม่แน่นอนยังคงเป็นลักษณะสำคัญของเศรษฐกิจโลกต่อไป ซึ่งมีแนวโน้มจะทำ
ให้เงินเฟ้อมีความผันผวนมากขึ้น และจำเป็นที่ ECB จะต้องดำเนินมาตรการที่เข้มแข็งยิ่งขึ้นเพื่อรักษาระดับราคาให้อยู่ใกล้เคียงเป้าหมาย
          - สมาชิกพรรครีพับลิกันในวุฒิสภาสหรัฐฯ ยังคงพยายามที่จะผ่านร่างกฎหมายปรับลดภาษีและการใช้จ่ายขนานใหญ่ของ
ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ในช่วงเช้าวันนี้ (1 ก.ค.) แม้สมาชิกในพรรคจะมีความคิดเห็นที่แตกต่างในประเด็นที่ว่าร่างกฎหมายฉบับนี้จะ
ส่งผลให้หนี้สาธารณะของสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นอีก 3.3 ล้านล้านดอลลาร์