สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (09 ก.ค. 68)
นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้อยู่ที่ระดับ 32.69 บาท/ดอลลาร์ ปรับตัวอ่อนค่า จากเปิดตลาดเมื่อเช้าที่ระดับ 32.58 บาท/ดอลลาร์ วันนี้เงินบาทเคลื่อนไหวตามทิศทางเดียวกับค่าเงินในภูมิภาค เนื่องจากตลาดมีความกังวลเกี่ยวกับผลกระทบจากภาษีทรัมป์ และสถานการณ์ราคาทองในตลาดโลก ระหว่างวันเงินบาทเคลื่อนไหวในกรอบ 32.58 - 32.72 บาท/ดอลลาร์ "วันนี้ บาทปรับตัวอ่อนค่าสุดในภูมิภาค จากความกังวลเรื่องภาษีทรัมป์ และทิศทางราคาทองคำในตลาดโลก" นักบริหาร เงินฯ กล่าว โดยปัจจัยที่ตลาดจับตาดูในช่วงนี้ เป็นเรื่องความคืบหน้าการเจรจาต่อรองภาษีการค้าระหว่างสหรัฐฯ กับประเทศต่าง ๆ นักบริหารเงิน ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในวันศุกร์ไว้ที่ 32.50 - 32.80 บาท/ดอลลาร์ * ปัจจัยสำคัญ - เงินเยน อยู่ที่ระดับ 146.62 เยน/ดอลลาร์ จากเมื่อเช้าที่ระดับ 146.87 เยน/ดอลลาร์ - เงินยูโร อยู่ที่ระดับ 1.1710 ดอลลาร์/ยูโร จากเมื่อเช้าที่ระดับ 1.1719 ดอลลาร์/ยูโร - ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ 1,110.40 จุด ลดลง 5.25 จุด (-0.47%) มูลค่าซื้อขาย 27,165.01 ล้านบาท - สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติขายสุทธิ 15.08 ล้านบาท - ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) คาดอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (GDP) ของไทยในครึ่งปีหลังจะชะลอตัวลงเหลือ เพียง 1.6% จากที่ครึ่งปีแรกขยายตัวได้ดี เนื่องจากได้รับผลกระทบจากมาตรการภาษีการค้าของสหรัฐ ทำให้ GDP ในช่วงต่อจากนี้ขยาย ตัวต่ำกว่า 2% ไปอีกอย่างน้อยปีครึ่ง โดยประเมินการส่งออกในช่วงครึ่งหลังของปีนี้จะหดตัว 4% และปีหน้าจะหดตัวต่อเนื่องอีก 2% - ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ชี้ผลกระทบจากมาตรการภาษีของสหรัฐฯ ต่อเศรษฐกิจไทยจะไม่รุนแรงเท่าช่วงวิกฤต การเงินโลก หรือช่วงวิกฤตโควิด-19 เนื่องจากมีมิติของระยะเวลาความรุนแรงแตกต่างกัน โดยนโยบายภาษีสินค้านำเข้า (Reciprocal Tariffs) ของสหรัฐฯ จะมีนัยระยะยาวต่อเศรษฐกิจค่อนข้างมาก - ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ ม.หอการค้าไทย เผยดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคเดือน มิ.ย.68 อยู่ที่ระดับ 52.7 ลด ลงจากระดับ 54.2 ในเดือน พ.ค.68 โดยปรับตัวลดลงในทุกรายการ ลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 5 และอยู่ในระดับที่ต่ำสุดในรอบ 28 เดือนนับตั้งแต่เดือน มี.ค.66 เนื่องจากปัญหาเสถียรภาพทางการเมือง และสงครามการค้า - สภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สรท.) หรือ สภาผู้ส่งออก จี้ทีมไทยแลนด์เจรจาต่อรองภาษีศุลกากรตอบโต้ (Reciprocal Tariff) กับสหรัฐฯ ให้ได้ข้อยุติถูกเรียกเก็บภาษีในอัตราต่ำกว่า 20% เท่าคู่แข่ง ภายในวันที่ 1 ส.ค.68 - ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมิน GDP ไทยในปี 2568 เสี่ยงโตต่ำกว่า 1.4% หากเผชิญอัตราภาษีนำเข้าสูงกว่าหลาย ประเทศ ซึ่งกระทบต่อการส่งออกให้หดตัวลึกขึ้น และทำให้การลงทุนจากต่างชาติชะลอตามด้วยการลงทุนเอกชนหดตัวมากขึ้น ขณะที่ยังมี ปัจจัยอื่น ๆ ที่เป็นความเสี่ยงของเศรษฐกิจไทยในช่วงที่เหลือของปี 68 โดยเฉพาะจำนวนนักท่องเที่ยวที่มีแนวโน้มต่ำกว่าที่ประเมิน เนื่อง จากปัจจัยลบที่เข้ามากดดันเพิ่มขึ้น อาทิ สถานการณ์ในตะวันออกกลาง และสถานการณ์ไทย-กัมพูชา - ที่ประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการค้าและการพัฒนา (UNCTAD) เผยมูลค่าการค้าโลกในช่วงครึ่งแรกของปี 2568 ปรับตัว ขึ้น 3 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเป็นการขยายตัวในอัตราที่ช้าลง - สหรัฐฯ เตรียมมาตรการคว่ำบาตรรัสเซียอย่างรุนแรงรอบใหม่ ขณะที่สำนักงานอัยการสูงสุดของรัสเซียได้ประกาศให้มหา วิทยาลัยเยลของสหรัฐฯ เป็นองค์กรไม่พึงปรารถนา - คืนนี้ สหรัฐฯ จะมีการรายงานการประชุมคณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐ (FOMC) ช่วงวัน ที่ 17-18 มิ.ย.68 และรายงานสต็อกสินค้าคงคลังภาคค้าส่ง เดือนพ.ค.