ภาวะตลาดเงินบาท: เปิด 32.59 แนวโน้มอ่อนค่า ท่ามกลางความไม่แน่นอนภาษีสหรัฐฯ-การเมืองในปท.

          นายพูน พานิชพิบูลย์ นักกลยุทธ์ตลาดเงินตลาดทุน Krungthai GLOBAL MARKETS ธนาคารกรุงไทย เปิดเผยว่า ค่าเงิน
บาทเปิดเช้านี้ที่ระดับ 32.59 บาท/ดอลลาร์ แข็งค่าจากปิดเมื่อวันพุธที่ระดับ 32.69 บาท/ดอลลาร์
          โดยตั้งแต่วันพุธ รวมถึงช่วงวันหยุดของตลาดการเงินไทย เงินบาท (USDTHB) โดยรวมเคลื่อนไหวในกรอบ Sideways
          สำหรับแนวโน้มของค่าเงินบาท ยังมีความเสี่ยงเผชิญแรงกดดันฝั่งอ่อนค่าได้ในช่วงนี้ ท่ามกลางความไม่แน่นอนของการดำเนิน
นโยบายการค้าของสหรัฐฯ ซึ่งเป็นปัจจัยที่ช่วยหนุนเงินดอลลาร์ 
          โดยการอ่อนค่าของเงินบาทอาจมีลักษณะค่อยเป็นค่อยไป หลังราคาทองคำก็ทยอยปรับตัวสูงขึ้น ท่ามกลางความไม่แน่นอนของ
การดำเนินนโยบายการค้าของสหรัฐฯ ซึ่งการปรับตัวขึ้นของราคาทองคำดังกล่าวก็อาจพอช่วยชะลอการอ่อนค่าของเงินบาทได้บ้าง 
          "ความผันผวนของเงินบาทที่อาจกลับมาสูงขึ้นได้ ท่ามกลางความไม่แน่นอนของการดำเนินนโยบายการค้าของสหรัฐฯ และ
สถานการณ์การเมืองไทย" นายพูน ระบุ
          นายพูน คาดกรอบเงินบาทวันนี้ จะอยู่ที่ระดับ 32.55-32.75 บาท/ดอลลาร์ 
          คืนนี้ ตลาดจะรอติดตามพัฒนาการของการเจรจาการค้าระหว่างสหรัฐฯ กับบรรดาประเทศคู่ค้า ส่วนในฝั่งยุโรป ตลาดจะรอ
ลุ้นรายงานยอดผลผลิตอุตสาหกรรม ของอังกฤษ เดือนพ.ค. เพื่อประกอบการประเมินแนวโน้มเศรษฐกิจอังกฤษและประเมินผลกระทบ
จากนโยบายการค้าของสหรัฐฯ
          SPOT ล่าสุด อยู่ที่ระดับ 32.5650 บาท/ดอลลาร์ 

          * ปัจจัยสำคัญ
          - เงินเยน อยู่ที่ระดับ 146.76 เยน/ดอลลาร์ จากเย็นวันพุธที่ระดับ 146.62 เยน/ดอลลาร์ 
          - เงินยูโร อยู่ที่ระดับ 1.1670 ดอลลาร์/ยูโร จากเย็นวันพุธที่ระดับ 1.1710 ดอลลาร์/ยูโร
          - อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท/ดอลลาร์ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างธนาคารของธปท.อยู่ที่ระดับ 32.650 บาท/ดอลลาร์ 
          - รมว.คลัง นำทีมไทยแลนด์หารือบ้านพิษณุโลก แนวทางเจรจาภาษี "ทรัมป์" วันนี้ พณ.ชงแผนเยียวยา 'เศรษฐา' เชื่อ
มือ-หวังได้อัตรา 20%
          - ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยถึงผลการหารือระหว่างนายพิชัย ชุณหวชิร รองนายก
รัฐมนตรีและรมว.คลัง และภาคเอกชน ถึงผลกระทบภาษีตอบโต้ของสหรัฐ ว่า ภาครัฐต้องการรู้ว่าแต่ละกลุ่มอุตสาหกรรม ได้รับผลกระทบ
อย่างไร เพื่อให้ภาครัฐออกมาตรการอะไรช่วยเหลือ และรองรับแรงกระแทกไว้บ้างแล้ว เพราะแต่ละกลุ่มผลกระทบต่างกัน ซึ่ง ส.อ.ท.
ได้ให้ทั้ง 47 กลุ่มอุตสาหกรรมสมาชิก ประเมินผลกระทบแบบเจาะลึกเป็นรายอุตสาหกรรม และมาตรการรองรับของแต่ละกลุ่มกลับมา โดย
เฉพาะมาตรการช่วยเหลือด้านการเงิน และการคลัง          
          - EEC ยังประเมินผล กระทบภาษีทรัมป์ ไม่ได้ต้องรอผลเจรจาสรุปสุดท้ายก่อน อาจลดจาก 36% เผยอุตสาหกรรมในพื้นที่ส่ง
ออกไปทั่วโลกมีส่งตรงสหรัฐฯ 18% ส่วนใหญ่เป็นอิเล็กทรอนิกส์ ด้าน ส.อ.ท.เตรียมรวบรวมผลกระทบทั้ง 47 กลุ่มอุตฯ จากภาษีทรัมป์ 
36% เตรียมเสนอคลังในวันที่ 11 ก.ค.นี้ ห่วงกลุ่มอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานเข้มข้นจี้รัฐเร่งแก้ปัญหาจีนสวมสิทธิ ด้านคลังแจงมีเงินเยียว
ยากลุ่มที่ได้รับผลกระทบ Reciprocal Tariffs หลายหมื่นล้านบาท
          - ภาคท่องเที่ยวไทยหวังพึ่ง "ตลาดอินเดีย" รับขนาดเศรษฐกิจโตร้อนแรง ผงาดสู่อันดับ 3 ของโลกภายในปี 73 "เทียน
ประสิทธิ์" นายก ส.โรงแรมไทย คาดปี 68 มีนักท่องเที่ยวอินเดียเดินทางเข้าไทยกว่า 2.4 ล้านคน หลังครึ่งปีแรก ตุนยอด 1.18 ล้าน
คน โต 14% มากเป็นอันดับ 3 "ททท." เผย "บอร์ดซอฟต์พาวเวอร์" พร้อมดันงาน "เทศกาลดิวาลี" จัดฉลองปีใหม่อินเดียยิ่งใหญ่ 20 
ต.ค. จัดเต็มขบวนแห่เทพฮินดู-บอลลีวูด ด้าน 3 แอร์ไลน์ "ไทยแอร์เอเชีย-ไทยไลอ้อนแอร์-เวียตเจ็ทไทยแลนด์" เดินเกมบุกเปิดบิน
ตรง สู่ฮับบินกรุงเทพฯ และภูเก็ต
          - ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) เปิดเผยรายงานการประชุมเฟดประจำเดือนมิ.ย.ในวันพุธ (9 ก.ค.) โดยระบุว่า กรรม
การเฟดส่วนใหญ่คาดการณ์ว่าเป็นเรื่องเหมาะสมที่จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยในปีนี้ เนื่องจากคาดว่าผลกระทบของมาตรการภาษีศุลกากรที่มีต่อ
เงินเฟ้อนั้นจะไม่มากนักและเป็นผลกระทบชั่วคราว อย่างไรก็ตาม มีกรรมการเฟดเพียงไม่กี่คนที่สนับสนุนการปรับลดอัตราดอกเบี้ยในการ
ประชุมเดือนก.ค.
          - FedWatch Tool ของ CME Group บ่งชี้ว่า นักลงทุนไม่คาดว่าเฟดจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยในการประชุมเดือนก.ค. แต่
ให้น้ำหนัก 64% ต่อการคาดการณ์ว่าเฟดจะปรับลดอัตราดอกเบี้ย 0.25% ในการประชุมเดือนก.ย.
          - กระทรวงแรงงานสหรัฐฯ เปิดเผยเมื่อวันพฤหัสบดี (10 ก.ค.) ว่า ตัวเลขผู้ยื่นขอสวัสดิการว่างงานครั้งแรก ลดลง 
5,000 ราย สู่ระดับ 227,000 ราย ในรอบสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 5 ก.ค. ต่ำกว่าตัวเลขคาดการณ์ที่ระดับ 235,000 ราย
          - สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก ๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กในวันพฤหัสบดี 
(10 ก.ค.) โดยปรับตัวตามทิศทางอัตราผลตอบแทนพันธบัตรที่ดีดตัวขึ้น หลังสหรัฐฯ เปิดเผยตัวเลขผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานลดลงมากกว่า
คาด ซึ่งบ่งชี้ถึงความแข็งแกร่งของตลาดแรงงาน
          - สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดบวกในวันพฤหัสบดี (10 ก.ค.) เนื่องจากความกังวลเกี่ยวกับผลกระทบของมาตรการภาษี
ศุลกากรของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์เป็นปัจจัยหนุนแรงซื้อทองคำในฐานะสินทรัพย์ที่ปลอดภัย อย่างไรก็ดี การแข็งค่าของสกุลเงิน
ดอลลาร์ได้สกัดแรงซื้อในตลาด