ภาวะตลาดเงินบาท: เปิด 34.24 แนวโน้มแกว่งผันผวน ตลาดกังวลการค้าโลกจากมาตรการภาษีสหรัฐ

          นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทเปิดตลาดเช้านี้อยู่ที่ 34.24 บาท/ดอลลาร์ จากปิดตลาดเย็น
วานนี้ที่ระดับ 34.23 บาท/ดอลลาร์ โดยเคลื่อนไหวในทิศทางเดียวกับค่าเงินภูมิภาคที่ปรับตัวอ่อนค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์
          ขณะที่ตัวเลขดัชนี ISM ภาคบริการของสหรัฐฯ ที่ประกาศออกมาเมื่อคืนแย่กว่าคาด และบอนด์ยีลด์ปรับตัวลดลง ซึ่งอาจเป็น
ปัจจัยที่ส่งผลให้ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) พิจารณาปรับลดอัตราดอกเบี้ย เนื่องจากความกังวลเรื่องภาวะการค้าโลกที่ได้รับผลกระทบ
รุนแรงจากมาตรการภาษีตอบโต้ของประธานาธิบดีสหรัฐฯ
          "ทิศทางบาทวันนี้คาดว่ายังคงมีความผันผวนจากเรื่องนโยบายที่สหรัฐฯ ประกาศออกมาเมื่อวาน" นักบริหารเงิน กล่าว
          นักบริหารเงิน ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในวันนี้ไว้ที่ 34.10 - 34.40 บาท/ดอลลาร์
          SPOT ล่าสุด อยู่ที่ระดับ 34.0625 บาท/ดอลลาร์ 

          * ปัจจัยสำคัญ
          - เงินเยนอยู่ที่ 146.09 เยน/ดอลลาร์ จากเย็นวานนี้ที่ระดับ 146.45 เยน/ดอลลาร์ 
          - เงินยูโรอยู่ที่ 1.1042 ดอลลาร์/ยูโร จากเย็นวานนี้ที่ระดับ 1.1032 ดอลลาร์/ยูโร
          - อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท/ดอลลาร์ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างธนาคารของธปท. อยู่ที่ระดับ 34.340 บาท/ดอลลาร์
          - "พิชัย" รมว.พาณิชย์ ยอมรับสหรัฐฯ เก็บภาษี 37% เกินคาด พร้อมเปิดลิสต์ 15 สินค้าที่โดนกระทบหนัก ลั่นเดินหน้า
เจรจาต่อรองทันทีที่สหรัฐฯ รับนัด มั่นใจเจรจาได้แน่
          - ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เผยอยู่ระหว่างประเมินผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทย ซึ่งต้องคำนึงถึงปัจจัยและช่องทาง
ต่าง ๆ ที่ผลของมาตรการจะถูกส่งผ่านมายังภาคเศรษฐกิจให้ครบถ้วน โดยจะติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดและพร้อมดูแลความผันผวนใน
ตลาดการเงินเพื่อลดผลกระทบต่อภาคธุรกิจและเสถียรภาพระบบการเงินโดยรวม
          - สงครามการค้ากระทบเศรษฐกิจไทยแรง สำนักวิจัยแห่หั่นจีดีพีลง 1% จ่อหั่น "ต่ำสุด" เหลือเพียง 1.4% หวั่นเงินทุนไหล
ออก สอดคล้องกับการประเมินของ รมว.คลัง คาดกระทบจีดีพีอย่างน้อย 1% ส.อ.ท.นัดสมาชิกหารือผลกระทบด่วนสรุปข้อมูลเสนอรัฐ
เจรจาสหรัฐ "เงินบาท" ทยอยอ่อนค่าแตะ 35.50 บาท คาด กนง.ลดดอกเบี้ยอีก 2-3 ครั้งรวม 4 ครั้งปีนี้ สู่ระดับ 1.25%
          - รมว.คลัง เปิดเผยว่า ขณะนี้อยู่ระหว่างหาแนวทางแก้ไขผลกระทบจากมาตรการขึ้นภาษีของสหรัฐฯ หากประเทศไทยไม่
ดำเนินการใดๆ จะส่งผลกระทบต่ออัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยราว 1% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี)
          - "ไทยบีเอ็มเอ" ชี้สัญญาณ ผิดนัดชำระหนี้หุ้นกู้ลดลง หลังผู้ลงทุนระมัดระวังมากขึ้น ขณะที่อาจเห็นผู้ออกหุ้นกู้เลื่อนการชำระ
คืนหุ้นกู้มากขึ้น เพื่อแก้ปัญหาด้านสภาพคล่อง ล่าสุด ไตรมาสแรกพบ "ผิดนัดชำระหนี้" แล้ว จำนวน 3 ราย เลื่อนชำระคืนอีก 9 ราย ชี้
บอนด์ยีลด์ต่ำเป็นจังหวะออกหุ้นกู้เพิ่ม หลังต้นทุนลด
          - บมจ. ท่าอากาศยานไทย (AOT) คาดการณ์ช่วงเทศกาลสงกรานต์จะมีผู้โดยสารใช้บริการสนามบินกว่า 3 ล้านคน เพิ่ม
ขึ้น 20.5% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 
          - ผู้อำนวยการองค์การการค้าโลก (WTO) แสดงความกังวลเกี่ยวกับการลดลงของปริมาณการค้าโลก และการเกิดสงคราม
การค้า หลังจากที่ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ประกาศเรียกเก็บภาษีศุลกากรตอบโต้ (reciprocal tariff) ต่อประเทศคู่ค้าเมื่อวัน
พุธ (2 เม.ย.)
          - หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์จาก High Frequency Economics เปิดเผยว่า นโยบายเรียกเก็บภาษีศุลกากรของ
ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์จะส่งผลกระทบต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ของสหรัฐฯ ราว 10% ในไตรมาส 2/2568 ซึ่งจะ
ทำให้เศรษฐกิจสหรัฐเข้าสู่ภาวะถดถอย
          - มอร์แกน สแตนลีย์ (Morgan Stanley) ยกเลิกการคาดการณ์ที่ว่า ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) จะปรับลดอัตรา
ดอกเบี้ยในเดือนมิ.ย.ปีนี้ โดยให้เหตุผลว่าภาษีนำเข้าชุดใหม่ที่ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ประกาศ จะเพิ่มความเสี่ยงด้านเงินเฟ้อ โดยล่า
สุดมอร์แกน สแตนลีย์ คาดว่า เฟดจะคงอัตราดอกเบี้ยไปจนถึงเดือนมี.ค. 2569
          - นักลงทุนคาดการณ์ว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) จะปรับลดอัตราดอกเบี้ย 3 ครั้งในปีนี้ โดยจะเกิดขึ้นในเดือนมิ.ย.,ก.
ค.และต.ค. หลังจากที่ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ สร้างความตื่นตระหนกไปทั่วโลกด้วยการประกาศเรียกเก็บภาษีศุลกากรตอบโต้ 
(reciprocal tariff) ต่อประเทศคู่ค้า
          - กระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ เปิดเผยตัวเลขขาดดุลการค้าของสหรัฐฯ ลดลง 6.1% สู่ระดับ 1.227 แสนล้านดอลลาร์ในเดือน
ก.พ. และต่ำกว่าตัวเลขคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ที่ระดับ 1.235 แสนล้านดอลลาร์ จากระดับ 1.314 แสนล้านดอลลาร์ในเดือนม.ค.
          - กระทรวงแรงงานสหรัฐฯ เปิดเผยตัวเลขผู้ยื่นขอสวัสดิการว่างงานครั้งแรก ลดลง 6,000 ราย สู่ระดับ 219,000 ราย
ในสัปดาห์ที่แล้ว ต่ำกว่าตัวเลขคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ที่ระดับ 226,000 ราย
          - สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงอย่างมากเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก ๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กในวัน
พฤหัสบดี (3 เม.ย.) เนื่องจากความวิตกกังวลเกี่ยวกับมาตรการภาษีศุลกากรของสหรัฐฯ ทำให้นักลงทุนหันไปถือครองสกุลเงินปลอดภัย 
ซึ่งรวมถึงสกุลเงินเยนและฟรังก์สวิส ขณะที่นักลงทุนจับตาการเปิดเผยตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตรของสหรัฐฯ และการกล่าวสุนทรพจน์
ของเจอโรม พาวเวล ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ในวันนี้
          - สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดลบในวันพฤหัสบดี (3 เม.ย.) เนื่องจากนักลงทุนเทขายทำกำไรหลังจากราคาทองพุ่งขึ้นทำ
สถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์ก่อนหน้านี้ ขณะที่นักวิเคราะห์มองว่าราคาทองคำยังคงมีแนวโน้มปรับตัวขึ้นอีก เนื่องจากมาตรการภาษีศุลกากร
ของสหรัฐฯ จะเป็นแรงผลักดันให้นักลงทุนเข้าซื้อทองคำในฐานะสินทรัพย์ที่ปลอดภัย
          - นักลงทุนจับตาการเปิดเผยตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรประจำเดือนมี.ค.ของสหรัฐฯ ในวันนี้ เพื่อประเมินแนวโน้ม
ตลาดแรงงานและทิศทางอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด)
          - นักลงทุนยังจับตาถ้อยแถลงของเจอโรม พาวเวล ประธานเฟดในวันนี้เช่นกัน โดยพาวเวลจะกล่าวสุนทรพจน์ว่าด้วยแนว
โน้มเศรษฐกิจสหรัฐฯ ในการประชุมประจำปีของ Society for Advancing Business Editing and Writing (SABEW) ที่เมือง
อาร์ลิงตัน รัฐเวอร์จิเนีย