PoliticalView: นักวิชาการมองโหวตแก้ รธน.ย้ำความสำคัญเสียง ส.ว.เชื่อยากตกผลึกจนกว่ามี ส.ส.ร.

นายสุขุม นวลสกุล อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยรามคำแหง ในฐานะนักวิชาการด้านรัฐศาสตร์ เปิดเผยว่า ผลการลงมติรับหลักการร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญจำนวน 13 ฉบับของที่ประชุมร่วมรัฐสภาในวาระแรกเมื่อคืนนี้ สะท้อนให้เห็นถึงความสำคัญของคะแนนเสียงของสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) หากเรื่องใดไม่ได้รับการสนับสนุนจาก ส.ว.ก็จะไม่ผ่านการลงมติของรัฐสภา

“อย่างน้อยก็ทำให้เห็นถึงความสำคัญของเสียง ส.ว.ถ้าไม่เอาด้วยก็ไม่ผ่าน ถึงแม้คะแนนปอปปูลาร์โหวตจะเกินกึ่งหนึ่ง (367 เสียง) แต่คะแนนของ ส.ว.ไม่ถึง 1 ใน 3 (84 เสียง) ตามที่กฎหมายกำหนดไว้”

นายสุขุม กล่าว

ในการอภิปรายร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญจะเห็นว่า ส.ว.ไม่ได้เห็นด้วยกับพรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) ที่เป็นแกนนำพรรคร่วมรัฐบาล โดยคัดค้านในประเด็นที่เสนอแก้ไขมาตรา 144 และมาตรา 185 ที่เป็นเรื่องเกี่ยวกับการป้องกันการทุจริต ซึ่งสอดคล้องการความเห็นของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและ รมว.กลาโหม ที่ส่งสัญญาณไม่เห็นด้วยในเรื่องนี้

“การอภิปรายครั้งนี้ถือว่าพลิกล็อกที่ ส.ว.ไม่ได้เห็นด้วยกับร่างฯ ของพรรคพลังประชารัฐ และแสดงให้เห็นว่าไม่ใช่อุปสรรคต่อการแก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยเลือกที่จะสนับสนุนร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญบางฉบับ แต่เป็นฉบับที่ไม่มีเนื้อหาเกี่ยวกับการปิดสวิทซ์ ส.ว.”

นายสุขุม กล่าว

ถึงแม้การเสนอญัตติร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญหลายฉบับจะตกไป เพราะไม่ได้รับความเห็นชอบจากที่ประชุมร่วมรัฐสภา แต่ก็คงจะมีการเสนอญัตติกลับเข้ามาให้พิจารณากันใหม่ เพราะการแก้ไขเพียงบางมาตราจะไม่ทำให้การแก้ไขรัฐธรรมนูญเกิดความสมบูรณ์ ดังนั้นจึงต้องมีการแก้ไขในมาตราอื่นที่เชื่อมโยงกันด้วย ซึ่งถือเป็นความพยายามที่จะผลักดันการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญให้ได้ โดยมีเป้าหมายสำคัญอยู่ที่การเสนอจัดตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) ให้เข้ามาดำเนินการจัดทำรัฐธรรมนูญใหม่ทั้งฉบับ

“ความพยายามผลักดันให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญคงมีเรื่อยๆ ด้วยการเสนอญัตติเข้ามาใหม่ จนกว่าจะมีกฎหมายประชามติออกมาบังคับใช้ ซึ่งเป็นการปลดล็อกให้นำไปสู่การแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งฉบับด้วยการเสนอตั้ง ส.ส.ร. แต่จะเป็นไปได้หรือไม่ก็ต้องขึ้นอยู่กับผลการทำประชามติที่ออกมา ไม่ใช่แค่การอ้างเสียงสนับสนุนจากประชาชนอย่างเลื่อนลอย”

นายสุขุม กล่าว

ผลการลงมติรับหลักการร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ

เนื้อหาผู้เสนอเห็นชอบ
(ส.ส./ส.ว.)
ไม่เห็นชอบงดออกเสียง
1. ร่างฯ แก้ไขเพิ่มเติมหมวด 3 แก้ไขมาตรา 29, 41, 45, 83, 85, 86, 90, 91, 92, 94, 144, 185 และ 270พลังประชารัฐ334
(334/0)
19975
2. ร่างฯ แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 25, 29, 29/1, 34, 45, 47, 49/1 และ 129เพื่อไทย399
(393/6)
136171
3. ร่างฯ แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 83, 85, 86, 90, 91, 92 และยกเลิกมาตรา 93, 94เพื่อไทย376
(340/36)
89241
4. ร่างฯ แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 159 และ ยกเลิกมาตรา 272เพื่อไทย455
(440/15)
101150
5. ร่างฯ แก้ไขเพิ่มเติมหมวด 6, ยกเลิก มาตรา 65, แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 142, 162 และยกเลิกมาตรา 270, 271, 275, 279เพื่อไทย327
(326/1)
150229
6. ร่างฯ แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 65ภูมิใจไทย454
(419/35)
86166
7. ร่างฯ แก้ไขเพิ่มเติมหมวด 5 แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 55/1ภูมิใจไทย476
(421/55)
78152
8. ร่างฯ แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 29, 43, 46 และ 72ประชาธิปัตย์469
(421/48)
75162
9. ร่างฯ แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 256ประชาธิปัตย์415
(400/15)
102189
10. ร่างฯ แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 236, 237ประชาธิปัตย์431
(398/33)
97178
11. ร่างฯ แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 159 และ ยกเลิกมาตรา 272ประชาธิปัตย์461
(440/21)
96149
12. ร่างฯ แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 76/1, 76/2, 249, 250, 251, 252, 253, 254 และเพิ่มมาตรา 250/1ประชาธิปัตย์457
(407/50)
82167
13. ร่างฯ แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 83 และ 91 ประชาธิปัตย์552
(342/210)
24130

โดย สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (25 มิ.ย. 64)

Tags: , , , , ,
Back to Top