คมนาคม ตรวจแถวธุรกิจการบินเตรียมรับนักท่องเที่ยวทะลักกว่า 200 ล้านคนใน 10 ปี

นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม กล่าวในงานสัมนาอุตสาหกรรมการบินของไทย ประจำปี 2564 ภายใต้หัวข้อ ทะยานสู่การบินบริบทใหม่ (Thai Aviation Industry Conference 2021 : flying to the new era of Thai aviation) พร้อมเร่งกำหนดทิศทางและมาตรการรองรับอุตสาหกรรมการบินให้สามารถฟื้นตัวได้โดยเร็ว ภายหลังการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 รวมทั้งขับเคลื่อนให้ประเทศไทยก้าวสู่การบินบริบทใหม่ในอนาคต ภายใต้รูปแบบวิถีชีวิตการเดินทางแบบ New Normal เพื่อส่งเสริมให้การบินของไทยกลับมาเติบโตอย่างยั่งยืน

นายศักดิ์สยาม กล่าวว่า อุตสาหกรรมการบินมีส่วนสำคัญต่อการพัฒนาระบบเศรษฐกิจของประเทศ เนื่องจากเป็นกลไกสนับสนุนอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวที่ถือเป็นรายได้หลักของประเทศ ทั้งยังก่อให้เกิดรายได้จากการบริโภค การจ้างงาน การค้า และการลงทุน สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย (กพท.) เป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่กำกับดูแล และส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรมการบินของประเทศไทย โดยมียุทธศาสตร์ที่ 3 เพื่อส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรมการบินอย่างยั่งยืน

ในปี 63 อุตสาหกรรมการบินทั่วโลกได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 คณะกรรมการการบินพลเรือน (กบร.) และหน่วยงานภายใต้สังกัดกระทรวงคมนาคม ได้แก่ กรมท่าอากาศยาน (ทย.) บมจ.ท่าอากาศยานไทย (AOT) หรือ ทอท. บริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย (บวท.) และ กพท. จึงได้ดำเนินมาตรการเพื่อบรรเทาผลกระทบให้กับผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมการบิน รวมทั้งมาตรการกระตุ้นความต้องการการเดินทางทางอากาศจากวิกฤติที่เกิดขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้สายการบินสามารถดำเนินกิจการต่อไปได้ ซึ่งมาตรการต่าง ๆ ประกอบด้วย มาตรการลดค่าใช้จ่าย มาตรการทางการเงิน และมาตรการผ่อนคลายกฎระเบียบ

ทั้งนี้ จากผลการตรวจ Full ICAO Coordinated Validation Mission แสดงให้เห็นว่ามาตรฐานด้านความปลอดภัยด้านการบินพลเรือนของประเทศไทยทัดเทียมกับมาตรฐานเฉลี่ยของประเทศสมาชิกอื่น ๆ จึงนับได้ว่าอุตสาหกรรมการบินของไทยมีความแข็งแกร่ง พร้อมที่จะเติบโตและสามารถส่งเสริมให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการบินของภูมิภาคได้ แต่ด้วยผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส โควิด-19 ที่ทั่วโลกและประเทศไทยต้องเผชิญ ทำให้อุตสาหกรรมการบินพบกับวิกฤติ จำนวนผู้โดยสารทั้งภายในประเทศและระหว่างประเทศลดลง ส่งผลกระทบต่อธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องต่าง ๆ

แต่ต่อมาเมื่อมีการฉีดวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 อย่างแพร่หลายในประเทศต่าง ๆ รวมถึงประเทศไทย รัฐบาลจึงได้มีนโยบายเปิดประเทศเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านการส่งเสริมการท่องเที่ยวควบคู่ไปกับมาตรการด้านสาธารณสุข ส่งผลให้จำนวนผู้โดยสารในช่วง 2 เดือนสุดท้ายของปี 64 ปรับฟื้นตัวขึ้นจากนโยบายของรัฐบาล

การจัดงานสัมมนาฯ ในวันนี้จึงเป็นโอกาสที่ดีที่หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนได้มาร่วมกันระดมความคิดเห็นและข้อเสนอแนะ เพื่อเตรียมความพร้อมต่อแผนการเปิดประเทศ รวมทั้งสร้างความเชื่อมั่นในการกำกับดูแลการบินพลเรือน และบูรณาการการทำงานร่วมกันเพื่อให้อุตสาหกรรมการบินของไทยทุกภาคส่วนมีการดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นในการเดินทางทางอากาศภายหลังจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส โควิด-19 คลี่คลาย พร้อมรองรับการเดินทางแบบ New Normal ครอบคลุมในทุกพื้นที่ตามแผนการเปิดประเทศรับนักท่องเที่ยวต่างชาติของรัฐบาล เพื่อส่งเสริมให้การบินของไทยกลับมาเติบโตอย่างยั่งยืน

“การสัมมนาในวันนี้เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมประเทศไทยก้าวสู่การบินบริบทใหม่ ที่ทำให้ธุรกิจการบินมีความแข็งแรงละสามารถแข่งขันได้ หลังจากเกิดการระบาดไวรัสโควิด-19ที่ส่งผลใหเจำนวนผู้โดยสารลดลงอย่างมากจากปี 62 ที่ไทยมีผู้โดยสารทั้งในและต่างประเทศกว่า 160 ล้านคน ทำให้ธุรกิจเกี่ยวกับการบินประสบปัญหา”

นายศักดิ์สยาม กล่าว

อย่างไรก็ดี เมื่อ 1 พ.ย.ที่ผ่านมา ไทยมีนโยบายเปิดประเทศ ประกอบกับ IATA คาดว่าไทยจะมีจำนวนผู้โดยสารเดินทางเข้ามาทางอากาศ 214 ล้านคนในปี 74 จึงต้องมีการพัฒนาเทคโนโลยี อย่าง AI , 5G เตรียมรันเวย์ และ อาคารผู้โดยสารไว้รองรับความต้องการ ทั้งนี้ก็ได้ให้กรมท่าอากาศยานและบมจ.ท่าอากาศยานไทย (AOT) เชื่อมโยงสนามบินด้วยกัน ซึ่งสำนักงานการบินพลเรือน (CAAT) จะจัดเตรียม SLOT ตารางบินฤดูร้อน ในปีหน้า ซึ่งหลังจากี้ก็จะมีการจัดอีเว้นท์ ประชุมระดับประเทศ เพิ้อให้บุคคลากรทรงการบินได้มาดำเนินการ

ในปี 65 CAAT คาดมีนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้าไทยราว 8 ล้านคนจากปีนี้ที่คาดไว้ 2 ล้านคนซึ่งปัจจุบันธุรกิจสายการบินกลับมาได้ 10%

นายศักดิ์สยาม กล่าวว่า จากวิกฤติโควิด-19 ทำให้สายการบินที่ถือเป็นธุรกิจต้นน้ำได้รับผลกระทบรุนแรง การ.เตรียมออกมาตรการระยะที่ 4 เพื่อฟื่นฟูอุตสาหกรรมการบินในปี 2565-2568ซึ่งกำลังพิจารณากันอยู่ ซึ่งได้แก่ การให้ท่าอาศยานร่วมกับกรมการค้าภายนำสินค้าเกษตรมาจำหน่ายในสนามบิน 22 แห่ง , จัดตั้งงศูนย์จัดจำหน่ายและกระจายสินค้า OTOP ของท่าอากาศยานของทาย. 20 แห่ง และ ทอท. 6 แห่ง

รวมถึงการให้สิทธิบริหารท่าอากาศยาน 3 แห่งให้แก่ AOT จาก ทย.ได้แก่ ท่าอากาศยานอุดรธานี ท่าอากาศยานบุรีรัมย์ และ ท่าอากาศยานกระบาย เพื่อเพิ่มความสามารถเป็นท่าอากาศยานระหว่างประเทศในภูมิภาคและการเปืดประเทศ ดจะเตรียมการรองรับนักท่องเที่ยว

นอกจากนี้ การจะจัดทำนโยบายด้านการบินสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ ที่จะเพิ่มความสามารถการแข่งขัน โลจิสติกส์ ในภูมิภาค , ระบบการบินที่ปลอดภัย ,มีความพร้อมสำหรับอนาคต และทำให้เกิดประโยชน์ให้แก่ประเทศชาติ

ด้านนายนิตินัย ศิริสมรรถการ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ AOT กล่าวว่า ในวันนี้จะมีการหารือกับ 3 หน่วยงาน คือ กรมธนารักษ์ กรมบัญชีกลาง และ สคร. เกี่ยวกับการมอบสิทธิการบริหารจัดการ 3 สนามบินจาก ทย. ว่ามีขอบเขตอย่างไร และคาดว่าจะนำเสนอต่อคณะรัฐมนตรีในเดือน ม.ค.65 และยังมีขั้นตอนการขอออกใบอนุญาตสนามบินในนาม AOT และตรวจสอบสถานะกิจการ (Due diligence) ก่อน คาดว่าจะเริ่มรับรู้รายได้ในปี 66

นายสุทธิพงษ์ คงพูล กล่าวว่า จากการคาดการณฺ์ว่าในปี 2574 ไทยจะมีปริมาณเที่ยวบินโตเป็น 2.15 ล้านเที่ยว จากปี 62 ที่มี 1.06 ล้านเที่ยวบิน ซึ่งจะต้องเพิ่ม capacity 3เท่า รองรับผู้โดยสารที่โตเป็น 214 ล้านคนในปี 2574 จาก116 ล้านคนในปี 2562 นอกจากนี้ การปรับใช้เครื่องบินที่ใช้น้ำมันอย่างมีประสิทธิภาพเป็นเรื่องที่ต้องคิดคำนึงถึงการปล่อยก๊าซคาร์บอนด้วย

รวมทั้งยังคาดว่าหลังโควิด-19 มีแนวโน้มคนไม่ค่อยเดินทาง โดยใช้เทคโนโบยีสมัยใหม่เข้ามาใช้แทน ดังนั้นในอนาคตการเดินทางอากาศจะให้ความสำคัญ ความปลอดภัย (safety) , security และ Health โดยลดการสัมผัส มีระยะห่าง ขณะเดียวกันก็ต้องการรู้ข่าวสารตลอดการเดินทาง

โดย สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (13 ธ.ค. 64)

Tags: , , , , , , , , ,
Back to Top