เงินบาทเปิด 32.45 อ่อนค่าต่อเนื่อง กังวลสถานการณ์ยูเครนรุนแรง ให้กรอบ 32.30-32.50

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทเปิดตลาดเช้านี้อยู่ที่ 32.45 บาท/ดอลลาร์ ปรับตัวอ่อนค่าต่อ เนื่องจากปิดตลาดเย็นวานนี้ที่ระดับ 32.40 บาท/ดอลลาร์ หลังนักลงทุนปิดรับความเสี่ยงหันมาถือครองดูอลลาร์จากความกังวลต่อ สถานการณ์ยูเครนที่มีความเป็นไปได้สูงที่จะเกิดความรุนแรงมากขึ้น

“บาทอ่อนค่าต่อเนื่องจากเย็นวานนี้ เพราะนักลงทุนปิดรับความเสี่ยง โดยตลาดจับตาดูสถานการณ์ยูเครนที่เกรงว่าอาจรุนแรง เกินกว่าการตอบโต้ทางการค้าและการลงทุน”

นักบริหารเงิน กล่าว

นักบริหารเงินประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในวันนี้ไว้ที่ 32.30 – 32.50 บาท/ดอลลาร์

THAI BAHT FIX 3M (22 ก.พ.) อยู่ที่ระดับ 0.45663% ส่วน THAI BAHT FIX 6M อยู่ที่ระดับ 0.56592%

ปัจจัยสำคัญ

– เงินเยนอยู่ที่ระดับ 115.04 เยน/ดอลลาร์ จากเย็นวานนี้ที่ระดับ 114.82 เยน/ดอลลาร์

– เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.1333 ดอลลาร์/ยูโร จากเย็นวานนี้ที่ระดับ 1.1323 ดอลลาร์/ยูโรเยน

– อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท/ดอลลาร์ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างธนาคารของธปท.อยู่ที่ระดับ 32.396 บาท/ดอลลาร์

– ทิสโก้ ชี้ความตึงเครียด “รัสเซีย-ยูเครน” กระทบต่อราคาน้ำมันและเศรษฐกิจโลกในวงจำกัด ด้านสหรัฐจ่อยกเลิกการ คว่ำบาตรอิหร่าน ฉุดราคาน้ำมันปรับฐาน กลับมาเทรดที่กรอบ 85-90 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล

– อุปนายกสมาคมค้าทองคำ เปิดเผยว่า จากความตึงเตรียดระหว่างรัสเซียและยูเครนที่เพิ่มความรุนแรงขึ้นนั้นทำให้นักลงทุน ย้ายเงินเข้าสู่สินทรัพย์ปลอดภัยอย่างทองคำมากยิ่งขึ้น ทำให้ราคาทองคำเมื่อเปิดตลาด เมื่อวันที่ 22 ก.พ.ที่ผ่านมา ปรับตัวขึ้นสูงถึง 300 บาท ซึ่งตลอดทั้งวันได้ปรับขึ้นลงถึง 7 ครั้ง รวมปรับขึ้น 250 บาท ระหว่างวันมีความเคลื่อนไหว 6 ครั้ง และคาดว่าหากยังมีปัญหาตึง เครียดต่อเนื่องซึ่งมีการสู้รบกันอาจทำให้ราคาทองคำมีโอกาสขยับขึ้นมาที่บาทละ 29,500 บาท แต่ยังไม่ถึง 30,000 บาท เนื่องจากค่า เงินบาทที่ยังแข็งค่า

– ธนาคารโลกประจำประเทศไทย (เวิลด์แบงก์) และบรรษัทเงินทุนระหว่างประเทศ (ไอเอฟซี) เปิดรายงานการ วิเคราะห์ภาคเอกชนของประเทศไทย โดยเห็นว่าไทยต้องเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยีนวัตกรรมใหม่ และต้องแก้ไขข้อจำกัดด้านการลงทุน เพื่อเกิดการส่งเสริมแนวทางเศรษฐกิจหมุนเวียนในอุตสาหกรรมสำคัญของประเทศ จะช่วยดึงเงินการลงทุน ประหยัดค่าใช้จ่าย และสร้าง รายได้ให้ประเทศไทยสูงถึง 3,400 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือกว่า 1.1 แสนล้านบาท รวมทั้งเพิ่มโอกาสทางการแข่งขันในด้านต่างๆ

– ติดตามการประชุมศูนย์บริหารสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ ศบค.ชุดใหญ่ พิจารณาการ ปรับมาตรการป้องกันโรคสำหรับการเดินทางเข้าราชอาณาจักร แผนการให้บริการวัคซีน

– ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่า แม้การแพร่ระบาดโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอน เพิ่มสูง ขึ้นต่อเนื่อง ซึ่งภาคเอกชนขอย้ำจุดยืนเดิม คือ ห้ามมีการล็อกดาวน์ประเทศอีกครั้ง เนื่องจากจะส่งผลรุนแรงต่อระบบเศรษฐกิจไทย ทาง ภาครัฐก็ได้ออกมาส่งสัญญาณแล้วว่า จะไม่มีการล็อกดาวน์ประเทศ และอีกประเด็นสำคัญควรผ่อนคลายมาตรการเข้าประเทศ ของนักท่อง เที่ยว ในรูปแบบเทสต์ แอนด์ โก (Test and Go)

– นายกรัฐมนตรีของอังกฤษ ประกาศคว่ำบาตรธนาคารรัสเซีย 5 แห่ง ได้แก่ รอสซิยา, ไอเอส แบงก์, เจเนอรัล แบงก์, พรอมสวียาซแบงก์ และแบล็คซี แบงก์ รวมทั้งชาวรัสเซียที่มีความสำคัญ 3 คน เพื่อตอบโต้มาตรการทางทหารของรัสเซียดังกล่าว

– ประธานาธิบดีสหรัฐประกาศมาตรคว่ำบาตรธนาคาร VEB ซึ่งเป็นธนาคารรายใหญ่ของรัสเซีย และคว่ำบาตรธนาคาร PSB ซึ่งเป็นธนาคารของกองทัพรัสเซีย โดยมาตรการดังกล่าวจะส่งผลให้ธนาคารทั้งสองแห่งไม่สามารถทำธุรกรรมในรูปสกุลเงินดอลลาร์ ได้ นอกจากนี้ยังคว่ำบาตรตราสารหนี้ของรัสเซีย รวมถึงกลุ่มผู้ทรงอิทธิพลของรัสเซียตลอดจนคนในครอบครัว

– ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก ๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กในวันอังคาร (22 ก.พ.) ท่ามกลางการซื้อขายที่เป็นไปอย่างผันผวน ขณะที่นักลงทุนยังคงจับตาสถานการณ์ตึงเครียดในยูเครน หลังจากรัสเซียให้การ รับรองเอกราชแก่แคว้นโดเนตสก์และลูฮันสก์ ซึ่งตั้งอยู่ในภูมิภาคดอนบาสของยูเครน และได้ส่งกำลังทหารเข้าไปยัง 2 แคว้นดังกล่าวซึ่งฝัก ใฝ่รัสเซีย

– สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดบวกในวันอังคาร (22 ก.พ.) เนื่องจากนักลงทุนเข้าซื้อทองคำในฐานะสินทรัพย์ที่ปลอดภัย ท่ามกลางความกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์ตึงเครียดในยูเครน หลังจากรัสเซียให้การรับรองเอกราชแก่แคว้นโดเนตสก์และลูฮันสก์ซึ่งตั้งอยู่ ทางตะวันออกของยูเครน และส่งกำลังทหารเข้าไปยัง 2 แคว้นดังกล่าวซึ่งฝักใฝ่รัสเซีย

– ข้อมูลเศรษฐกิจที่สำคัญของสหรัฐในสัปดาห์นี้ ได้แก่ จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์, ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายใน ประเทศ (GDP) ไตรมาส 4/2564 (ประมาณการครั้งที่ 2), ยอดขายบ้านใหม่เดือนม.ค., ยอดสั่งซื้อสินค้าคงทนเดือนม.ค., ดัชนีราคา การใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) เดือนม.ค., ยอดทำสัญญาขายบ้านที่รอปิดการขาย (pending home sales) เดือนม.ค. และดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนก.พ.จากมหาวิทยาลัยมิชิแกน

โดย สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (23 ก.พ. 65)

Tags: ,
Back to Top