ธปท.ระบุเศรษฐกิจ ก.พ.ทิศทางฟื้นตัวตามส่งออกดีขึ้น-นักท่องเที่ยวต่างชาติเพิ่ม

ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) แถลงภาวะเศรษฐกิจไทยในเดือน ก.พ.65 ยังอยู่ในทิศทางของการฟื้นตัว โดยการส่งออกสินค้าปรับเพิ่มขึ้นบ้างตามอุปสงค์ต่างประเทศที่ปรับดีขึ้น ขณะเดียวกันจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน ตามการกลับมาเปิดลงทะเบียนเข้าประเทศผ่านระบบ Test & Go ส่งผลให้การผลิตภาคอุตสาหกรรมปรับดีขึ้นบ้าง

อย่างไรก็ดี การบริโภคและการลงทุนของภาคเอกชนลดลงเล็กน้อยจากเดือนก่อน เนื่องจากได้รับผลกระทบจากการระบาดของโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอน สำหรับการใช้จ่ายภาครัฐขยายตัว จากทั้งรายจ่ายประจำและรายจ่ายลงทุนของรัฐบาลกลาง

ด้านเสถียรภาพเศรษฐกิจ อัตราเงินเฟ้อทั่วไปปรับเพิ่มขึ้นตามราคาพลังงานและอาหารสด รวมทั้งอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานที่เร่งขึ้นจากราคาอาหารสำเร็จรูป ด้านตลาดแรงงานทยอยปรับดีขึ้นบ้างแต่โดยรวมยังเปราะบาง สำหรับดุลบัญชีเดินสะพัดขาดดุลน้อยลงจากเดือนก่อน ตามดุลการค้าที่เกินดุลเพิ่มขึ้น ขณะที่ดุลรายได้ บริการ และเงินโอนยังขาดดุลต่อเนื่อง

ธปท.ระบุว่า มูลค่าการส่งออกสินค้าที่ขจัดปัจจัยฤดูกาลแล้วเพิ่มขึ้นเล็กน้อยในหลายหมวด อาทิ หมวดที่มีมูลค่าเคลื่อนไหวตามราคาน้ำมัน และหมวดสินค้าเกษตรแปรรูป โดยเฉพาะน้ำตาลที่ผลผลิตในประเทศขยายตัวต่อเนื่อง ขณะที่การส่งออกยานยนต์และอิเล็กทรอนิกส์ยังได้รับผลดีจากอุปสงค์ประเทศคู่ค้าที่ทยอยฟื้นตัว อย่างไรก็ตาม การส่งออกสินค้าเกษตร อาทิ ผลไม้ ปรับลดลงจากมาตรการควบคุมการระบาดของจีนที่เข้มงวดขึ้น

จำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศที่ขจัดปัจจัยฤดูกาลแล้วปรับเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากเดือนก่อน ตามการกลับมาเปิดให้ลงทะเบียนเข้าประเทศผ่านระบบ Test & Go ตั้งแต่วันที่ 1 ก.พ.65

เครื่องชี้การบริโภคภาคเอกชนที่ขจัดปัจจัยฤดูกาลแล้วปรับลดลงเล็กน้อยจากเดือนก่อน เป็นผลจากสถานการณ์การระบาดในประเทศที่กลับมารุนแรงขึ้น ประกอบกับราคาพลังงานและราคาอาหารปรับตัวสูงขึ้น ส่งผลให้ความเชื่อมั่นผู้บริโภคปรับลดลงบ้าง อย่างไรก็ดี มาตรการภาครัฐยังเป็นปัจจัยบวกที่ช่วยพยุงการใช้จ่ายของครัวเรือน

เครื่องชี้การลงทุนภาคเอกชนที่ขจัดปัจจัยฤดูกาลแล้วปรับลดลงเล็กน้อยจากเดือนก่อน โดยลดลงจากด้านเครื่องจักรและอุปกรณ์ตามการนำเข้าสินค้าทุนเป็นสำคัญ ขณะที่ด้านก่อสร้างค่อนข้างทรงตัว

การผลิตภาคอุตสาหกรรมที่ขจัดปัจจัยฤดูกาลแล้วเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากเดือนก่อน โดยเฉพาะ หมวดปิโตรเลียม และหมวดอาหารและเครื่องดื่ม ตามแนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจและสอดคล้องกับทิศทางการผ่อนคลายมาตรการควบคุมการระบาด ขณะที่การผลิตบางหมวดปรับลดลงจากเดือนก่อน อาทิ หมวดยางและพลาสติก หมวดชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ หมวดยานยนต์ และหมวดเคมีภัณฑ์ ส่วนหนึ่งเพราะยังได้รับผลกระทบจากปัญหา supply disruption

มูลค่าการนำเข้าสินค้าที่ขจัดปัจจัยฤดูกาลแล้วเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน โดยเฉพาะหมวดเชื้อเพลิงที่เร่งนำเข้าตามการบริหารคำสั่งซื้อของผู้ประกอบการ ขณะที่การนำเข้าหมวดสำคัญอื่น ๆ ลดลงบ้าง ทั้งวัตถุดิบและสินค้าขั้นกลาง สินค้าทุน และสินค้าอุปโภคบริโภค สอดคล้องกับการใช้จ่ายในประเทศ

การใช้จ่ายภาครัฐที่ไม่รวมเงินโอนขยายตัวเมื่อเทียบกับระยะเดียวกันปีก่อน โดยรายจ่ายประจำขยายตัวจากทั้งรายจ่ายเพื่อซื้อสินค้าและบริการ และรายจ่ายค่าตอบแทนบุคลากร ขณะที่รายจ่ายลงทุนของรัฐบาลกลางขยายตัวตามการเบิกจ่ายของหน่วยงานด้านคมนาคมเป็นสำคัญ

ด้านเสถียรภาพเศรษฐกิจ อัตราเงินเฟ้อทั่วไปปรับเพิ่มขึ้นตามราคาพลังงานและอาหารสด รวมทั้งอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานที่เร่งขึ้นจากราคาอาหารสำเร็จรูปตามต้นทุนวัตถุดิบที่สูงขึ้น ด้านตลาดแรงงานปรับดีขึ้นบ้าง แต่โดยรวมยังเปราะบาง สำหรับดุลบัญชีเดินสะพัดขาดดุลน้อยลงจากเดือนก่อน ตามดุลการค้าที่เกินดุลมากขึ้น ขณะที่ดุลรายได้ บริการ และเงินโอนยังขาดดุลต่อเนื่อง ด้านอัตราแลกเปลี่ยน เงินบาทเทียบกับดอลลาร์ สรอ. แข็งค่าขึ้น หลังมีการเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติผ่านระบบ Test & Go อีกครั้งในเดือน ก.พ.

ธปท.ระบุว่า มูลค่าการส่งออกสินค้าที่ขจัดปัจจัยฤดูกาลแล้วเพิ่มขึ้นเล็กน้อยในหลายหมวด อาทิ หมวดที่มีมูลค่าเคลื่อนไหวตามราคาน้ำมัน และหมวดสินค้าเกษตรแปรรูป โดยเฉพาะน้ำตาลที่ผลผลิตในประเทศขยายตัวต่อเนื่อง ขณะที่การส่งออกยานยนต์และอิเล็กทรอนิกส์ยังได้รับผลดีจากอุปสงค์ประเทศคู่ค้าที่ทยอยฟื้นตัว อย่างไรก็ตาม การส่งออกสินค้าเกษตร อาทิ ผลไม้ ปรับลดลงจากมาตรการควบคุมการระบาดของจีนที่เข้มงวดขึ้น

จำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศที่ขจัดปัจจัยฤดูกาลแล้วปรับเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากเดือนก่อน ตามการกลับมาเปิดให้ลงทะเบียนเข้าประเทศผ่านระบบ Test & Go ตั้งแต่วันที่ 1 ก.พ.65

เครื่องชี้การบริโภคภาคเอกชนที่ขจัดปัจจัยฤดูกาลแล้วปรับลดลงเล็กน้อยจากเดือนก่อน เป็นผลจากสถานการณ์การระบาดในประเทศที่กลับมารุนแรงขึ้น ประกอบกับราคาพลังงานและราคาอาหารปรับตัวสูงขึ้น ส่งผลให้ความเชื่อมั่นผู้บริโภคปรับลดลงบ้าง อย่างไรก็ดี มาตรการภาครัฐยังเป็นปัจจัยบวกที่ช่วยพยุงการใช้จ่ายของครัวเรือน

เครื่องชี้การลงทุนภาคเอกชนที่ขจัดปัจจัยฤดูกาลแล้วปรับลดลงเล็กน้อยจากเดือนก่อน โดยลดลงจากด้านเครื่องจักรและอุปกรณ์ตามการนำเข้าสินค้าทุนเป็นสำคัญ ขณะที่ด้านก่อสร้างค่อนข้างทรงตัว

การผลิตภาคอุตสาหกรรมที่ขจัดปัจจัยฤดูกาลแล้วเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากเดือนก่อน โดยเฉพาะ หมวดปิโตรเลียม และหมวดอาหารและเครื่องดื่ม ตามแนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจและสอดคล้องกับทิศทางการผ่อนคลายมาตรการควบคุมการระบาด ขณะที่การผลิตบางหมวดปรับลดลงจากเดือนก่อน อาทิ หมวดยางและพลาสติก หมวดชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ หมวดยานยนต์ และหมวดเคมีภัณฑ์ ส่วนหนึ่งเพราะยังได้รับผลกระทบจากปัญหา supply disruption

มูลค่าการนำเข้าสินค้าที่ขจัดปัจจัยฤดูกาลแล้วเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน โดยเฉพาะหมวดเชื้อเพลิงที่เร่งนำเข้าตามการบริหารคำสั่งซื้อของผู้ประกอบการ ขณะที่การนำเข้าหมวดสำคัญอื่น ๆ ลดลงบ้าง ทั้งวัตถุดิบและสินค้าขั้นกลาง สินค้าทุน และสินค้าอุปโภคบริโภค สอดคล้องกับการใช้จ่ายในประเทศ

การใช้จ่ายภาครัฐที่ไม่รวมเงินโอนขยายตัวเมื่อเทียบกับระยะเดียวกันปีก่อน โดยรายจ่ายประจำขยายตัวจากทั้งรายจ่ายเพื่อซื้อสินค้าและบริการ และรายจ่ายค่าตอบแทนบุคลากร ขณะที่รายจ่ายลงทุนของรัฐบาลกลางขยายตัวตามการเบิกจ่ายของหน่วยงานด้านคมนาคมเป็นสำคัญ

เสถียรภาพเศรษฐกิจ อัตราเงินเฟ้อทั่วไปปรับเพิ่มขึ้นตามราคาพลังงานและอาหารสด รวมทั้งอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานที่เร่งขึ้นจากราคาอาหารสำเร็จรูปตามต้นทุนวัตถุดิบที่สูงขึ้น ด้านตลาดแรงงานปรับดีขึ้นบ้าง แต่โดยรวมยังเปราะบาง สำหรับดุลบัญชีเดินสะพัดขาดดุลน้อยลงจากเดือนก่อน ตามดุลการค้าที่เกินดุลมากขึ้น ขณะที่ดุลรายได้ บริการ และเงินโอนยังขาดดุลต่อเนื่อง

ด้านอัตราแลกเปลี่ยน เงินบาทเทียบกับดอลลาร์ สรอ. แข็งค่าขึ้น หลังมีการเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติผ่านระบบ Test & Go อีกครั้งในเดือน ก.พ. แต่มาในเดือนมี.ค.(ข้อมูลถึง 24 มี.ค.) โดยเฉลี่ยอ่อนค่าจากปัจจัยความขัดแย้งรัสเซียและยูเครน ทำให้สินทรัพย์เสี่ยงปรับลดลง และ ราคาพลังงานที่สูงขึ้นทำให้คาดว่ามีผลกระทบต่อเศรษฐกิจ แต่หากเทียบประเทศคู่ค้าและคู่แข่งขันถือว่าอ่อนค่าไม่มาก โดยเสถียรภาพต่างประเทศยังเข้มแข็ง

น.ส.ชญาวดี ชัยอนันต์ ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายบริหารการสื่อสารองค์กร ธปท. กล่าวว่า ปัจจัยที่ทำให้ค่าเงินบาทผันผวนมาจากทั้งปัจจัยในประเทศและต่างประเทศ โดยในประเทศเศรษฐกิจมีพื้นฐานดี ส่วนต่างประเทศ มาจากปัญหาของรัสเซีย-ยูเครน และความกังวลต่อสถานการณ์บางช่วง ถ้าเทียบความผันผวนกับประเทศเพื่อนบ้าน ค่าเงินบาทไม่ได้ผันผวนมากกว่าประเทศอื่น เกาะกลุ่มกันไป ไม่ได้ผันผวนมากเป็นพิเศษ ยังอยู่ในสถานการณ์ปกติ

ส่วนแนวโน้มเศรษฐกิจไทยในเดือนมี.ค. อยู่ในทิศทางที่ฟื้นตัว แม้กิจกรรมเศรษฐกิจได้รับแรงกดดันโควิด จากราคาพลังงานสูง ทั้งนี้ ธปท.จะติดตามการระบาดของโควิด การปรับเพิ่มขึ้นของต้นทุนราคาสินค้า และผลของความขัดแย้งรัสเซียและยูเครนในเรื่องของการคว่ำบาตร

“จากที่ได้เดินสายพูดคุยกับภาคธุรกิจในเดือนมี.ค. พบว่าการดำเนินธุรกิจโดยรวมทรงตัว บางภาคได้รับผลกระทบบ้าง หลักๆ ได้รับแรงกดดันจากโควิดโอมิครอน และต้นทุนการผลิตที่สูง ด้านภาคการผลิตดีขึ้นจากเดือนก่อนโดยเฉพาะการส่งออกสินค้าได้ ส่วนโรงแรม ร้านอาหาร ขนส่ง ใกล้เคียงเดือนก่อน ขณะที่การค้าแย่ลง อุปโภคบริโภค ชะลอบริโภคสินค้า เช่นเดียวกับภาคอสังหาริมทรัพย์ ก่อสร้าง การลงทุนยังไม่ฟื้นตัว เพราะราคาวัสดุก่อสร้างสูง”

พร้อมระบุว่า เศรษฐกิจไทยในไตรมาส 1/65 ภาพรวมยังฟื้นตัวได้ แต่ไม่ได้หวือหวาเมื่อเทียบไตรมาส 4/64 ที่ฟื้นตัวดี เนื่องจากได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอน แต่ปัจจัยต่าง ๆ ยังอยู่ในช่วงคาดการณ์ ขณะที่เศรษฐกิจไทย ในสัญญาณไตรมาส 2/65 คาดว่าฟื้นตัวได้ต่อเนื่อง โดยเฉพาะปัจจัยบวกจากช่วงเทศกาลสงกรานต์

อย่างไรก็ดี ยังมีความเสี่ยงที่ต้องติดตาม ทั้งการแพร่ระบาด ปัญหารัสเซีย-ยูเครน ความเชื่อมั่นนักลงทุน ซึ่งส่งผลต่อราคาพลังงาน การเพิ่มขึ้นของราคาต้นทุนและราคาสินค้า ดังนั้นจะต้องติดตามการส่งผ่านอย่างใกล้ชิด แต่ก็ยังไม่ได้เห็นการกระจายตัวเป็นวงกว้าง

โดย สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (31 มี.ค. 65)

Tags: , , , ,
Back to Top