เงินบาทเปิด 34.17 แข็งค่าจากวานนี้ ให้กรอบ 34.05-34.30 จับตาทิศทาง Flow ไหลเข้า

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทเปิดตลาดเช้านี้อยู่ที่ 34.17 บาท/ดอลลาร์ ปรับตัวแข็งค่าจาก ปิดตลาดเย็นวานนี้ที่ระดับ 34.25 บาท/ดอลลาร์ เคลื่อนไหวตามทิศทางตลาดโลกหลังดอลลาร์อ่อนค่า เนื่องจากนักลงทุนเกิดความกังวลต่อ ภาวะเศรษฐกิจของสหรัฐที่อาจถดถอยจนส่งผลให้ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ไม่สามารถปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยได้ตามที่เคยคาดการณ์ไว้ก่อน หน้านี้

“บาทแข็งค่าต่อเนื่องตามทิศทางตลาดโลก หลังดอลลาร์พักฐานจากความกังวลเรื่องภาวะเศรษฐกิจถดถอยของสหรัฐ ส่วนตัว เลขเศรษฐกิจในประเทศนั้นยังมีผลค่อนข้างจำกัด”

นักบริหารเงิน กล่าว

นักบริหารเงินประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในวันนี้ไว้ที่ 34.05 – 34.30 บาท/ดอลลาร์ โดยมีปัจจัยที่ต้อง ติดตามคือการไหลเข้าของเงินทุนต่างประเทศระลอกใหม่ หลังจากเมื่อวานนี้ต่างชาติซื้อพันธบัตรมากถึง 8 พันล้านบาท

THAI BAHT FIX 3M (23 พ.ค.) อยู่ที่ระดับ 0.30058% ส่วน THAI BAHT FIX 6M อยู่ที่ระดับ 0.47199%

* ปัจจัยสำคัญ

– เงินเยนอยู่ที่ระดับ 127.67 เยน/ดอลลาร์ จากเย็นวานนี้ที่ระดับ 127.56 เยน/ดอลลาร์

– เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.0673 ดอลลาร์/ยูโร จากเย็นวานนี้ที่ระดับ 1.0683 ดอลลาร์/ยูโร

– อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท/ดอลลาร์ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างธนาคารของธปท.อยู่ที่ระดับ 34.288 บาท/ดอลลาร์

– นายกรัฐมนตรี มองเศรษฐกิจไทยกำลังฟื้นตัวอย่างช้าๆ แต่ไม่ถึงกับชะลอตัวเมื่อเทียบตั้งแต่เกิดสถานการณ์โควิด-19 ซึ่ง ต้องรักษาสมดุลไว้ให้ได้เพื่อให้เศรษฐกิจเติบโตต่อเนื่อง แรงงานมีรายได้เพิ่มขึ้น และพยายามรักษาระดับเงินเฟ้อให้อยู่ต่ำกว่า 5% โดย ไทยเป็นกลุ่มประเทศที่เงินเฟ้อต่ำสุดในโลก และดูแลกำกับราคาสินค้าให้ได้มากที่สุด

– ส.อ.ท.เผยผลิตรถยนต์ เม.ย. แตะ 1.17 แสนคัน เพิ่มขึ้น 12.87% ส่งผลให้ 4 เดือนแรกปีนี้อยู่ที่ 5.97 แสนคัน เพิ่ม ขึ้น 4.85% คงเป้าหมาย ผลิตทั้งปี 1.8 ล้านคัน จับตาปัญหาชิ้นส่วน และชิปขาดแคลนใกล้ชิด หวังเปิดประเทศ มาตรการกระตุ้น ศก. รัฐ ฟื้นกำลังซื้อเพิ่ม ด้านรถยนต์ไฟฟ้าป้ายแดงยังเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง

– กบน. กัดฟันตรึงดีเซลที่ 32 บาทต่อลิตรอีกสัปดาห์ บรรเทาภาระช่วงเปิดเทอม เผยเร่งถกหาช่องกู้เงินแบงก์ ด้าน ‘ออมสิน’ แจงอาจปล่อยกู้อุ้มกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงไม่ได้ เหตุติดปัญหาไม่ใช่นิติบุคคล ระบุต้องดูข้อกฎหมายถี่ยิบ

– แบงก์ชาติจ่อเปิด “โคแซนด์บ็อกซ์” พัฒนาดิจิทัลไอดีนิติบุคคล หวังช่วยพัฒนาบริการทางการเงิน คาดออกได้ครึ่งปีหลังนี้ ปลื้มแบงก์-นอนแบงก์แห่เข้าทดสอบในแซนด์บ็อกซ์ เฉียด 80 ราย หวังพัฒนาบริการในอนาคต

– นายกสมาคมการค้าผู้ผลิตหลังคาเหล็กไทย เปิดเผยว่าได้เป็นตัวแทนกลุ่มผู้ผลิตหลังคาเหล็ก เข้ายื่นหนังสือต่อ รมว.พาณิชย์ เพื่อขอให้ ทบทวนการใช้มาตรการปกป้องการทุ่มตลาดหรือเอดี กับเหล็กผลิตหลังคาที่นำเข้าจากบางประเทศ โดยมีนายบุณย์ธีร์ พานิชประไพ เลขานุการ รมว.พาณิชย์ เป็นตัวแทนรับหนังสือของกลุ่มตัวแทนผู้ผลิตหลังคาเหล็กไทย

– ททท.ขออย่าตื่นตระหนกการระบาดของเชื้อฝีดาษลิงในยุโรป ปรับคาดการณ์ต่างชาติเข้าไทยช่วงโลว์ซีซัน จากเดือนละ 3 แสนเป็น 5 แสนคน ตลอดปีนี้ได้ตามเป้า 7-10 ล้านคน ส่วนเราเที่ยวด้วยกัน เฟส 4 ส่วนต่อขยาย 1 ล้านสิทธิ์ ขอให้รออีกนิด – “องค์การอนามัยโลก” คาดจะพบผู้ติดเชื้อ “ฝีดาษลิง” เพิ่มขึ้นทั่วโลกพร้อมยกระดับการเฝ้าระวังในประเทศต่างๆ หลังพบ ผู้ติดเชื้อยืนยัน 92 ราย สงสัยติดเชื้ออีก 28 ราย ใน 12 ปท. ระบุเชื้อแพร่กระจายง่ายกว่าโควิด-19

– รัฐบาลอินโดนีเซียอนุญาตให้มีการส่งออกน้ำมันปาล์มในวันจันทร์ (23 พ.ค.) หลังจากที่ประกาศห้ามส่งออกเป็นเวลา 3 สัปดาห์เพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำมันปรุงอาหารในประเทศ

– ยูโรแข็งค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กในวันจันทร์ (23 พ.ค.) ขานรับแนว โน้มที่ธนาคารกลางยุโรป (ECB) จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุมนโยบายการเงินในเดือนก.ค.และก.ย.

– สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดบวกในวันจันทร์ (23 พ.ค.) เนื่องจากการอ่อนค่าของสกุลเงินดอลลาร์เป็นปัจจัยดึงดูดแรง ซื้อทองคำ ขณะที่นักลงทุนจับตารายงานการประชุมเดือนพ.ค.ของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ซึ่งจะมีการเปิดเผยในวันพุธนี้ – นักลงทุนจับตารายงานการประชุมเดือนพ.ค.ของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ซึ่งจะมีการเปิดเผยในวันพุธ เพื่อหาทิศทาง อัตราดอกเบี้ยและการปรับลดขนาดงบดุล (Quantitative Tightening : QT) ของเฟด

– ข้อมูลเศรษฐกิจของสหรัฐที่มีกำหนดเปิดเผยในสัปดาห์นี้ ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตขั้นต้นและภาคบริการ ขั้นต้นเดือนพ.ค.จากเอสแอนด์พี โกลบอล, ยอดขายบ้านใหม่เดือนเม.ย., ยอดสั่งซื้อสินค้าคงทนเดือนเม.ย., จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการ ว่างงานรายสัปดาห์, ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศไตรมาส 1/2565 (ประมาณการครั้งที่ 2), ยอดทำสัญญาขายบ้านที่รอปิดการขาย (pending home sales) เดือนเม.ย., ดัชนีราคาการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) เดือนเม.ย. และดัชนีความเชื่อมั่นผู้ บริโภคเดือนพ.ค.จากมหาวิทยาลัยมิชิแกน

โดย สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (24 พ.ค. 65)

Tags: ,
Back to Top