เงินบาทเปิด 35.35 อ่อนค่าจากวานนี้ตามภูมิภาค นลท.ปิดรับความเสี่ยงจากกังวลศก.สหรัฐ

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทเปิดตลาดเช้านี้อยู่ที่ 35.35 บาท/ดอลลาร์ อ่อนค่าจาก ปิดตลาดช่วงเย็นวานนี้ที่ระดับ 35.28 บาท/ดอลลาร์ เช้านี้บาทเปิดอ่อนค่า สวนกระแสสกุลเงินดอลลาร์ที่ก็อ่อนค่า เนื่องจากเมื่อคืนนี้ตัว เลขดัชนีราคาการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) เดือน พ.ค.ของสหรัฐฯ ออกมาต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้

“PCE ออกมาต่ำกว่าคาด ทำให้ดอลลาร์ ยูโรอ่อนค่า และบาทก็อ่อนค่าด้วย เนื่องจากตลาดยังคงปิดรับความเสี่ยงอยู่ เพราะ ว่าเศรษฐกิจถดถอยในสหรัฐฯ โดยรวม Sentiment ในตลาดยังออกมาไม่ดีอยู่ ด้านภูมิภาคส่วนใหญ่เปิดมาอ่อนค่า เนื่องจาก Sentiment ในตลาดยังไม่ค่อยดี” นักบริหารเงิน กล่าว

นักบริหารเงินประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในวันนี้ไว้ที่ 35.20 – 35.45 บาท/ดอลลาร์ โดยคืนนี้ต้องติดตาม ดัชนีภาคการผลิตเดือนมิ.ย. จากสถาบันจัดการด้านอุปทานของสหรัฐ (ISM)

THAI BAHT FIX 3M (30 มิ.ย.) อยู่ที่ระดับ 0.54848% ส่วน THAI BAHT FIX 6M อยู่ที่ระดับ 0.82765%

* ปัจจัยสำคัญ

– เงินเยนอยู่ที่ระดับ 135.81 เยน/ดอลลาร์ จากเย็นวานนี้ที่ระดับ 136.25 เยน/ดอลลาร์

– เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.0470 ดอลลาร์/ยูโร จากเย็นวานนี้ที่ระดับ 1.0439 ดอลลาร์/ยูโร

– อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท/ดอลลาร์ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างธนาคารของธปท.อยู่ที่ระดับ 35.287 บาท/ดอลลาร์

– “แบงก์ชาติ” ประกาศผ่อนคลายหลักเกณฑ์มาตรการทางการเงิน ไปสู่ระดับปกติ หลังเศรษฐกิจฟื้น แบงก์แข็งแกร่ง ไฟ เขียวจ่ายเงินปันผล จากเดิมที่จำกัดจ่ายไม่เกิน 50% ของกำไรสุทธิ พร้อมนำเงินส่งเข้ากองทุนฟื้นฟูฯคงมาตรการช่วยเหลือกลุ่มเปราะ บาง ยืดผ่อนขั้นต่ำ บัตรเครดิต-สินเชื่อดิจิทัลยาวถึงปี 66

– ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า เศรษฐกิจไทยไตรมาส 2/2565 จะขยายตัวได้ดีกว่าไตรมาส 1/2565 โดยเศรษฐกิจไทยในเดือนพ.ค. ปรับดีขึ้นต่อเนื่อง จากการบริโภค การลงทุนภาคเอกชน การส่งออก และจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติปรับ เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ตามการผ่อนคลายมาตรการเปิดประเทศของรัฐบาล แต่การผลิตภาคอุตสาหกรรม ยังปรับลดลงจากการขาดแคลนชิ้นส่วน การผลิต ขณะที่การใช้จ่ายภาครัฐยังหดตัวตามรายจ่ายลงทุนเป็นสำคัญ

– ผู้บริหารสำนักวิจัย และที่ปรึกษาการลงทุน ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย (CIMBT) เปิดเผยว่า เศรษฐกิจไทยครึ่งหลังปี 65 ต้องรับมือกับ 6 ความท้าทายหลัก ได้แก่ 1. เงินเฟ้อพุ่งทะลุ 10% กดดันการบริโภค 2. เงินบาทอ่อนค่าทะลุ 36 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ หากเฟดเร่งขึ้นดอกเบี้ยแรงต่อเนื่อง 3. การเมืองไทยขาดเสถียรภาพ ส่งผลให้นักลงทุนชะลอโครงการใหม่ 4. ปัญหาความขัดแย้งใน ยุโรปรุนแรงขึ้น หนุนราคาน้ำมันพุ่งสูง 5. สหรัฐเสี่ยงเข้าสู่ภาวะถดถอยเร็ว แต่เงินเฟ้อยังสูง เฟดจำต้องขึ้นดอกเบี้ยแม้การว่างงานพุ่ง 6. จีนต้องล็อกดาวน์อีกรอบหลังมีการระบาดของโควิดในหลายเมือง ส่งผลให้เศรษฐกิจจีนชะลอหนักกระทบการส่งออกของไทย

– สทท.ตั้งเป้าดึงนักท่องเที่ยวต่างชาติ 12 ล้านคนเข้าไทย ปั้นรายได้ 1 ล้านล้าน หลังความเชื่อมั่นผู้ประกอบการเริ่มฟื้น ตัว คาดจ้างงานเพิ่มไตรมาส 4 พร้อมชูกระแส Soft Power อาหารและศิลปะการต่อสู้ไทย

– “สุพัฒนพงษ์” เร่งเจรจาโรงกลั่น ดึงกำไรหนุนราคาพลังงาน ลั่นชัดเจนสัปดาห์นี้ แล้วแต่ความสมัครใจ แต่ยังไม่สรุปหลาย แนวทาง ปตท.ประเมินราคาเฉลี่ยน้ำมันดิบดูไบปีนี้แตะ 103-104 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล สูงสุดเป็นประวัติการณ์ ดีเดย์ 1 ก.ค. แอลพีจี ขยับไปที่ 393 บาท

– หัวหน้าเจ้าหน้าที่ฝ่ายการลงทุนระดับโลกของบริษัทแปซิฟิก อินเวสเมนท์ แมเนจเมนท์ โค หรือพิมโค ซึ่งเป็นหนึ่งในกองทุน ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก ระบุเตือนว่า สหรัฐอาจเผชิญภาวะเศรษฐกิจถดถอยในช่วง 12 เดือนข้างหน้า

– กระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยตัวเลขผู้ยื่นขอสวัสดิการว่างงานครั้งแรกลดลง 2,000 ราย สู่ระดับ 231,000 รายใน สัปดาห์ที่แล้ว แต่สูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 230,000 ราย นอกจากนี้ ตัวเลขดังกล่าวยังสูงกว่าระดับ 215,000 ราย ซึ่งเป็น ค่าเฉลี่ยต่อสัปดาห์ในช่วงก่อนเกิดการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ในสหรัฐ

– กระทรวงพาณิชย์สหรัฐรายงานว่า ดัชนีราคาการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) ทั่วไป ซึ่งรวมหมวดอาหารและ พลังงาน ปรับตัวขึ้น 6.3% ในเดือนพ.ค. เมื่อเทียบรายปี หลังจากเพิ่มขึ้น 6.3% ในเดือนเม.ย.เช่นกัน ส่วนดัชนี PCE พื้นฐาน ซึ่งไม่นับ รวมหมวดอาหารและพลังงาน และเป็นมาตรวัดอัตราเงินเฟ้อที่เฟดให้ความสำคัญ เพิ่มขึ้น 4.7% ในเดือนพ.ค. เมื่อเทียบรายปี

– อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 10 ปีร่วงลงต่ำกว่าระดับ 3% ในวันนี้ หลังสหรัฐเปิดเผยดัชนีราคาการใช้จ่าย เพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) ต่ำกว่าคาด

– สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก ๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กในวันพฤหัสบดี (30 มิ.ย.) หลังจากสหรัฐเปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจที่อ่อนแอ ซึ่งรวมถึงตัวเลขผู้ขอสวัสดิการว่างงานที่สูงกว่าคาดในสัปดาห์ที่แล้ว – สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดร่วงลงในวันพฤหัสบดี (30 มิ.ย.) โดยตลาดถูกกดดันจากความกังวลที่ว่า ตัวเลขเงินเฟ้อที่ เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจะเป็นปัจจัยผลักดันให้ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) เร่งปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย

– นักลงทุนรอดูข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐในวันนี้ ได้แก่ ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตขั้นสุดท้ายเดือนมิ.ย.จากเอส แอนด์พี โกลบอล และดัชนีภาคการผลิตเดือนมิ.ย.จากสถาบันจัดการด้านอุปทานของสหรัฐ (ISM)

โดย สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (01 ก.ค. 65)

Tags: ,
Back to Top