TGE ปิดเทรดวันแรก 1.95 บาท ต่ำกว่า IPO 2.50%

TGE ปิดเทรดวันแรกที่ 1.95 บาท ลดลง 0.05 บาท (-2.50%) จากราคา IPO 2.00 บาท มูลค่าอขาย 2,574.71 ล้านบาท จากราคาเปิด 1.91 บาท ราคาสูงสุด 2.06 บาท ราคาต่ำสุด 1.87 บาท

บล.เอเอสแอล ระบุในบทวิเคราะห์ว่า การประเมินมูลค่าพื้นฐานที่เหมาะสมของบมจ.ท่าฉาง กรีน เอ็นเนอร์ยี่ (TGE) สิ้นปี 2566 เท่ากับ 2.70 บาท/หุ้น ด้วยวิธี SOTP ซึ่งมาจากโครงการโรงไฟฟ้าทั้งสิ้น 6 โครงการ โดยแบ่งเป็นเป็นโรงไฟฟ้าชีวมวลที่ COD แล้ว 3 โครงการ ได้มูลค่า 1.10 บาท/หุ้น และโรงไฟฟ้าขยะชุมชนที่อยู่ในระหว่างการพัฒนา 3 โครงการ ได้มูลค่า 1.60 บาท/หุ้น

หากพิจารณาในแง่ของ PER ที่ราคาเป้าหมาย 2.70 บาท/หุ้น จะได้ Implied PE ในปี 2565-2566 อยู่ที่ 26.4 เท่า และ 24.4 เท่า ก่อนที่จะลดระดับมาที่ 11.8 เท่าในปี 2567 หากเทียบกับค่าเฉลี่ยของกลุ่ม (ACE, CV, ETC และ TPCH) มีค่าเฉลี่ยที่ 28.2 เท่า (ข้อมูลวันที่ 27 ก.ค. 64 – 25 ก.ค. 65) มองว่ามีความน่าสนใจกว่ากลุ่มจาก 1. ความสามารถในการสร้างกำไรที่สูงกว่าค่าเฉลี่ยของกลุ่ม ซึ่งส่งผลต่อแนวโน้มผลประกอบการที่เติบโตโดยเฉพาะตั้งแต่ 2567 เป็นต้นไป รวมถึงโครงการใหม่ๆที่ TGE กำลังจะประมูลในช่วงที่เหลือของปีนี้ ที่มองเป็น hidden value ของบริษัท ซึ่งเราได้ประมาณการช่วงราคาส่วนเพิ่มหากบริษัทชนะการประมูลโรงไฟฟ้าขยะชุมชน 1-4 โครงการ จะได้มูลค่าที่เหมาะสมในกรอบ 0.08 – 0.54 บาท/หุ้น ที่ WACC 10% เพื่อสะท้อนความเสี่ยงในอนาคต (โดยปกติจะมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 5-6%) ซึ่งมีโอกาสถูกปรับลดลงหากทราบรายละเอียดของสัญญาที่มากขึ้น เป็น upside ต่อมูลค่าหุ้นในอนาคต

TGE ประกอบธุรกิจผลิตและจำหน่ายไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนประเภทโรงไฟฟ้าชีวมวล โดยมีที่มาจากธุรกิจโรงงานสกัดน้ำมันปาล์ม ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นให้ TGE ได้นำทะลายปาล์มเปล่ามาเป็นเชื้อเพลิงในการโรงไฟฟ้าชีวมวล ปัจจุบันบริษัทมุ่งเน้นการผลิตและจำหน่ายกระแสไฟฟ้าจากพลังงานทดแทน (Renewable Energy) ซึ่งเป็นธุรกิจที่มีความมั่นคงและแนวโน้มในการเติบโตสูง โดยมีโรงไฟฟ้าที่ COD แล้ว 3 โครงการ โรงไฟฟ้า TGE, TPG และ TBP ในอำเภอท่าฉาง จังหวัดสุราษฎร์ธานี กำลังการผลิตรวม 29.7 MW

ขณะที่ยังมีโครงการโรงไฟฟ้าขยะชุมชนที่อยู่ในระหว่างการพัฒนา ซึ่งได้รับเลือกจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) แล้วและอยู่ระหว่างคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ออกสัญญาซื้อขายไฟฟ้าอีก 3 โครงการ มีกำลังการผลิตรวม 22.0 MW ส่งผลให้ภายในปี 2567 บริษัทจะมีกำลังการผลิตรวมทั้งสิ้น 51.7 MW

จุดเด่นหลัก 1. โรงไฟฟ้าขยะชุมชน (TES SKW, TES CPN และ TES RBR) ที่จะเริ่ม COD ได้ภายในปี 2567 สร้าง Margin สูง โดยต้นทุนเชื้อเพลิงแทบไม่มีเนื่องจากเป็นขยะที่ได้รับมา รวมถึงตามสัญญาที่ อปท. ที่จะต้องนำขยะมาให้ประมาณ 300-400 ตัน/วัน ส่งผลต่อข้อที่ 2. เป็นการเพิ่มช่องทางรายได้ จากค่ากำจัดขยะ (Tipping Fee) 450-600 บาท/ตัน และรายได้จากการขายไฟฟ้า ซึ่งหากเป็นโรงไฟฟ้าชีวมวล จะมีราคาอยู่ที่ 4.58 บาท/หน่วย ขณะที่โรงไฟฟ้าขยะชุมชนจะอยู่ที่ 5.84 บาท/หน่วย 3.การควบคุมต้นทุน ซึ่งมาจากสถานที่ตั้งโรงไฟฟ้าชีวมวล ทั้ง 3 แห่ง ที่อยู่ในบริเวณเดียวกัน กอรปกับในจ.สุราษฎร์ ซึ่งเป็นแหล่งเพาะปลูกปาล์มและยางพาราที่สำคัญของประเทศ จึงมีข้อได้เปรียบด้านวัตถุดิบและต้นทุนค่าขนส่ง รวมถึงมีความยืดหยุ่นในการบริหารจัดการต้นทุน การเก็บสำรองชิ้นส่วนและอุปกรณ์สำหรับโรงไฟฟ้า 4. การพัฒนาเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่อง สามารถรองรับเชื้อเพลิงที่มีความชื้นสูง 40-60% และการเผาวัตถุดิบอย่างทะลายปาล์มเปล่าได้ 100%

และ 5. ธุรกิจอยู่ในกระแสพลังงานสะอาด ที่ภาครัฐให้การสนับสนุน โดยในแผน PDP2022 ที่กำหนดให้โรงไฟฟ้าใหม่ ๆ ที่สร้างขึ้นมาจะต้องมาจากพลังงานทดแทนไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ขณะที่เป้ากำลังการผลิตไฟฟ้าตามแผน AEDP2018 ที่มาจากขยะชุมชนเพิ่มขึ้นจากเดิม 400 MW สู่ระดับ 900 MW รวมถึงการผลักดันนโยบายการใช้พลังงานทดแทนเช่น EV ca หรือ Data cete เป็นต้นที่เป็นการสนับสนุนการใช้พลังงานทดแทนทั้งด้านของ Dema และ Supply ไปพร้อมกัน

แผนในอนาคตเติบโตอย่างยั่งยืน บริษัทยังมี Hidden upside เนื่องจาก TGE มีโครงการโรงไฟฟ้าขยะชุมชนที่อยู่ระหว่างเตรียมเข้าประมูลกับ อปท. อีก 4 โครงการในพื้นที่จังหวัดปราจีนบุรี, ชัยนาท, อุบลราชธานี และ สมุทรสาคร คาดว่าจะเริ่มประมูลได้ในช่วงไตรมาส 3-4 ปี 65 มีกำลังการผลิตรวม 37.7 MW ซึ่งคาดว่าหากได้รับคัดเลือกจากอปท. ที่เกี่ยวข้องให้เป็นผู้ร่วมลงทุนในโครงการในปี 2565 จะ COD ได้ในปี 2569 ส่งผลให้ใน 3 ปี ข้างหน้าจะมีกำลังการผลิตรวมสูงถึง 90 MW และพอร์ทรายได้หลักจะมาจากส่วนของโรงไฟฟ้าขยะชุมชน ซึ่งเป็นธุรกิจที่มี Margin สูง สร้างผลประกอบการให้เติบโตในอนาคต

นอกจากนี้ยังมีแผนขยายธุรกิจไปยังโรงไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนประเภทอื่นที่มีศักยภาพ เช่น พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม พลังงานน้ำ พลังงานชีวมวล ก๊าซชีวภาพ รวมไปถึงพลังงานจากขยะ ทั้งในและต่างประเทศ รวมทั้งอยู่ระหว่างการศึกษาการขยายธุรกิจเพิ่มเติมในสู่ธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับการผลิตไฟฟ้า เพื่อสร้างโอกาสในการเติบโตทางธุรกิจในอนาคต ขณะที่เป้าระยะยาวตั้งเป้ากำลังการผลิต 200 MW ภายในปี 2575

TGE ระดมทุนจากการ IPO ในครั้งนี้ราว 1.2 พันล้านบาท เพื่อ 1.ลงทุนก่อสร้างโรงไฟฟ้าขยะชุมชนที่จ. สระแก้ว, ราชบุรี และชุมพร 2.นำไปชำระเงินกู้ยืมจากสถาบันการเงิน และ 3 เป็นเงินทุนหมุนเวียนในกิจการ โดย D/E หลังการระดมทุนจะลดลงเหลือเพียง 0.9 เท่า จากปี 2563-64 ที่ระดับ 2.1 เท่า และ 1.5 เท่าตามลำดับ ช่วยเพิ่มความคล่องตัวในการกู้ยืมได้มากขึ้นเพื่อลงทุนในโรงไฟฟ้าขยะในเฟสถัดๆไป รองรับการเติบโตไปกับกระแสพลังงานสะอาดในอนาคต

ทิศทางผลประกอบการในปี 65-67 เราประเมินกำไรสุทธิเท่ากับ 225 ล้านบาท (+11.3%YoY), 243 ล้านบาท (+8.1%YoY)และ 504 ล้านบาท (+107.1%YoY) ตามลาดับ ขยายตัวเฉลี่ยแบบ CAGR เท่ากับ 49.6% โดยในช่วงปี 65-66 จะยังไม่เห็นการเติบโตที่นัยยะมากนักเนื่องจากยังไม่รับรู้โครงการใหม่เข้ามา มีเพียงรับรู้โรงไฟฟ้า TBP เต็มปีในปี 2565 ด้านปี 66 จะมีค่าใช้จ่ายลดลงเนื่องจากในปี 65 มีค่าใช้จ่ายการทำ IPO

ส่วนในปี 67 จะเกิด New S- Cuve ผลประกอยการจะขยายตัวอย่างมาก จากการ COD โรงไฟฟ้าขยะทั้ง 4 โรง ด้านอัตรากำไรขั้นต้น มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตามราคาขายไฟของโรงไฟฟ้าขยะที่เพิ่มขึ้น รวมถึงพอร์ทของ TGE ที่จะเพิ่มสัดส่วนรายได้จากโรงไฟฟ้าขยะเป็น 65% และในปี 68 จะรับรู้รายได้เต็มปีส่งผลให้แนวโน้มของ EBITDA margin สูงกว่า 50% ได้ รองรับการก่อนหนี้ในระดับสูงในอนาคตจากผลประกอบการและกระแสเงินสดที่แข็งแกร่ง

โดย สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (19 ส.ค. 65)

Tags: , , ,
Back to Top