คลัง เผยศก.ภูมิภาค ต.ค. ได้ปัจจัยหนุนจากท่องเที่ยว-การบริโภคภาคเอกชน

นายพรชัย ฐีระเวช ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง เปิดเผยภาวะเศรษฐกิจภูมิภาคประจำเดือนต.ค. 65 ว่า เศรษฐกิจภูมิภาคในเดือนต.ค. 65 ได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการท่องเที่ยวต่อเนื่องในทุกภูมิภาค นอกจากนี้ ในภาคใต้ ภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ยังได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการบริโภคภาคเอกชน ในขณะเดียวกัน ความเชื่อมั่นผู้บริโภคก็ปรับตัวดีขึ้นในทุกภูมิภาค

– ภาคใต้ ได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการบริโภคภาคเอกชน และการท่องเที่ยว รวมทั้งความเชื่อมั่นผู้บริโภคและความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมที่ปรับตัวดีขึ้น

ด้านอุปสงค์ พบว่า เครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการบริโภคภาคเอกชน สะท้อนจากการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ขยายตัว 22.8% ต่อปี เช่นเดียวกับจำนวนรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่ขยายตัว 31.1% ต่อปี แต่ชะลอตัว -1.9% เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล ส่วนจำนวนรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ขยายตัว 25.2% ต่อปี แต่ชะลอตัว -7.4% เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล ขณะที่รายได้เกษตรกรชะลอตัว

สำหรับเครื่องชี้ด้านการลงทุนภาคเอกชน สะท้อนจากจำนวนรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลจดทะเบียนใหม่ขยายตัว 7.0% ต่อปี แต่ชะลอตัว -11.0% เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล ขณะที่จำนวนรถบรรทุกจดทะเบียนและเงินทุนของโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการชะลอตัว

ด้านอุปทาน เครื่องชี้ภาคบริการ สะท้อนจากจำนวนผู้เยี่ยมเยือนขยายตัว 1,144.8% ต่อปี แต่ชะลอตัว -2.5% เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล เช่นเดียวกับรายได้จากผู้เยี่ยมเยือนขยายตัว 1,038.0% ต่อปี

ทั้งนี้ ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคอยู่ที่ระดับ 42.2 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ระดับ 40.7 และดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมอยู่ที่ระดับ 92.6 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ระดับ 88.1

– ภาคเหนือ ได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการบริโภคภาคเอกชน และการท่องเที่ยว รวมทั้งความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่ปรับตัวดีขึ้น

ด้านอุปสงค์ พบว่า เครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการบริโภคภาคเอกชน สะท้อนจากการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ขยายตัว 23.3% ต่อปี เช่นเดียวกับจำนวนรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่ขยายตัว 23.2% ต่อปี แต่ชะลอตัว -9.8% เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล และจำนวนรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ขยายตัว 10.8% ต่อปี แต่ชะลอตัว -14.7% เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล และรายได้เกษตรกรขยายตัว 37.8% ต่อปี

สำหรับเครื่องชี้ด้านการลงทุนภาคเอกชน สะท้อนจากจำนวนรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลจดทะเบียนใหม่ชะลอตัว ขณะที่จำนวนรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่ขยายตัว 18.4% ต่อปี แต่ชะลอตัว -8.8% เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล เงินทุนของโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการมูลค่า 729.38 ล้านบาท ขยายตัว 297.1% ต่อปี โดยเป็นการลงทุนในโรงงานแปรรูปผลผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์อบลดความชื้น ด้วยเงินทุน 242.43 ล้านบาท ในจังหวัดเชียงใหม่เป็นสำคัญ

ด้านอุปทาน เครื่องชี้ด้านการบริการสะท้อนจากจำนวนผู้เยี่ยมเยือนขยายตัว 281.3% ต่อปี แต่ชะลอตัว -26.4% เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล เช่นเดียวกับรายได้จากผู้เยี่ยมเยือนขยายตัว 424.7% ต่อปี แต่ชะลอตัว -26.3% เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล

ทั้งนี้ ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคอยู่ที่ระดับ 48.2 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ระดับ 47.0 ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมอยู่ที่ระดับ 75.8 ลดลงจากเดือนก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ระดับ 76.1

– ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการบริโภคภาคเอกชน และการท่องเที่ยว รวมทั้งความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่ปรับตัวดีขึ้น

ด้านอุปสงค์ พบว่า เครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการบริโภคภาคเอกชน สะท้อนจากการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ขยายตัว 24.5% ต่อปี เช่นเดียวกับจำนวนรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่ขยายตัว 19.1% ต่อปี แต่ชะลอตัว -9.3% เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล และจำนวนรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ขยายตัว 19.4% ต่อปี แต่ชะลอตัว -10.6% เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล และรายได้เกษตรกรขยายตัว 27.5% ต่อปี แต่ชะลอตัว -1.0% เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล

สำหรับเครื่องชี้ด้านการลงทุนภาคเอกชน สะท้อนจากจำนวนรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลจดทะเบียนใหม่ จำนวนรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่และ เงินทุนของโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการชะลอตัว

ด้านอุปทาน เครื่องชี้ด้านการบริการ สะท้อนจากจำนวนผู้เยี่ยมเยือนขยายตัว 265.5% ต่อปี แต่ชะลอตัว -19.2% เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล เช่นเดียวกับรายได้จากผู้เยี่ยมเยือนขยายตัว 479.6% ต่อปี แต่ชะลอตัว -16.4% เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล

ทั้งนี้ ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคอยู่ที่ระดับ 50.2 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ระดับ 48.7 ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมอยู่ที่ระดับ 87.4 ลดลงจากเดือนก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ระดับ 88.4

– ภาคตะวันออก ได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการบริโภคภาคเอกชน และการท่องเที่ยว รวมทั้งความเชื่อมั่นผู้บริโภคและความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมที่ปรับตัวดีขึ้น

ด้านอุปสงค์ พบว่า เครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการบริโภคภาคเอกชน สะท้อนจากการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ขยายตัว 10.9% ต่อปี แต่ชะลอตัว -19.8% เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล เช่นเดียวกับจำนวนรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่ขยายตัว 54.0% ต่อปี แต่ชะลอตัว -6.1% เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล และจำนวนรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ขยายตัว 24.1% ต่อปี แต่ชะลอตัว -11.1% เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล และรายได้เกษตรกรขยายตัว 33.9% ต่อปี

สำหรับเครื่องชี้ด้านการลงทุนภาคเอกชน สะท้อนจากจำนวนรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลจดทะเบียนใหม่ และจำนวนรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่ชะลอตัว อย่างไรก็ตาม เงินทุนของโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการมูลค่า 1,577.57 ล้านบาท ขยายตัว 3.5% ต่อปี โดยเป็นการลงทุนในโรงงานซ่อม ดัดแปลง พ่นสี ตัวถังรถยนต์บรรทุก ฯลฯ และเครื่องจักรอื่นๆ ด้วยเงินทุน 468 ล้านบาท ในจังหวัดชลบุรีเป็นสำคัญ

ด้านอุปทาน เครื่องชี้ด้านการบริการ สะท้อนจากจำนวนผู้เยี่ยมเยือนขยายตัว 306.9% ต่อปี แต่ชะลอตัว -12.5% เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล เช่นเดียวกับรายได้จากผู้เยี่ยมเยือนขยายตัว 618.9% ต่อปี แต่ชะลอตัว -22.5% เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล

ทั้งนี้ ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคอยู่ที่ระดับ 49.0 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ระดับ 47.5 และดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมอยู่ที่ระดับ 102.4 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ระดับ 100.7

– ภาคตะวันตก ได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการบริโภคภาคเอกชน และการท่องเที่ยว รวมทั้งความเชื่อมั่นผู้บริโภคและความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมที่ปรับตัวดีขึ้น

ด้านอุปสงค์ พบว่า เครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการบริโภคภาคเอกชน สะท้อนจากการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ขยายตัว 44.9% ต่อปี แต่ชะลอตัว -3.8% เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล เช่นเดียวกับจำนวนรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่ขยายตัว 28.8% ต่อปี แต่ชะลอตัว -8.8% เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล และจำนวนรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ขยายตัว 19.2% ต่อปี แต่ชะลอตัว -9.9% เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล และรายได้เกษตรกรขยายตัว 24.1% ต่อปี

สำหรับเครื่องชี้ด้านการลงทุนภาคเอกชน สะท้อนจากจำนวนรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลจดทะเบียนใหม่ และจำนวนรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่ชะลอตัว อย่างไรก็ตาม เงินทุนของโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการมูลค่า 981.9 ล้านบาท ขยายตัว 458.1% ต่อปี โดยเป็นการลงทุนในโรงงานผลิตเหล็กเส้นและเหล็กรูปพรรณด้วยเงินทุน 805.2 ล้านบาท ในจังหวัดเพชรบุรีเป็นสำคัญ

ด้านอุปทาน เครื่องชี้ด้านการบริการ สะท้อนจากจำนวนผู้เยี่ยมเยือนขยายตัว 178.5% ต่อปี แต่ชะลอตัว -23.6% เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล และรายได้จากผู้เยี่ยมเยือนขยายตัว 227.5% ต่อปี แต่ชะลอตัว -28.1% เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล

ทั้งนี้ ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคอยู่ที่ระดับ 45.0 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ระดับ 43.5 เช่นเดียวกับดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมอยู่ที่ระดับ 98.2 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ระดับ 95.3

– กทม. และปริมณฑล ได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการลงทุนภาคเอกชนและการท่องเที่ยว รวมทั้งความเชื่อมั่นผู้บริโภคและความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมที่ปรับตัวดีขึ้น

ด้านอุปสงค์ พบว่า เครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการบริโภคภาคเอกชน สะท้อนจากการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ชะลอตัว อย่างไรก็ตาม จำนวนรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่ขยายตัว 55.5% ต่อปี แต่ชะลอตัว -28.2% เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล และจำนวนรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ขยายตัว 5.6% ต่อปี แต่ชะลอตัว -6.9% เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล และรายได้เกษตรกรขยายตัว 41.6% ต่อปี

สำหรับเครื่องชี้ด้านการลงทุนภาคเอกชน สะท้อนจากจำนวนรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลจดทะเบียนใหม่ชะลอตัว แต่จำนวนรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่ขยายตัว 11.0% ต่อปี ขณะที่เงินทุนของโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการชะลอตัว

ด้านอุปทาน เครื่องชี้ด้านการบริการ สะท้อนจากจำนวนผู้เยี่ยมเยือนขยายตัว 576.1% ต่อปี เช่นเดียวกับรายได้จากผู้เยี่ยมเยือนขยายตัว 1,589.5% ต่อปี

ทั้งนี้ ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคอยู่ที่ระดับ 44.8 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ระดับ 43.3 และดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมอยู่ที่ระดับ 98.2 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ระดับ 95.3

– ภาคกลาง ได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการการท่องเที่ยว รวมทั้งความเชื่อมั่นผู้บริโภคและความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมที่ปรับตัวดีขึ้น

ด้านอุปสงค์ พบว่า เครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการบริโภคภาคเอกชน สะท้อนจากการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ชะลอตัว ขณะที่จำนวนรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่ขยายตัว 47.5% ต่อปี และจำนวนรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ขยายตัว 34.5% ต่อปี และรายได้เกษตรกรขยายตัว 36.1% ต่อปี

สำหรับเครื่องชี้ด้านการลงทุนภาคเอกชน สะท้อนจากจำนวนรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลจดทะเบียนใหม่ และจำนวนรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่ชะลอตัว อย่างไรก็ตาม เงินทุนของโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการมูลค่า 2,072.65 ล้านบาท ขยายตัว 903.7% ต่อปี โดยเป็นการลงทุนในโรงงานผลิตอาหารสำเร็จรูป เช่น เครื่องแกงสำเร็จรูป อาหารกึ่งสำเร็จรูป ด้วยเงินทุน 1,462 ล้านบาท ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นสำคัญ

ด้านอุปทาน เครื่องชี้ด้านการบริการ สะท้อนจากจำนวนผู้เยี่ยมเยือนขยายตัว 337.9% ต่อปี แต่ชะลอตัว -19.2% เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล เช่นเดียวกับรายได้จากผู้เยี่ยมเยือนขยายตัว 427.3% ต่อปี แต่ชะลอตัว -32.2% เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล

ทั้งนี้ ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคอยู่ที่ระดับ 45.0 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ระดับ 43.5 และดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมอยู่ที่ระดับ 98.2 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ระดับ 95.3

โดย สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (28 พ.ย. 65)

Tags: , , ,
Back to Top