เลือกตั้ง’66: โพลคนสมุทรปราการหนุน “อุ๊งอิ๊ง” เป็นนายกฯ เลือก ส.ส.เพื่อไทย

นิด้าโพล เผยผลสำรวจความนิยมที่มีต่อพรรคการเมืองของประชาชนที่มีสิทธิเลือกตั้งในจังหวัดสมุทรปราการ โดยบุคคลที่จะสนับสนุนให้เป็นนายกรัฐมนตรีในการเลือกตั้งครั้งนี้

  • อันดับ 1 ร้อยละ 35.82 ระบุว่าเป็น น.ส.แพทองธาร ชินวัตร (พรรคเพื่อไทย)
  • อันดับ 2 ร้อยละ 21.36 ระบุว่าเป็นนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ (พรรคก้าวไกล)
  • อันดับ 3 ร้อยละ 13.91 ระบุว่าเป็น พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา (พรรครวมไทยสร้างชาติ)
  • อันดับ 4 ร้อยละ 5.27 ระบุว่าเป็นคุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ (พรรคไทยสร้างไทย)
  • อันดับ 5 ร้อยละ 5.18 ระบุว่าเป็น พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียเวส (พรรคเสรีรวมไทย)
  • อันดับ 6 ร้อยละ 4.82 ระบุว่ายังหาคนที่เหมาะสมไม่ได้
  • อันดับ 7 ร้อยละ 4.36 ระบุว่าเป็นนายเศรษฐา ทวีสิน (พรรคเพื่อไทย)
  • อันดับ 8 ร้อยละ 2.27 ระบุว่าเป็น นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว (พรรคเพื่อไทย)
  • อันดับ 9 ร้อยละ 2.18 ระบุว่าเป็นนายกรณ์ จาติกวณิช (พรรคชาติพัฒนากล้า)
  • อันดับ 10 ร้อยละ 1.18 ระบุว่าเป็น พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ (พรรคพลังประชารัฐ)
  • อันดับ 11 ร้อยละ 1.00 ระบุว่าเป็นนายอนุทิน ชาญวีรกูล (พรรคภูมิใจไทย) และร้อยละ 2.65 ระบุอื่นๆ ได้แก่ นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ (พรรคประชาธิปัตย์) , น.ส.กัญจนา ศิลปอาชา (พรรคชาติไทยพัฒนา) , นพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม (พรรคไทยภักดี) , นายมงคลกิตติ์ สุขสินธารานนท์ (พรรคไทยศรีวิไลย์) , นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค (พรรครวมไทยสร้างชาติ) และนายวันมูหะมัดนอร์ มะทา (พรรคประชาชาติ)

สำหรับพรรคการเมืองที่จะเลือกให้เป็น ส.ส.แบบแบ่งเขต พบว่า

  • อันดับ 1 ร้อยละ 44.64 ระบุว่าเป็นพรรคเพื่อไทย
  • อันดับ 2 ร้อยละ 26.73 ระบุว่าเป็นพรรคก้าวไกล
  • อันดับ 3 ร้อยละ 11.18 ระบุว่าเป็นพรรครวมไทยสร้างชาติ
  • อันดับ 4 ร้อยละ 3.73 ระบุว่าเป็นพรรคเสรีรวมไทย
  • อันดับ 5 ร้อยละ 2.91 ระบุว่าเป็นพรรคพลังประชารัฐ
  • อันดับ 6 ร้อยละ 2.45 ระบุว่าเป็นพรรคประชาธิปัตย์
  • อันดับ 7 ร้อยละ 2.09 ระบุว่าเป็นพรรคไทยสร้างไทย
  • อันดับ 8 ร้อยละ 1.82 ระบุว่ายังไม่ตัดสินใจ
  • อันดับ 9 ร้อยละ 1.55 ระบุว่าเป็นพรรคภูมิใจไทย
  • อันดับ 10 ร้อยละ 1.27 ระบุว่าเป็นพรรคชาติพัฒนากล้า และร้อยละ 1.63 ระบุอื่นๆ ได้แก่ พรรคชาติไทยพัฒนา พรรคกล้า พรรคไทยศรีวิไลย์ พรรคสร้างอนาคตไทย พรรคไทยภักดี และพรรคประชาชาติ

ส่วนพรรคการเมืองที่จะเลือกให้เป็น ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ พบว่า

  • อันดับ 1 ร้อยละ 45.82 ระบุว่าเป็นพรรคเพื่อไทย
  • อันดับ 2 ร้อยละ 25.73 ระบุว่าเป็นพรรคก้าวไกล
  • อันดับ 3 ร้อยละ 11.55 ระบุว่าเป็นพรรครวมไทยสร้างชาติ
  • อันดับ 4 ร้อยละ 4.09 ระบุว่าเป็นพรรคเสรีรวมไทย
  • อันดับ 5 ร้อยละ 2.55 ระบุว่าเป็นพรรคประชาธิปัตย์
  • อันดับ 6 ร้อยละ 2.36 ระบุว่าเป็นพรรคไทยสร้างไทย
  • อันดับ 7 ร้อยละ 2.18 ระบุว่าเป็นพรรคพลังประชารัฐ
  • อันดับ 8 ร้อยละ 1.64 ระบุว่าเป็นพรรคภูมิใจไทย
  • อันดับ 9 ร้อยละ 1.55 ระบุว่ายังไม่ตัดสินใจ
  • อันดับ 10 ร้อยละ 1.18 ระบุว่าเป็นพรรคชาติพัฒนากล้า และร้อยละ 1.35 ระบุอื่นๆ ได้แก่ พรรคกล้า พรรคชาติไทยพัฒนา พรรคไทยศรีวิไลย์ พรรคไทยภักดี พรรคประชาชาติ และพรรคสร้างอนาคตไทย

ทั้งนี้ ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) ได้สำรวจความคิดเห็นของประชาชนที่มีสิทธิเลือกตั้งในจังหวัดสมุทรปราการทุกระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ จำนวน 1,100 หน่วยตัวอย่าง ด้วยวิธีการสุ่มสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ระหว่างวันที่ 22-23 มี.ค.ที่ผ่านมา

โดย สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (02 เม.ย. 66)

Tags: , , , , , ,
Back to Top