เงินบาทเปิด 34.30/35 แข็งค่าเล็กน้อย ตลาดรอตัวเลขศก.สหรัฐ-ทิศทางดอกเบี้ยเฟด

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงเทพ เปิดเผยว่า เงินบาทเปิดตลาดเช้านี้อยู่ที่ 34.30/35 บาท/ดอลลาร์ จากปิดตลาดช่วง เย็นวานนี้ที่ระดับ 34.39 บาท/ดอลลาร์

เงินบาทเคลื่อนไหวใกล้เคียงกับสกุลเงินในภูมิภาค ปรับตัวแข็งค่าจากปิดตลาดเล็กน้อย ช่วงสัปดาห์นี้ตลาดรอติดตามตัวเลข เศรษฐกิจ ทั้งดัชนีราคาการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) เดือนมี.ค. รวมถึงรอติดตามความเห็นก่อนการประชุมกำหนดนโยบาย การเงิน (FOMC) ในวันที่ 2-3 พ.ค.

นักบริหารเงิน ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในวันนี้ไว้ที่ 34.20 – 34.45 บาท/ดอลลาร์ เคลื่อนไหว Sideway ในกรอบ

THAI BAHT FIX 3M (24 เม.ย.) อยู่ที่ระดับ 1.78195% ส่วน THAI BAHT FIX 6M อยู่ที่ระดับ 1.93977%

ปัจจัยสำคัญ

– เงินเยนอยู่ที่ระดับ 134.30/40 เยน/ดอลลาร์ จากเย็นวานนี้ที่ระดับ 134.31 เยน/ดอลลาร์

– เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.1052/1066 ดอลลาร์/ยูโร จากเย็นวานนี้ที่ระดับ 1.1017 ดอลลาร์/ยูโร

– อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท/ดอลลาร์ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างธนาคารของธปท. อยู่ที่ระดับ 34.475 บาท/ดอลลาร์

– กสิกรไทย ชี้ปีนี้เศรษฐกิจ-ท่องเที่ยวฟื้น หนุนผลดำเนินงานไตรมาส 2 ปี 66 โต คาดสินเชื่อโตเข้าเป้า 5-7% พร้อมมุ่งปรับพอร์ตลูกค้า “รายใหญ่-ย่อย-เอสเอ็มอี” ภายใน 3 ปีให้สมดุล-ลดการกระจุกตัว รับสภาพแวดล้อมเปลี่ยน เดินหน้าหนุนกรีนไฟแนนซ์ 1-2 แสนล้านในปี 73

– จีน-ฮ่องกง-ไต้หวันตบเท้าหารือบีโอไอ คิวถึงก.ค.-3 เดือนแห่ลงทุน 1.4 หมื่นล้าน ทัพผู้ผลิตแผ่นวงจรพิมพ์ หรือพีซีบี และซัพพลายเชนกว่า 60 ราย หารือบีโอไอ เตรียมแผนขยายลงทุนใช้ไทยเป็นฐานผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์และแผ่นวงจรพิมพ์ส่งออกตลาด โลก ไตรมาสแรกขอลงทุนไทยภาพรวมกว่า 14,000 ล้านบาท เผยฮ่องกง-ไต้หวันต่อคิวเยือนไทย มิ.ย.-ก.ค.

– ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวถึงความคืบหน้าเรื่องการจัดตั้ง Virtual Bank ว่า ธปท.มีความจำ เป็นต้องเลื่อนกำหนดเวลาที่จะให้ผู้ประสงค์จะยื่นขอใบอนุญาตจัดตั้ง Virtual Bank ออกไปเป็นไตรมาส 4 ของปีนี้ เนื่องจากมีประเด็น คำถามต่างๆ รวมทั้งความเห็นที่หลากหลาย โดยเฉพาะความเท่าเทียมกันและรายละเอียดในการทำธุรกรรมต่างๆ ซึ่งต้องรวบรวมและชี้ แจงให้เกิดความชัดเจน โดยจะจัดทำคำชี้แจงในรูปแบบของคู่มือ (handbook) และคาดว่าจะออกหลักเกณฑ์ในการจัดตั้งได้ในไตรมาส 3 ปีนี้

– รัฐบาลญี่ปุ่นเปิดเผยรายงานเศรษฐกิจรายเดือนในวันนี้บ่งชี้ว่า ญี่ปุ่นปรับเพิ่มการประเมินการนำเข้าอย่างเป็นทางการเป็น ครั้งแรกในรอบ 9 เดือน เนื่องจากการอ่อนค่าลงของเงินเยนเป็นเลข 2 หลักจากปีที่แล้วทำให้ราคาสินค้านำเข้าเพิ่มสูงขึ้น

– เจ้าหน้าที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ได้เริ่มเข้าสู่ช่วงงดเว้นการแสดงความเห็นเกี่ยวกับนโยบายการเงิน (Blackout Period) ก่อนที่เฟดจะจัดการประชุมกำหนดนโยบายการเงิน (FOMC) ในวันที่ 2-3 พ.ค.

– นักลงทุนเพิ่มน้ำหนักต่อคาดการณ์ที่ว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.25% ในการประชุมเดือนพ. ค. ล่าสุด FedWatch Tool ของ CME Group บ่งชี้ว่า นักลงทุนให้น้ำหนัก 90% ที่เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.25% สู่ระดับ 5.00- 5.25% ในการประชุมวันที่ 2-3 พ.ค. และให้น้ำหนักเพียง 10% ที่เฟดจะคงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับ 4.75-5.00%

– ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก ๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กในวันจันทร์ (24 เม. ย.) ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) สาขาดัลลัสเปิดเผยว่า ดัชนีการผลิตหดตัวลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 2

– สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดบวกในวันจันทร์ (24 เม.ย.) เนื่องจากการอ่อนค่าของดอลลาร์และการร่วงลงของอัตราผล ตอบแทนพันธบัตรสหรัฐเป็นปัจจัยหนุนตลาด

– นักวิเคราะห์จากบริษัท Zaye Capital Markets กล่าวว่า นักลงทุนจับตาการเปิดเผยผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ไตรมาส 1/2566 ของสหรัฐในวันพฤหัสบดีนี้อย่างใกล้ชิด โดยหาก GDP ออกมาต่ำเกินคาดก็อาจเป็นแรงกระตุ้นให้นักลงทุนเข้าซื้อ ทองคำเพื่อหลีกเลี่ยงความเสี่ยง

– ข้อมูลเศรษฐกิจที่สำคัญของสหรัฐในสัปดาห์นี้ โดยในวันนี้จะมีการเปิดเผยราคาบ้านเดือนก.พ.จากเอสแอนด์พี/เคส-ชิ ลเลอร์และยอดขายบ้านใหม่เดือนมี.ค., ในวันพุธจะเปิดเผยยอดสั่งซื้อสินค้าคงทนเดือนมี.ค., วันพฤหัสบดีจะเปิดเผยจำนวนผู้ขอรับ สวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ และผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ไตรมาส 1/2566 (ประมาณการเบื้องต้น) ส่วนวันศุกร์จะเปิด เผยดัชนีราคาการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) เดือนมี.ค. และดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนเม.ย.จากมหาวิทยาลัยมิชิแกน

 

โดย สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (25 เม.ย. 66)

Tags: , ,
Back to Top