เงินบาทเปิด 34.65 แข็งค่าเล็กน้อย ให้กรอบ 34.50-34.80 จับตา Flow-ตัวเลขศก.สหรัฐ

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทเปิดตลาดเช้านี้อยู่ที่ระดับ 34.65 บาท/ดอลลาร์ แข็ง ค่าจากปิดตลาดเย็นวานนี้ที่ระดับ 34.72 บาท/ดอลลาร์

เงินบาทแข็งค่าเทียบท้ายตลาด เมื่อคืนอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ ย่อลง ด้านสกุลเงินในภูมิภาคส่วนใหญ่แข็งค่า

สำหรับปัจจัยในประเทศที่ต้องติดตามวันนี้ คือ Flow จากต่างประเทศ ส่วนปัจจัยต่างประเทศ คืนนี้ต้องติดตามการ รายงานตัวเลขเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ทั้งดัชนีภาคการผลิตเดือนพ.ค. จากสถาบันจัดการด้านอุปทานของสหรัฐ (ISM), ตัวเลขจ้าง งานภาคเอกชนเดือนพ.ค. และจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์

นักบริหารเงิน ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทวันนี้ไว้ที่ 34.50 – 34.80 บาท/ดอลลาร์

THAI BAHT FIX 3M (31 พ.ค.) อยู่ที่ระดับ 1.83748% ส่วน THAI BAHT FIX 6M อยู่ที่ระดับ 2.10596%

 ปัจจัยสำคัญ

– เงินเยนอยู่ที่ 139.38 เยน/ดอลลาร์ จากเย็นวานนี้ที่ระดับ 139.81 เยน/ดอลลาร์

– เงินยูโรอยู่ที่ 1.0689 ดอลลาร์/ยูโร จากเย็นวานนี้ที่ระดับ 1.0663 ดอลลาร์/ยูโร

– อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท/ดอลลาร์ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างธนาคารของธปท.อยู่ที่ระดับ 34.743 บาท/ ดอลลาร์

– เจ้าสัวสหพัฒน์ “นายบุณยสิทธิ์ โชควัฒนา” มองบวกเศรษฐกิจไทยยังดี เผยการมีผู้นำประเทศเป็นคนรุ่นใหม่เกิดขึ้น ทั่วโลก ห่วงนโยบายการปรับขึ้นค่าแรงของรัฐบาลใหม่ อาจทำนักลงทุนย้ายฐานการผลิตไปเวียดนาม

– หอการค้าไทย เสนอประเด็นเร่งด่วนที่รัฐบาลใหม่จะต้องเร่งดำเนินการ 3 เรื่อง ได้แก่ 1. การเร่งจัดตั้งรัฐบาล ให้เร็วที่สุด เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับเศรษฐกิจประเทศ 2. การเพิ่มขีดความสามารถด้านการแข่งขันของประเทศ การอำนวย ความสะดวกในการลงทุน มีความขัดเจนในเรื่องค่าแรงขั้นต่ำ การบริหารจัดการโครงสร้างพลังงานของประเทศ 3. เสริมสร้าง ความเข้มแข็งของผู้ประกอบการ และเอสเอ็มอี โดยต้องเข้าถึงแหล่งเงินทุนดอกเบี้ยต่ำได้ง่าย

– ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก ๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กในวันพุธ (31 พ. ค.) หลังสหรัฐเปิดเผยตัวเลขการเปิดรับสมัครงานเพิ่มขึ้น สวนทางกับการคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ ซึ่งทำให้ตลาดคาดการณ์ว่าจะ เป็นปัจจัยสนับสนุนให้ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) เดินหน้าปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยต่อไป

– สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดบวกในวันพุธ (31 พ.ค.) โดยได้ปัจจัยหนุนจากการร่วงลงของอัตราผลตอบแทน พันธบัตรสหรัฐ ขณะที่นักลงทุนจับตาสภาคองเกรสสหรัฐเตรียมลงมติร่างกฎหมายปรับเพิ่มเพดานหนี้

– FedWatch Tool ของ CME Group บ่งชี้ว่า นักลงทุนให้น้ำหนัก 66.4% ที่เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.25% สู่ ระดับ 5.25-5.50% ในการประชุมวันที่ 13-14 มิ.ย. และให้น้ำหนักเพียง 33.6% ที่เฟดจะคงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับ 5.00- 5.25%

– สภาผู้แทนราษฎรสหรัฐ มีมติผ่านร่างกฎหมายการขยายเพดานหนี้ ด้วยคะแนนเสียง 314 ต่อ 117 เสียง ซึ่งจะช่วย ให้รัฐบาลสหรัฐสามารถหลีกเลี่ยงการผิดนัดชำระหนี้ครั้งประวัติศาสตร์

– นักลงทุนส่วนใหญ่คาดการณ์ว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีก 0.25% ในการประชุมเดือน มิ.ย.หลังจากสหรัฐเปิดเผยตัวเลขการเปิดรับสมัครงาน เพิ่มขึ้น 358,000 ตำแหน่ง สู่ระดับ 10.1 ล้านตำแหน่งในเดือนเม.ย. สวนทางกับที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะลดลงสู่ระดับ 9.375 ล้านตำแหน่ง หลังจากปรับตัวลงติดต่อกัน 3 เดือน

– นักลงทุนจับตาการประชุมของกลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปก) และชาติพันธมิตร หรือโอเปกพลัส ในวันที่ 4 มิ.ย. ท่ามกลางความไม่แน่นอนเกี่ยวกับผลการประชุมในครั้งนี้ หลังจากนายอเล็กซานเดอร์ โนวัค รองนายกรัฐมนตรีรัสเซีย กล่าว ว่า รัสเซียไม่สนับสนุนให้มีการปรับลดกำลังการผลิตน้ำมันเพิ่มเติม เนื่องจากเมื่อเดือนที่แล้ว สมาชิกบางประเทศเพิ่งประกาศปรับลด กำลังการผลิตโดยสมัครใจ

– เศรษฐกิจดิจิทัลของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีศักยภาพในการเติบโตอย่างเหลือเฟือ โดยได้รับการสนับสนุน จากปัจจัยพื้นฐานที่แข็งแกร่ง เช่น ผู้บริโภคดิจิทัลกว่า 460 ล้านราย ประชากรวัยหนุ่มสาวและมีทักษะด้านเทคโนโลยี ตลอดจนอัตรา การเข้าถึงอินเทอร์เน็ตที่เพิ่มสูงขึ้น

– ตัวเลขเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ที่ต้องติดตามวันนี้ ได้แก่ ตัวเลขจ้างงานภาคเอกชนเดือนพ.ค. จาก ADP, จำนวนผู้

ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์, ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตขั้นสุดท้ายเดือนพ.ค. จากเอสแอนด์พี โกลบอล, ดัชนีภาคการผลิตเดือนพ.ค. จากสถาบันจัดการด้านอุปทานของสหรัฐ (ISM), การใช้จ่ายด้านการก่อสร้างเดือนเม.ย. และสต็อก

น้ำมันรายสัปดาห์จากสำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานสหรัฐ (EIA)

 

โดย สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (01 มิ.ย. 66)

Tags: ,
Back to Top