“ดุสิตโพล” เปิดความเห็นคนไทยกับการติดตาม “ข่าวสาร” ในภาวะวิกฤต

“สวนดุสิตโพล” มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นประชาชนทั่วประเทศ เรื่อง “คนไทยกับการติดตามข่าวสารใน ภาวะวิกฤต” โดยสำรวจความเห็นจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 1,148 คน (สำรวจทางออนไลน์และภาคสนาม) ระหว่างวันที่ 24-25 ก. ค.68

อันดับรายละเอียดเปอร์เซ็นต์
1. เมื่อได้รับข่าวสารเกี่ยวกับสถานการณ์วิกฤต ประชาชนมักจะทำอย่างไร
1ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลจากหลาย ๆ แหล่ง75.61%
2ติดตามข่าวสารอย่างต่อเนื่อง เตรียมตัวรับมือในกรณีฉุกเฉิน52.44%
3ไม่แชร์ข่าวต่อเพราะไม่แน่ใจในความจริง35.37%
2. ในภาวะวิกฤตประชาชนให้ความเชื่อถือกับแหล่งข่าวประเภทใดมากที่สุด
1หน่วยงานหลักของภาครัฐ ศูนย์ข้อมูลของรัฐ76.83%
2สำนักข่าว นักข่าวที่มีชื่อเสียง50.61%
3นักวิชาการ ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน23.78%
3. ในภาวะวิกฤต ประชาชนอยากให้ภาครัฐและสื่อมวลชนนำเสนอข้อมูลแบบใดมากที่สุด
1สื่อสารข้อมูลที่ถูกต้อง รวดเร็ว ต่อเนื่อง81.10%
2แจ้งข้อควรปฏิบัติอย่างชัดเจน72.56%
3ใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย ไม่เป็นทางการเกินไป57.93%
4. ในกรณีน้ำท่วม ประชาชนอยากให้ภาครัฐหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง “เร่งดำเนินการ” ด้านใดมากที่สุด
1จัดเตรียมพื้นที่พักพิงและเส้นทางอพยพ78.66%
2แจ้งเตือนล่วงหน้าอย่างแม่นยำและทั่วถึง76.22%
3แจกจ่ายอาหาร น้ำ และของจำเป็นอย่างทั่วถึง74.75%
5. ในกรณีไทย-กัมพูชา ประชาชนรู้สึกเป็นห่วงและกังวลเรื่องใดมากที่สุด
1การบาดเจ็บและความสูญเสียของทั้งสองฝ่าย86.50%
2โรงพยาบาล โรงเรียนที่อยู่ในพื้นที่58.90%
3การบิดเบือนข้อมูลข่าวสารในสื่อและโซเชียลมีเดีย55.83%

น.ส.พรพรรณ บัวทอง ประธานสวนดุสิตโพล ระบุว่า คนไทยมีความตื่นตัวในการรับมือสถานการณ์วิกฤต ด้วย “ข้อมูล” และ “สติ” โดยคาดหวังการสื่อสารที่น่าเชื่อถือ โดยเฉพาะเมื่อเกิดภัยพิบัติ หรือความขัดแย้งที่อาจส่งผลกระทบต่อชีวิตและความมั่นคงของ ประเทศ สิ่งที่ประชาชนต้องการไม่ใช่เพียงแค่ข้อมูลเร็ว แต่ต้อง “ถูกต้อง” และ “ปฏิบัติได้จริง” ดังนั้น บทบาทของรัฐและสื่อ จึงต้อง สร้างความเชื่อมั่น และนำพาสังคมให้ก้าวผ่านวิกฤตไปด้วยกัน

โดย สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (27 ก.ค. 68)