
นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทเปิดตลาดเช้านี้อยู่ที่ 32.42 บาท/ดอลลาร์ จากปิดตลาดเย็น วันศุกร์ที่ระดับ 32.39 บาท/ดอลลาร์
เงินบาทค่อนข้างทรงตัวจากปิดตลาดเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา ขณะที่ค่าเงินดอลลาร์ยังเคลื่อนไหวแบบไร้ทิศทางเทียบกับสกุลเงิน ส่วนใหญ่
สำหรับวันนี้ยังไม่มีตัวเลขเศรษฐกิจที่ต้องจับตา ตลาดรอติดตามข่าวความคืบหน้าของการเจรจาภาษีสหรัฐฯ
นักบริหารเงิน ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในวันนี้ไว้ที่ 32.30 – 32.55 บาท/ดอลลาร์
ปัจจัยสำคัญ
- เงินเยน อยู่ที่ระดับ 148.52 เยน/ดอลลาร์ จากเย็นวันศุกร์ที่ระดับ 148.70 เยน/ดอลลาร์
- เงินยูโร อยู่ที่ระดับ 1.1610 ดอลลาร์/ยูโร จากเย็นวันศุกร์ที่ระดับ 1.1637 ดอลลาร์/ยูโร
- อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท/ดอลลาร์ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างธนาคารของ ธปท. อยู่ที่ระดับ 32.417 บาท/ดอลลาร์
- ทีมไทยแลนด์” นำโดย “พิชัย ชุณหวชิร” รองนายกฯ และรมว.คลัง แอบหวังผลภาษีตอบโต้สหรัฐฯ เก็บจากไทยไม่เกิน 20% ด้าน “พาณิชย์” ย้ำ การเจรจายังไม่จบ เหลือประเด็นอุปสรรคทางการค้าที่ไม่ใช่ภาษี การเพิ่มรายการสินค้าที่จะเปิดตลาดให้สหรัฐฯ และการสนับสนุนการลงทุนไทยในสหรัฐฯ ด้าน ธปท.ย้ำ ภาคธุรกิจที่ได้รับผลกระทบภาษีทรัมป์ ให้หารือกับธนาคารเพื่อขอปรับโครงสร้างหนี้ ได้ทันที
- ผอ.ออมสิน ชี้เศรษฐกิจไทยอ่อนแรงทุกด้าน–ส่งออก-ท่องเที่ยวทรุดตัว แนะคนไทยเร่งออมก่อนสายเกิน เริ่มวัยหนุ่มสาว อย่ารอให้เกิน 40 ปี พร้อมแนะสูตรเด็ดบริหารหนี้อย่างเป็นระบบ ดันแนวทางลงทุนกระจายเสี่ยง–ใช้ DCA สร้างวินัยทางการเงิน ชู บทบาท “สองธนาคารในหนึ่งเดียว” เดินหน้าขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากผ่าน CSV ช่วยคนจริงปีละ 2 ล้านราย
- ธนาคารกลางจีน (PBOC) มีมติคงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลูกค้าชั้นดี (LPR) ประเภท 1 ปีเอาไว้ที่ระดับ 3.0% และคงอัตรา ดอกเบี้ย LPR ประเภท 5 ปีเอาไว้ที่ระดับ 3.5% ในวันนี้ (21 ก.ค.) โดยการตัดสินใจคงอัตราดอกเบี้ยมีขึ้นในขณะที่จีนยังคงรับมือกับ ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่ซบเซาลง และเศรษฐกิจที่ขยายตัวในอัตราที่ชะลอลง
- ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ลงนามในกฎหมาย Guiding and Establishing National Innovation for U.S. Stablecoins Act (GENIUS Act) ซึ่งเป็นกฎหมายฉบับแรกของสหรัฐฯ ที่กำกับดูแลสเตเบิลคอยน์
- รัฐมนตรีคลังจากกลุ่มประเทศอุตสาหกรรมและเศรษฐกิจเกิดใหม่ 20 ชาติ (G20) แถลงเมื่อวันศุกร์ว่า เศรษฐกิจโลก กำลังเผชิญกับ “ความไม่แน่นอนที่เพิ่มขึ้นและความท้าทายที่ซับซ้อน” ท่ามกลางความกังวลเกี่ยวกับการขึ้นภาษีศุลกากรของสหรัฐฯ ที่ยังไม่คลี่ คลาย
- ผู้ว่าการเฟดกล่าวสนับสนุนการปรับลดดอกเบี้ยในการประชุมเดือนก.ค. เพราะเชื่อว่าผลกระทบจากภาษีต่อเงินเฟ้อมี จำกัด พร้อมระบุว่าข้อมูลปัจจุบันไม่สะท้อนถึงตลาดแรงงานภาคเอกชนที่แข็งแกร่ง และเฟดควรเร่งดำเนินการล่วงหน้า ก่อนการจ้างงานจะ ชะลอตัวลง
- ประธานเฟดชิคาโก กล่าวว่า เขายังระมัดระวังต่อสัญญาณจากดัชนีราคาผู้บริโภคเดือนมิ.ย.ที่ชี้ว่า ภาษีกำลังกดดันเงินเฟ้อ สินค้าจำเป็น แต่ยังเชื่อว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ อยู่ในเกณฑ์ดี และเฟดสามารถปรับลดดอกเบี้ยลงได้ค่อนข้างมากในช่วง 12 เดือนข้างหน้า
โดย สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (21 ก.ค. 68)