สำนักข่าวอินโฟเควสท์ติดตามข่าวเศรษฐกิจ หุ้น การเงิน และประเด็นน่าสนใจรอบโลกที่นี่

IPO Fund: กองทุนเปิด กองทุนเปิดเอ็มเอฟซี อินเดีย ซีเล็ค อิควิตี้

กองทุนเปิด กองทุนเปิดเอ็มเอฟซี อินเดีย ซีเล็ค อิควิตี้

MFC India Select Equity Fund

ชื่อย่อกองทุน: MINDIA
ประเภทกองทุน: ตราสารทุน
ระดับความเสี่ยง: 6
อายุโครงการ: ไม่กำหนด
นโยบายปันผล: ไม่มี
จำนวนเงินทุนโครงการ: 1,000 ล้านบาท
มูลค่าขั้นต่ำของการซื้อครั้งแรก: 1,000 บาท
มูลค่าขั้นต่ำของการซื้อครั้งถัดไป: 1,000 บาท
วันเสนอขายครั้งแรก (IPO): 19 – 26 เม.ย. 67
บริษัทจัดการ: เอ็มเอฟซี
นโยบายการลงทุน: – ลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวมต่างประเทศเพียงกองทุนเดียว คือ Jupiter India Select Fund (กองทุนหลัก) ในชนิดหน่วยลงทุน (share class) “D USD Acc” ในสกุลเงินเหรียญดอลลาร์สหรัฐ โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม ซึ่ง Jupiter Asset Management Limited เป็นผู้จัดการการลงทุน (Investment manager) และ Jupiter Asset Management International S.A. เป็นบริษัทจัดการลงทุน (Management company)
– กองทุนหลักมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างผลตอบแทนที่ดีในระยะยาวจากการลงทุนในประเทศอินเดียเป็นหลัก และแสวงหาโอกาสการลงทุนในปากีสถาน บังคลาเทศ ศรีลังกา ภูฏาน เนปาล และมัลดีฟส์ กองทุนจะลงทุนตราสารทุนและหลักทรัพย์ที่ใกล้เคียงกับตราสารทุน ซึ่งรวมถึงหุ้นบุริมสิทธิ หุ้นกู้แปลงสภาพที่ไม่มีหลักประกัน (convertible unsecured loan stock) ใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นและตราสารอื่นที่ใกล้เคียง ตราสารแสดงสิทธิการฝากหลักทรัพย์ที่จดทะเบียนในตลาดหุ้นสหรัฐอเมริกา (American depositary receipts) และตราสารแสดงสิทธิการฝากหลักทรัพย์ที่จดทะเบียนในประเทศอื่นๆ (Global depositary receipts) ของบริษัทที่ดำเนินธุรกิจหรือมีฐานที่ตั้งในประเทศอินเดีย และแสวงหาโอกาสการลงทุนในปากีสถาน บังคลาเทศ ศรีลังกา ภูฏาน เนปาล และมัลดีฟส์ โดยกองทุนอาจลงทุนในตราสารทุนของบริษัทอินเดียที่จดทะเบียนซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศ และตราสารแสดงสิทธิการฝากหลักทรัพย์ (depository receipts) ของตราสารทุนของบริษัทอินเดีย กองทุนอาจลงทุนใน UCITS หรือ UCIs ซึ่งลงทุนในตลาดของกลุ่มประเทศดังกล่าว ทั้งนี้ กองทุนสามารถลงทุนในบริษัทที่จัดตั้งในประเทศอื่นซึ่งดำเนินธุรกิจในหนึ่งหรือหลายประเทศดังกล่าวตามความเห็นของผู้จัดการกองทุน
– ลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (Derivatives) เพื่อป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราที่อาจเกิดขึ้นได้จากการลงทุนในต่างประเทศตามความเหมาะสมและสภาวการณ์ในแต่ละขณะ โดยขึ้นอยู่กับดุลยพินิจที่ผู้จัดการกองทุนเห็นเหมาะสม
– กองทุนไทยมุ่งหวังให้ผลประกอบการเคลื่อนไหวตามกองทุนหลัก ส่วนกองทุนหลักมุ่งหวังให้ผลประกอบการสูงกว่าดัชนีชี้วัด (active management) ทั้งนี้ กองทุนหลักมีวัตถุประสงค์ที่จะอ้างอิงดัชนีชี้วัดเพื่อเปรียบเทียบผลการดำเนินงานของดัชนีเท่านั้น กองทุนมุ่งบรรลุวัตถุประสงค์การลงทุนโดยไม่อ้างอิงกับดัชนีชี้วัด ผู้จัดการการลงทุนสามารถสร้างพอร์ตการลงทุนโดยไม่ถูกจำกัดด้วยดัชนีชี้วัด

ข้อมูลหนังสือชี้ชวน

Tag:

<< IPO Fund: กองทุนรวมเปิดใหม่

Back to Top