Crypto Insight: “ท๊อป จิรายุส” ฟันธงปีหน้าคริปโทฯกลับมาเฉิดฉาย แต่ใครจะรอด ? แล้วอนาคต BITKUB ?

ตลาด Cryptocurrency เริ่มเห็นการฟื้นตัวต้นปี 2023 หลังปีจากปีก่อนมูลค่าสินทรัพย์ดิจิทัลลดฮวบในสภาวะตลาดหมี ราคา Bitcoin ถูกกระชากลงมาจากที่เคยขึ้นไปทำจุดสูงสุด 65,000 ดอลลาร์สหรัฐเมื่อปี 2021 จากการล่มสลายของเหรียญ LUNA และ FTX ขณะที่ภาวะเงินเฟ้อที่เคยเป็นปัจจัยหนุนต่อวงการสินทรัพย์ดิจิทัลก็ได้ผ่านจุดสูงสุดไปแล้ว

ปีนี้จะเป็นปีแห่งความหวัง Bitcoin ได้หรือไม่ ?

วันนี้ Crypto INSIGHT จะพาไปไขข้อข้องใจกับตัวตึงวงการอย่าง ท๊อป “จิรายุส ทรัพย์ศรีโสภา” ผู้ก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บิทคับ แคปปิตอล กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด ที่จะมาช่วยเราแชร์มุมมองต่อตลาด Cryptocurrency พร้อมอนาคตของ BITKUB

 

“เมื่อไหร่บิทคอยน์จะแตะ 2 ล้าน!?”

 

ในวงการ Cryptocurrency ทุกคนต่างรู้ว่าทุก ๆ 4 ปี จะมีปีทอง (Golden Year) เกิดขึ้น ก็คือปีที่บิทคอยน์มีการ Halving (ลดจำนวนลงครึ่งหนึ่งทุก ๆ 4 ปี)

Bitcoin Halving เกิดขึ้นครั้งแรกในช่วงกลางปี 2012 หลังจากนั้น 6 เดือน ราคาบิทคอยน์มีการปรับตัวขึ้นจาก 11 ดอลลาร์ ขึ้นไปแตะระดับ 1,150 ดอลลาร์ โดยมีช่วง Bull Run (ตลาดกระทิง) อยู่ประมาณ 1 ปี

Bitcoin Halving ครั้งที่ 2 เกิดขึ้นในช่วงปลายปี 2016 ราคาดีดตัวขึ้นแรงในช่วงกลางปี 2017 จาก 600 ดอลลาร์ ไปแตะ 20,000 ดอลลาร์ และ Bitcoin Halving ครั้งที่ 3 เกิดขึ้นในช่วงปี 2020 และปลายปีราคาบิทคอยน์ปรับตัวจาก 3,000 ดอลลาร์ ขึ้นไปทำ New High ที่ราคา 65,000 ดอลลาร์

Bitcoin Halving ครั้งต่อไปเชื่อว่าจะเกิดขึ้นในปี 2024 ซึ่งเป็นปีเป้าหมายที่รัฐบาลสหรัฐตั้งใจว่าจะลดอัตราเงินเฟ้อลงมาที่ 2% ให้ได้

หากเป็นไปตามแผนลดอัตราเงินเฟ้อที่วางไว้ รัฐบาลมีการอัดฉีดเงินเข้าไประบบอีกครั้ง เศรษฐกิจในปี 2024 จะเป็นปีที่คึกคักอีกปีหนึ่ง

 

“Cryptocurrency ยั่งยืนไหม? ใครจะเป็นผู้อยู่รอด?”

 

เป็นปกติที่ที่อุตสาหกรรมใดก็ตามที่โตขึ้นอย่างรวดเร็ว โอกาสล้มลงมาก็มีมากเช่นกัน ในระยะยาวจะเกิดเหตุการณ์ Natural Selection ธรรมชาติและสภาพแวดล้อมจะค่อย ๆ กำจัดผู้เล่นออกไป ผู้ที่จะสามารถดำเนินธุรกิจอยู่ได้จะเป็นผู้ที่ดำเนินกิจการอย่างถูกต้อง มีความโปร่งใส ดำเนินธุรกิจด้วยหลักธรรมาภิบาลที่ดี

นอกจากนี้ ทางฝั่งผู้ควบคุมดูแลกฎเกณฑ์ต่าง ๆ จะมีการตรวจสอบการทำงานที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น รวมไปถึง Infrastructure (โครงสร้างพื้นฐาน) ที่แข็งแรงขึ้น มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เอื้ออำนวยต่อการประกอบธุรกิจ เสริมประโยชน์แก่ผู้ใช้งาน สิ่งเหล่านี้เป็นเหมือนช่องทางให้เม็ดเงินจากสถาบัน (Institution Money) ไหลเข้าสู่วงการ Cryptocurrency มากขึ้น อีกทั้งใบอนุญาต (License) ต่าง ๆ ที่จะมีออกมาอีกเรื่อย ๆ ตามการพัฒนาของเทคโนโลยี และเป็นแบบอย่างของสถาบันการเงินแห่งโลกอนาคต

 

“ปัญหาโดนแฮ็ก เมื่อไหร่จะหมดสักที!!”

 

เมื่อมีการโดนแฮ็กเกิดขึ้น สิ่งที่เราต้องแยกให้ออกนั่นคือโดนแฮ็กจริง ๆ หรือว่าเกิดจากการยินยอมโดยไม่ตั้งใจ (Compromise) การที่จะโดนแฮ็กได้ นั่นหมายความว่า Hacker มองเห็นช่องโหว่ของระบบ จึงทำการแฮ็กเพื่อนำทรัพย์สินออกมา แต่การโดน Compromise คือการที่ผู้ใช้งานไปกด Link ปลอม มีการกรอกรหัส ทำให้รหัสรั่วไหล หรือการใช้รหัสที่ง่ายต่อการคาดเดาได้ เช่น วันเกิด บ้านเลขที่

จากกรณีที่เกิดขึ้นส่วนมากมักเป็นการ Compromise วิธีป้องกันคือผู้ใช้งานควรใช้รหัสที่แตกต่างกันในทุกแพลตฟอร์ม และศึกษาวิธีการใช้งานให้เข้าใจและหมั่นเปลี่ยนรหัสใหม่ ๆ อยู่เสมอ ความรู้ความเข้าใจเป็นสิ่งสำคัญ!!

“นวัตกรรมใหม่ อะไรจะมา!!”

หากกล่าวถึงอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีนับว่ามีการพัฒนา (เปลี่ยนแปลง) ค่อนข้างเร็ว ไม่ว่าจะเป็น Investment Token ที่เราสามารถ Tokenized มูลค่าของทุกสิ่งให้อยู่ในรูปแบบของโทเคน หรือแม้แต่ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับสังคมและสิ่งแวดล้อม เช่น คาร์บอนเครดิต (Carbon Credit) ปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่สามารถลดได้จากการดำเนินโครงการกลไกการพัฒนาที่สะอาด ทั้ง Green Economy และ Sharing Economy ก็ยังคงเป็นสิ่งที่สังคมให้ความสำคัญ

หากเจาะลึกในส่วนของเทคโนโลยี แน่นอนว่า “Web3” เป็นสิ่งที่น่าตื่นตาตื่นใจ ทั้ง AI, IOT, Metaverse สิ่งเหล่านี้กำลังพัฒนา และจะยิ่งเพิ่มมูลค่าให้แก่ผู้ประกอบธุรกิจ เป็นสิ่งที่เราหลีกเลี่ยงไม่ได้ ไม่ต่างจากอินเตอร์เน็ตในยุคเริ่มต้น

อุตสาหกรรมเกมก็เช่นกัน เรากำลังจะได้พบกับ Interoperability (การทำงานร่วมกัน) ของแพลตฟอร์ม ทั้ง In-App Token หรือ NFT ที่เกี่ยวโยงกับ Metaverse หรือแม้แต่ CBDC หากสิ่งเหล่านี้มีความชัดเจนมากขึ้น มีกฎระเบียบและเกณฑ์ต่าง ๆ ที่เหมาะสม ก็จะเป็นอีกหนึ่งช่องทางในการปลดล็อคเม็ดเงินจากสถาบัน ให้เข้ามาลงทุนมากขึ้นได้ เกื้อหนุนซึ่งกันและกัน ทำให้มีการนำบล็อกเชนไปใช้งานในอุตสาหกรรมที่หลากหลาย

“อนาคตของ BITKUB ก้าวสู่ Academy

“เราตั้งเป้าอยากเป็นตัวแทนของประเทศไทยที่ทำ Digital Economy” แต่ก่อนที่จะเกิด Digital Economy ได้เราจำเป็นต้องมี Digital Infrastructure ให้พร้อมเสียก่อน”

“เราอยากสร้าง Digital Capital ให้กับประเทศ รุ่นคุณพ่อคุณแม่ก่อนหน้าพวกเรา เขาได้ทำการสร้าง Physical Capital ให้แก่ประเทศแล้ว ไม่ว่าจะเป็นทางด่วน ธนาคาร ตลาดหลักทรัพย์ แต่ยุคของพวกเราเป็นยุคดิจิทัล ซึ่งก่อนที่เราจะพัฒนาสิ่งเหล่านี้ได้ เราต้องมี Infrastructure ก่อน เพื่อเพิ่มขีดความสามารถของประเทศไทย

นอกจากนี้เรายังต้องมี Human Capital ประเทศไทยจะพัฒนาไม่ได้ถ้าคนในประเทศไม่สามารถปรับตัวได้ทัน เราจึงมี BITKUB Academy เพื่อ Reskill และ Upskill คนในประเทศ เพื่อรองรับการเป็นจุดศูนย์กลางของอาเซียน”

โดย สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (30 ม.ค. 66)

Tags: , , , , , , , , , ,
Back to Top