CEO ใหม่ THAI ประกาศความมั่นใจออกแผนฟื้นฟู-กลับเข้าตลาดหุ้นได้เร็วกว่ากำหนด

นายชาย เอี่ยมศิริ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.การบินไทย (THAI) คนใหม่แถลงข่าวครั้งแรกหลังเข้ารับตำแหน่งเมื่อ 1 ก.พ.66 ว่า การบินไทยจะออกจากแผนฟื้นฟูกิจการได้เร็วกว่ากำหนดเดิมปลายปี 67 เพราะเงื่อนไขการออกจากแผนฟื้นฟูฯ บริษัทจะต้องมี EBITDA หักค่าเช่า และเงินสดมากกว่า 2 หมื่นล้านบาท และคาดว่าจะกลับเข้าไปซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์เร็วขึ้นด้วยจากแผนเดิมที่คาดไว้ในปี 68

ทั้งนี้ แผนฟื้นฟูกิจการของการบินไทยจะมีการแปลงหนี้เป็นทุน และการเสนอขายหุ้นเพิ่มทุนให้กับผู้ถือหุ้นเดิม คาดว่าจะอยู่ในระยะเวลาใกล้เคียงกัน โดยหากกระทรวงการคลังใช้สิทธิแปลงหนี้เป็นทุนและซื้อหุ้น

นายชาย เอี่ยมศิริ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.การบินไทย (THAI) คนใหม่แถลงข่าวครั้งแรกหลังเข้ารับตำแหน่งเมื่อ 1 ก.พ.66 ว่า การบินไทยจะออกจากแผนฟื้นฟูกิจการได้เร็วกว่ากำหนดเดิมปลายปี 67 เพราะเงื่อนไขการออกจากแผนฟื้นฟูฯ บริษัทจะต้องมี EBITDA หักค่าเช่า และเงินสดมากกว่า 2 หมื่นล้านบาท และคาดว่าจะกลับเข้าไปซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์เร็วขึ้นด้วยจากแผนเดิมที่คาดไว้ในปี 68

ทั้งนี้ แผนฟื้นฟูกิจการของการบินไทยจะมีการแปลงหนี้เป็นทุน และการเสนอขายหุ้นเพิ่มทุนให้กับผู้ถือหุ้นเดิม คาดว่าจะอยู่ในระยะเวลาใกล้เคียงกัน โดยหากกระทรวงการคลังใช้สิทธิแปลงหนี้เป็นทุนและซื้อหุ้นเพิ่มทุน จะทำให้มีสัดส่วนถือในการบินไทย 33% ส่วนหน่วยงานรัฐอื่นจะมี 10% ซึ่งขณะนี้แผนฟื้นฟูได้ดำเนินการมาแล้ว 60-70%

นายชาย กล่าวว่า เหตุผลที่จะทำให้การบินไทยออกจากแผนฟื้นฟูได้เร็วขึ้น มาจากผลประกอบการที่ฟื้นกลับมาดีขึ้นอย่างต่อเนื่องหลังจากเปิดประเทศกลางปี 65 และจีนกลับมาเดินทางได้เร็วกว่าคาด ทำให้ดีมานด์การเดินทางเพิ่มขึ้นมาก บริษัทจึงเชื่อว่าในปี 66 รายได้จะเติบโตได้กว่า 40% จากปี 65 ที่คาดว่าจะทำรายได้กว่า 9 หมื่นล้านบาท และยังคาดว่าว่ากำไรก่อนหักภาษี ดอกเบี้ย ค่าเสื่อมราคา และค่าตัดจำหน่าย (EBITDA) ปีนี้จะสูงถึง 2 หมื่นล้านบาท ภายใต้คาดการณ์อัตราบรรทุกผู้โดยสาร (Cabin Factor) เฉลี่ยที่ 80% จากปีก่อน 80-85% เพราะจำนวนเครื่องบินน้อยกว่า

ขณะเดียวกัน บริษัทมีวงเงินกู้ 2.5 หมื่นล้านบาท แบ่งเป็น term loan 1.25 หมื่นล้านบาท และอีก 1.25 หมื่นล้านบาทรองรับเป็นทุนหมุนเวียนใช้ในกิจการ แต่หากผลประกอบการดีขึ้นก็อาจจะไม่ต้องใช้วงเงินกู้ทั้งหมด นอกจากนั้น บริษัทยังมีเงินสดในมือปัจจุบันสูงถึงกว่า 3 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 64 ที่มีอยู่เพียง 6 พันล้านบาท

นายชาย กล่าวว่า ผลประกอบการในปี 66 นี้จะดีขึ้นจากปีก่อนค่อนข้างมาก เพราะจำนวนที่นั่ง (capacity) เพิ่มขึ้น 50% จากจำนวนเครื่องบินเพิ่มขึ้นอีก 8 ลำ จากปีก่อนมี 41 ลำ โดยนำเครื่องบินที่รอขาย คือ แอร์บัสA330 และ โบอิ้ง 777-200ER มาใช้เพิ่มฝูงบินเป็น 49 ลำ นอกจากนี้เพิ่งเซ็นสัญญาเช่าแอร์บัส A350 จำนวน 6 ลำ เริ่มทยอยรับมอบในเดือน เม.ย.-มิ.ย. นี้ รวมทั้งยังเจรจาเช่าเพิ่มอีก 3 ลำคาดว่าจะรับมอบได้ในช่วงสิ้นปี 66 หรืออย่างช้าต้นปี 67

บริษัทมีแผนจะนำเครื่องบินที่เพิ่มเข้ามาไปเพิ่มความถี่และจุดบินที่เคยบินในยุโรป จีน และญี่ปุ่น ทั้งนี้ เส้นทางบินในยุโรป ยังไม่ได้กลับไปบินเท่ากับปกติ ส่วนจีนจะเพิ่มเที่ยวบินจาก 3 ไฟลท์/สัปดาห์ เป็น 14 ไฟลท์/สัปดาห์ และญี่ปุ่นเพิ่มความถี่ด้วย

อย่างไรก็ตาม บริษัทยังเดินหน้าแผนขายเครื่องบินต่อเนื่อง ซึ่งปัจจุบันมีรออยู่ 22 ลำ ได้แก่ โบอิ้ง 777-300 จำนวน 6 ลำ โบอิ้ง 777-200 จำนวน 6 ลำ ซึ่งทั้ง 2 รุ่นมีอายุใช้งานมากกว่า 20 ปี , แอร์บัส A340 จำนวน 4 ลำ อายุเฉลี่ย 17 ปี และ แอร์บัส A380 จำนวน 6 ลำ อายุใช้งาน 10-12 ปี

ขณะเดียวกัน บริษัทก็อยู่ระหว่างการทำแผนจัดหาเครื่องบินระยะยาวรองรับการดำเนินธุรกิจในช่วงปี 69-70 คาดว่าจะได้ข้อสรุปกลางปี 66

นายกรกฎ ชาตะสิงห์ ประธานเจ้าหน้าที่สายการพาณิชย์ THAI กล่าวว่า ปัจจุบัน THAI มีสัดส่วนรายได้จากตลาดยุโรป (รวมออสเตรเลีย) 40% เอเชียเหนือ 30-35% ซึ่งจากแผนงานในปีนี้ที่จะเพิ่มความถี่ขึ้นก็คาดว่าสัดส่วนน่สจะเพิ่มมากกว่า 40% และเอเชียใต้ อินเดีย,บังคลาเทศ อีก 10%

สำหรับโครงการศูนย์ซ่อมบำรุงอากาศยาน (MRO) ที่อู่ตะเภา นายชาย กล่าวว่า บริษัทจะนำกลับมาศึกษาความเป็นไปได้หลังอุตสาหกรรมการบินเปลี่ยนไปจากสถานการณ์การระบาดโควิด คาดว่าน่าจะได้ข้อสรุปไตรมาส 3/66 และจะดึงพันธมิตรร่วมลงทุนด้วย ซึ่งก่อนหน้านี้บริษัทเคยดึงแอร์บัสเข้ามาร่วมลงทุนแต่ยังไม่สามารถเดินหน้าได้

เพิ่มทุน จะทำให้มีสัดส่วนถือในการบินไทย 33% ส่วนหน่วยงานรัฐอื่นจะมี 10% ซึ่งขณะนี้แผนฟื้นฟูได้ดำเนินการมาแล้ว 60-70%

นายชาย กล่าวว่า เหตุผลที่จะทำให้การบินไทยออกจากแผนฟื้นฟูได้เร็วขึ้น มาจากผลประกอบการที่ฟื้นกลับมาดีขึ้นอย่างต่อเนื่องหลังจากเปิดประเทศกลางปี 65 และจีนกลับมาเดินทางได้เร็วกว่าคาด ทำให้ดีมานด์การเดินทางเพิ่มขึ้นมาก บริษัทจึงเชื่อว่าในปี 66 รายได้จะเติบโตได้กว่า 40% จากปี 65 ที่คาดว่าจะทำรายได้กว่า 9 หมื่นล้านบาท และยังคาดว่าว่ากำไรก่อนหักภาษี ดอกเบี้ย ค่าเสื่อมราคา และค่าตัดจำหน่าย (EBITDA) ปีนี้จะสูงถึง 2 หมื่นล้านบาท ภายใต้คาดการณ์อัตราบรรทุกผู้โดยสาร (Cabin Factor) เฉลี่ยที่ 80% จากปีก่อน 80-85% เพราะจำนวนเครื่องบินน้อยกว่า

ขณะเดียวกัน บริษัทมีวงเงินกู้ 2.5 หมื่นล้านบาท แบ่งเป็น term loan 1.25 หมื่นล้านบาท และอีก 1.25 หมื่นล้านบาทรองรับเป็นทุนหมุนเวียนใช้ในกิจการ แต่หากผลประกอบการดีขึ้นก็อาจจะไม่ต้องใช้วงเงินกู้ทั้งหมด นอกจากนั้น บริษัทยังมีเงินสดในมือปัจจุบันสูงถึงกว่า 3 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 64 ที่มีอยู่เพียง 6 พันล้านบาท

นายชาย กล่าวว่า ผลประกอบการในปี 66 นี้จะดีขึ้นจากปีก่อนค่อนข้างมาก เพราะจำนวนที่นั่ง (capacity) เพิ่มขึ้น 50% จากจำนวนเครื่องบินเพิ่มขึ้นอีก 8 ลำ จากปีก่อนมี 41 ลำ โดยนำเครื่องบินที่รอขาย คือ แอร์บัสA330 และ โบอิ้ง 777-200ER มาใช้เพิ่มฝูงบินเป็น 49 ลำ นอกจากนี้เพิ่งเซ็นสัญญาเช่าแอร์บัส A350 จำนวน 6 ลำ เริ่มทยอยรับมอบในเดือน เม.ย.-มิ.ย. นี้ รวมทั้งยังเจรจาเช่าเพิ่มอีก 3 ลำคาดว่าจะรับมอบได้ในช่วงสิ้นปี 66 หรืออย่างช้าต้นปี 67

บริษัทมีแผนจะนำเครื่องบินที่เพิ่มเข้ามาไปเพิ่มความถี่และจุดบินที่เคยบินในยุโรป จีน และญี่ปุ่น ทั้งนี้ เส้นทางบินในยุโรป ยังไม่ได้กลับไปบินเท่ากับปกติ ส่วนจีนจะเพิ่มเที่ยวบินจาก 3 ไฟลท์/สัปดาห์ เป็น 14 ไฟลท์/สัปดาห์ และญี่ปุ่นเพิ่มความถี่ด้วย

อย่างไรก็ตาม บริษัทยังเดินหน้าแผนขายเครื่องบินต่อเนื่อง ซึ่งปัจจุบันมีรออยู่ 22 ลำ ได้แก่ โบอิ้ง 777-300 จำนวน 6 ลำ โบอิ้ง 777-200 จำนวน 6 ลำ ซึ่งทั้ง 2 รุ่นมีอายุใช้งานมากกว่า 20 ปี , แอร์บัส A340 จำนวน 4 ลำ อายุเฉลี่ย 17 ปี และ แอร์บัส A380 จำนวน 6 ลำ อายุใช้งาน 10-12 ปี

ขณะเดียวกัน บริษัทก็อยู่ระหว่างการทำแผนจัดหาเครื่องบินระยะยาวรองรับการดำเนินธุรกิจในช่วงปี 69-70 คาดว่าจะได้ข้อสรุปกลางปี 66

นายกรกฎ ชาตะสิงห์ ประธานเจ้าหน้าที่สายการพาณิชย์ THAI กล่าวว่า ปัจจุบัน THAI มีสัดส่วนรายได้จากตลาดยุโรป (รวมออสเตรเลีย) 40% เอเชียเหนือ 30-35% ซึ่งจากแผนงานในปีนี้ที่จะเพิ่มความถี่ขึ้นก็คาดว่าสัดส่วนน่สจะเพิ่มมากกว่า 40% และเอเชียใต้ อินเดีย,บังคลาเทศ อีก 10%

สำหรับโครงการศูนย์ซ่อมบำรุงอากาศยาน (MRO) ที่อู่ตะเภา นายชาย กล่าวว่า บริษัทจะนำกลับมาศึกษาความเป็นไปได้หลังอุตสาหกรรมการบินเปลี่ยนไปจากสถานการณ์การระบาดโควิด คาดว่าน่าจะได้ข้อสรุปไตรมาส 3/66 และจะดึงพันธมิตรร่วมลงทุนด้วย ซึ่งก่อนหน้านี้บริษัทเคยดึงแอร์บัสเข้ามาร่วมลงทุนแต่ยังไม่สามารถเดินหน้าได้

โดย สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (09 ก.พ. 66)

Tags: , , ,
Back to Top