เทียบฟอร์มวัคซีนโควิดไฟเซอร์ Gen2 Bivalent ดีกว่าเดิมอย่างไร

วัคซีนไฟเซอร์ (Pfizer) เป็นวัคซีนโควิด-19 ชนิด mRNA โดยวัคซีนไฟเซอร์รุ่นเก่า (Monovalent) ผลิตจากสาย พันธุ์ดั้งเดิม หรือสายพันธุ์อู่ฮั่นที่ระบาดในช่วงแรก ต่อมาเมื่อโควิดมีการแพร่ระบาดและกลายพันธุ์ จึงมีการศึกษาวิจัยและผลิตวัคซีนชนิดผสม ระหว่างสายพันธุ์อู่ฮั่นและโอมิครอน เป็น “วัคซีนรุ่นใหม่ Gen 2” หรือไบวาเลนท์ (Bivalent) ขึ้นมา

สำหรับประเทศไทย เมื่อวันที่ 20 ก.พ. 66 กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ได้รับมอบวัคซีนไฟเซอร์รุ่นใหม่ล็อตแรก จำนวน 501,120 โดส จากรัฐบาลเกาหลี ซึ่งล่าสุดเมื่อวันที่ 7 มี.ค. 66 สถาบันโรคผิวหนัง ได้เปิดให้บริการฉีดวัคซีนไฟเซอร์รุ่นใหม่ แล้ว โดยจะฉีดให้เป็นเข็มกระตุ้นแก่บุคลากรด่านหน้า กลุ่มเสี่ยง และประชาชนทั่วไปที่มีอายุ 12 ปีขึ้นไป และได้รับวัคซีนเข็มล่าสุดนาน เกิน 4 เดือนขึ้นไป โดยไม่มีค่าใช้จ่าย

ด้าน นายอนันต์ จงแก้ววัฒนา ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยนวัตกรรมสุขภาพสัตว์และการจัดการ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยี ชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ได้ให้ข้อมูลเรื่องความแตกต่างระหว่างวัคซีน ไฟเซอร์รุ่นใหม่และรุ่นเก่า ดังนี้

จากผลการทดสอบระดับภูมิคุ้มกันยับยั้งไวรัส SARS-CoV-2 สายพันธุ์หลักๆ ในกลุ่มที่ฉีดวัคซีนไฟเซอร์สูตรเก่า (Monovalent) เทียบกับวัคซีนไฟเซอร์สูตรใหม่ (Bivalent) โดยเก็บตัวอย่างซีรัมหลังฉีดเข็มกระตุ้น (เข็ม 4) ที่ 1 เดือน เปรียบ เทียบโดยใช้ไวรัสตัวจริง พบว่า

– วัคซีนเข็มกระตุ้นสูตรใหม่ สามารถให้ภูมิที่ยับยั้งไวรัสสายพันธุ์กลุ่มโอมิครอนได้มากกว่ากลุ่มที่กระตุ้นด้วยวัคซีนสูตรเก่า โดย เฉพาะไวรัสกลุ่ม BA.4 หรือ BA.5 ซึ่งตรงกับวัคซีนในวัคซีนสูตรใหม่ ภูมิถูกกระตุ้นจากก่อนฉีดขึ้นมา 13 เท่า ในขณะที่วัคซีนสูตรเก่า กระตุ้นขึ้นมาได้ประมาณ 3 เท่า

– ความสามารถในการกระตุ้นด้วยวัคซีนสูตรใหม่ จะได้ภูมิที่ยับยั้งไวรัสกลุ่มที่เป็นลูกหลานของ BA.4 หรือ BA.5 ได้พอ สมควร เช่น กลุ่ม BA.4.6 และ BQ.1.1 ตัวเลขภูมิที่กระตุ้นขึ้นมาได้อยู่ระดับ 8.7-11.1 เท่า เทียบกับวัคซีนสูตรเดิมที่ 1.8-2.3 เท่า

– เมื่อดูภูมิจากวัคซีนสูตรใหม่กับไวรัสที่มีบรรพบุรุษเป็น BA.2 คือ กลุ่ม BA.2.75 และ XBB ความจำเพาะต่อไวรัสจะลด ลง เนื่องจากวัคซีนเริ่มไม่ตรงกับสายพันธุ์ไวรัส ภูมิต่อ BA.2.75 เพิ่มขึ้น 6.7 เท่า และต่อ XBB เพิ่ม 4.8 เท่า

– จำนวนเท่าที่เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับภูมิก่อนฉีดต่อไวรัส 2 สายพันธุ์นี้ที่ต่ำมากอยู่แล้ว ทำให้ตัวเลขที่ออกมาอยู่ที่ 196 ต่อ BA.2.75 และ 84 ต่อ XBB ซึ่งค่อนข้างต่ำ และอาจจะไม่เพียงพอต่อการป้องกัน XBB ในบางคนที่ได้ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยดังกล่าว เปรียบ เทียบให้เห็นได้ชัด คือ 1 เดือนหลังฉีดเข็มกระตุ้นด้วยวัคซีนสูตรใหม่ จะมีภูมิป้องกัน XBB พอๆ กับภูมิของตอนที่ยังไม่ฉีดเข็มกระตุ้นใดๆ กับ ไวรัสสายพันธุ์ BA.5 ซึ่งคงติดได้ไม่ยากแม้จะมีภูมิจากวัคซีนสูตรใหม่มาแล้ว

อย่างไรก็ตาม สำหรับผู้ที่เคยติดเชื้อโควิดมาแล้ว และถูกกระตุ้นด้วยวัคซีนสูตรใหม่ ตัวเลขจะสูงกว่าคนไม่เคยติดมาก่อน จาก ข้อมูลชุดนี้ พบว่า ภูมิต่อ XBB ในคนที่ไม่เคยติดได้แค่ 55 แต่คนที่เคยติดแล้วได้ 131 ซึ่งเห็นความแตกต่าง

ด้าน นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรมว.สาธารณสุข กล่าวว่า ตามมติคณะอนุกรรมการสร้างเสริมภูมิคุ้มกัน โรค และผลการศึกษาในช่วงปลายปี 65 ในประเทศสหรัฐอเมริกา และองค์การอนามัยโลก (WHO) มีข้อแนะนำให้ใช้วัคซีนไฟเซอร์ Bivalent เป็นวัคซีนเข็มกระตุ้นในผู้ที่เคยได้รับวัคซีนไฟเซอร์ 2 เข็มขึ้นไป ซึ่งจะช่วยลดการติดเชื้อแบบมีอาการได้ประมาณ 28-56% ความปลอดภัยไม่ต่างกับวัคซีนรุ่นแรก โดยสามารถใช้ทั้งชนิด Monovalent และ Bivalent มาเป็นเข็มกระตุ้นได้ เนื่องจากผลในการ ป้องกันโรคไม่แตกต่างกัน

ประชาชนที่สนใจฉีดวัคซีนไฟเซอร์รุ่นใหม่ คลิกอ่าน เปิดฉีดวัคซีนไฟเซอร์เข็มกระตุ้นรุ่นใหม่ฟรี เริ่มวันนี้-14 มี.ค.

โดย สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (10 มี.ค. 66)

Tags: , , , , , ,
Back to Top