หุ้นไทยแนวโน้มดัชนีเช้าย่อตัวตามตลาดตปท. กังวลแนวโน้มดอกเบี้ยเฟด

นายวีระวัฒน์ วิโรจน์โภคา ผู้อำนวยการฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.ฟินันเซีย ไซรัส กล่าวว่า แนวโน้มตลาดหุ้นไทยวันนี้คาดแกว่งไซด์เวย์ถึงไซด์เวย์ดาวน์ย่อตัวลงระยะสั้นต่อเนื่อง จากบรรยากาศการลงทุนที่ยังคงค่อนข้างเป็นลบ โดยเมื่อวานนี้ตลาดหุ้นสหรัฐยังคงปรับตัวลงต่อเนื่องขณะที่ตลาดเอเชียเช้านี้เปิดตลาดมาย่อตัวลงต่อ กดดันตลาดหุ้นไทยแต่ไม่ได้ปรับลงรุนแรงเท่าต่างประเทศ

ขณะที่รายงานการประชุมของธนาคารกลางสหรัฐ (Fed Minutes) เมื่อคืนนี้ไม่ได้ช่วยให้นักลงทุนมีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับการลดอัตราดอกเบี้ยมากขึ้น โดยรายงาน Fed Minutes ระบุว่าการลดอัตราดอกเบี้ยน่าจะมีโอกาสเกิดขึ้นในปีนี้ แต่ไม่ได้ระบุช่วงเวลาปรับลดอย่างชัดเจน ส่งผลให้ความน่าจะเป็นที่ก่อนหน้านี้ตลาดคาดว่าจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยในเดือนมี.ค. 70% ปัจจุบันปรับลดมาอยู่ที่ 65% ทำให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐขยับขึ้นมาเล็กน้อย กดดันหุ้นที่ก่อนหน้านี้ปรับตัวขึ้นแรง พักตัวลงมา

พร้อมทั้งให้กรอบแนวต้าน 1,435 จุด และแนวรับ 1,420 – 1,425 จุด

 

ประเด็นพิจารณาการลงทุน

 

– ตลาดหุ้นนิวยอร์ก (3 ม.ค.66)ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 37,430.19 จุด ลดลง 284.85 จุด หรือ -0.76%, ดัชนี S&P500 ปิดที่ 4,704.81 จุด ลดลง 38.02 จุด หรือ -0.80% และดัชนี Nasdaq ปิดที่ 14,592.21 จุด ลดลง 173.73 จุด หรือ -1.18%

– ตลาดหุ้นเอเชียเปิดตลาดวันนี้ ดัชนีฮั่งเส็งตลาดหุ้นฮ่องกงเปิดภาคเช้าที่ระดับ 16,673.40 จุด เพิ่มขึ้น 26.99 จุด หรือ +0.16% และดัชนีเซี่ยงไฮ้คอมโพสิตตลาดหุ้นจีนเปิดภาคเช้าที่ระดับ 2,965.51 จุด ลดลง 1.74 จุด หรือ -0.06% ขณะที่ ดัชนีนิกเกอิเปิดตลาดที่ระดับ 33,193.05 จุด ลดลง 271.12 จุด หรือ -0.81%

– ตลาดหุ้นไทยปิดล่าสุด (3 ม.ค.66) ที่ 1,429.62 จุด ลดลง 3.76 จุด (-0.26%) มูลค่าซื้อขาย 45,241.99 ล้านบาท

– นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิ 978.99 ล้านบาท (3 ม.ค.66)

– ราคาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนก.พ. (3 ม.ค.)เพิ่มขึ้น 2.32 ดอลลาร์ หรือ 3.3% ปิดที่ 72.70 ดอลลาร์/บาร์เรล

– ค่าการกลั่นอ้างอิงตลาดสิงคโปร์ปิดล่าสุด (3 ม.ค.66) อยู่ที่ 7.76 เหรียญ/บาร์เรล

– -เงินบาทเปิด 34.45 แนวโน้มอ่อนค่า ตลาดกลับมากังวลเฟดเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ย

– “คลัง” งัดมาตรการ 4 เดือน กระตุ้นเศรษฐกิจระยะสั้น หวังพยุงช่วงรองบประมาณปี 67 มีผลบังคับใช้ พร้อมประเมินทิศทาง “ดอกเบี้ยโลก” ปรับตัวลง หนุนเศรษฐกิจ-ตลาดหุ้นไทยฟื้นตัว ด้าน “กรมบัญชีกลาง” ออกหนังสือเร่งส่วนราชการ เบิกจ่าย-ลดขั้นตอนจัดซื้อ รับงบประมาณล่าช้า

– 4 ลูกหม้อ ปตท. สมัครชิงเก้าอี้ CEO คนที่ 11 “คงกระพัน-บุรณิน-ม.ล.ปีกทอง-พงษ์พันธุ์” นัดสัมภาษณ์17 ม.ค.นี้ ชี้ผลงานแน่นทั้ง 4 คน ผ่านงานบริหารบริษัทลูกของ ปตท.ระบุ ซีอีโอใหม่บริหารองค์กรสินทรัพย์ 3.5 ล้านล้าน คุมแผนลงทุน 5 ปี กว่า 8.9 หมื่นล้าน ดันธุรกิจใหม่ “อีวี-ไลฟ์สไตล์”

– นายกรัฐมนตรีแถลงร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2567 วงเงิน 3.48 ล้านล้านบาท ต่อสภา ยืนยันรัฐบาลดำเนินการตามกรอบวินัยการเงินการคลังของรัฐ ใช้จ่ายเงินภาษีของประชาชนอย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด

– “แบงก์ชาติ” ทยอยประกาศหลักเกณฑ์ การให้สินเชื่อรายย่อย-สินเชื่อที่มีทะเบียนรถเป็นประกัน โดยประกาศ “ห้าม” แบงก์-นอนแบงก์-ผู้ให้บริการคิด “ดอกเบี้ย-ค่าปรับ-ค่าบริการอื่น” กรณีปิดหนี้ ก่อนกำหนด หวังเปิดทางเลือกให้ลูกหนี้ปิดหนี้ เร็วขึ้น พร้อมส่งเสริมให้เกิดการแข่งขันของ ผู้ประกอบการมากขึ้น “ทีทีบี” ชี้ไม่กระทบแบงก์ เหตุลดต้นลดดอกเบี้ย เอื้อปิดหนี้ ก่อนกำหนดอยู่แล้ว เชื่อเป็นธรรม และหนุนให้การปล่อยกู้ทั้งตลาดมีมาตรฐานเดียวกันมากขึ้น

 

หุ้นเด่นวันนี้

 

– PLANB (กรุงศรี) ซื้อ ราคาเป้าหมาย 10.2 บาท คาดกำไรปี 66 ทำสถิติสูงสุดใหม่ และโตถึง 27%yoy และคาดว่าโมเมนตัมการเติบโตจะดำเนินต่อไปในปีนี้ซึ่งเราคาดว่าจะโต 30%yoy จาก U rate เพิ่มขึ้น และมีการปรับขึ้นค่าโฆษณา

– JMT (เอเอสแอล) ซื้อ ราคาเป้าหมาย 37.39 บาท ผู้บริหารประเมินไตรมาส 4/66 ออกมาในโทนบวก จากสถานการณ์เศรษฐกิจที่ค่อยๆฟื้นตัว และเป็นการเข้าสู่ช่วง high season ทำให้คาดหวังยอดการเก็บหนี้จะทำจุดสูงในปีนี้ได้ (เราคาดราว 1.58-1.6 พันล้านบาท) และยังคงเป็นผู้นำด้านพอร์ทหนี้ด้อยคุณภาพที่ไม่มีหลักประกัน รวมถึงมีแนวโน้มรับรู้รายได้ JK AMC เพิ่มขึ้น ด้าน Bloomberg ประเมินกำไรสุทธิปี 66-67 ที่ 2.0 พันล้านบาท (19.5%YoY) และ 2.37 พันล้านบาท (+19.3%YoY) ตามลำดับ

ทั้งนี้แม้ตลาดมองว่ายังมีความเสี่ยงเรื่องการปล่อยสินเชื่อที่เข้มงวดของสถาบันการเงิน แต่มองว่า Valuation ปัจจุบันน่าสนใจเนื่องจาก ราคาซื้อขายบน PE ปัจจุบันที่ 20 เท่า ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยย้อนหลังระยะยาว -1 SD สะท้อนภาพการให้ Premium ของตลาดที่หมดไปแล้ว (ค่าเฉลี่ยเดิมที่ 34 เท่า) เข้าสู่ระดับ normal จึงประเมินว่า downside risk เริ่มจำกัด ขณะที่ในเชิง sentiment ได้รับปัจจัยหนุนราคาจาก 1. แนวโน้มอัตราดอกเบี้ยที่ผ่านจุดพีคไปแล้ว 2. การปรับขึ้นอัตราชำระขั้นต่ำของบัตรเครดิตเป็น 8% ในปีนี้ และ 10% ในปีถัดไป เป็นโอกาสที่ JMT จะสามารถเข้าซื้อหนี้ด้อยคุณภาพที่ไม่มีหลักประกันจากธนาคารได้มากขึ้น 3. ราคาหุ้นยังไม่สะท้อนแนวโน้มผลประกอบการไตรมาส 4/66 ที่คาดว่าจะออกมาดี

– MEB (คิงส์ฟอร์ด) ซื้อ ราคาเป้าหมาย IAA Consensus 40.00 บาท กำไรสุทธิงวด 9M66 อยู่ที่ 275.30 ล้านบาท + 14.02%YOY ยังสามารถเติบโตได้ต่อเนื่องตามรายได้(+ 11.58%YOY) ที่ขยับขึ้นทั้งในส่วนของแพลตฟอร์ม meb และ readAwrite สำหรับการดำเนินงานในไตรมาส 4/66 คาดว่าจะยังคงสดใสเป็น High Season มีการออกหนังสือใหม่ๆรับสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ ส่วนช่วงถัดไปปี 67 คาดต้นปีจะได้ประโยชน์จากม.e-recepit นอกจากนี้ภาพรวมทั้งปียังจะมีแรงหนุนจากการ เปิดตัวแพลตฟอร์มใหม่สำหรับอ่าน e-book ในรูปแบบภาษาอังกฤษ โดยด้านผู้บริหารเองวางเป้ารายได้ปี 67 โตราว + 10%YOY ทั้งนี้ ตลาดคาดกำไรสุทธิปี66 และ ปี67 ของ MEB ที่ 375 ล้านบาท (+14%YOY) และ 446 ล้านบาท (+18%YOY)

 

โดย สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (04 ม.ค. 67)

Tags: , , ,
Back to Top