“สมคิด” ย้ำโควิดทำโลกพลิกโฉมชี้ช่องหาโอกาสใหม่ในวิกฤติพร้อมใช้ไอทีหนุน

นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ ประธานกรรมการ บมจ.สหพัฒนาอินเตอร์โฮลดิ้ง (SPI) กล่าวงานแถลงข่าวจัดงานสหกรุ๊ปแฟร์ ครั้งที่ 25 ว่า จากสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิดยังคงระบาด 2 ปีแล้ว ที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจทั่วโลก ธุรกิจแทบหยุดชะงัก ผู้คนตกงาน การทำมาหากินยากลำบาก ขณะที่ก็มีการเร่งพัฒนาวัคซีนให้ทันกับการกลายพันธุ์ และกระจายการฉีดวัคซีนเพื่อป้องกัน

อย่างไรก็ดี โควิดได้เปลี่ยนพฤติกรรมและวิถีการใช้ชีวิตมหาศาล คนต้องอยู่กับที่ Work from Home ได้ถูกใช้อย่างแพร่หลาย หลีกเลี่ยงการเข้าไปอยู่กับคนหมู่มาก สิ่งเหล่านี้ได้เกิดทัศนคติที่ต้องมีความปลอดภัยความสะอาด ความเป็นส่วนบุคคล สิ่งเหล่านี้ได้ขยายวงกว้างมากขึ้น

ดังนั้น การดำเนินธุรกิจคงจะไม่กลับไปเหมือนเดิมอีกแล้ว เมื่อคนต้องหลีกเลี่ยงการเดินทาง ทำให้กิจกรรมหลายอย่างหยุดชะงัก หลายเป็นพฤติกรรมที่เปลี่นนแปลงไป ภาคธุรกิจจึงจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนเพื่อให้ธุรกิจสามารถเดินหน้าไปได้ในสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมือนเดิม หากไม่เปลี่ยนแปลงก็อาจตจะไม่สามารถยืนต่อไปได้

อย่างเช่น ธุรกิจท่องเที่ยว จากที่ทำธุรกิจง่ายๆ มีนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้าไทยหลาย 10 ล้านคน แต่จากนี้คงเป็นไปได้ยาก เพราะคนครึ่งโลกยังไม่ได้ฉีดวัคซีน หรือฉีดวัคซีนช้า ดังนั้นการท่องเที่ยวก็ต้องปรับตัว ไม่ใช่เชิงปริมาณ แต่เป็นเชิงคุณภาพ ยกระดับให้มีสุขอนามัยทีดีปลอดเชื้อ สร้างความมั่นใจให้กับนักท่องเที่ยว เพิ่มความเป็นส่วนตัวไม่ยุ่งเกี่ยวกับคนหมู่มาก เป็นต้น

“ธุรกิจที่คิดว่าจะกลับมาเหมือนเดิม แต่ก็ไม่เหมือนเดิมจากพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลง ธุรกิจที่สามารถปรับปรุงตัวเอง เปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมใหม่ก็ย่อมค้นหาใหม่ได้ แต่ธุรกิจที่ไม่สามารถเปลียนแปลงก็อาจยืนอยู่ไม่ได้”นายสมคิด กล่าว

นอกจากนี้ ยังมีตัวอย่างของการสัมมนาและการประชุม เมื่อมีสถานการณ์โควิดเข้ามาจึงต้องหันมาใช้แอปพลิเคชั่น Zoom มาใช้ในประชุมออนไลน์แทน และหลังจากนี้เชื่อว่าผู้คนก็จะใช้การประชุมในรูปแบบออนไลน์มากขึ้นทำให้เกิดความปลอดภัย และประหยัดค่าใช้จ่าย โดยเฉพาะการเดินทางของนักธุรกิจต่าง ๆ ก็จะลดลง ซึ่งจะส่งผลให้ความต้องการของที่นั่งชั้น Business ในเครื่องบินลดลงไปด้วย

ดังนั้น การท่องเที่ยว การจัดประชุมสัมมนา จะได้รับผลกระทบแน่นอน การเดินทางโดยเครื่องบินลดลง เมื่อนักธุรกิจเดินทางในส่วนที่นั่งชั้นธุรกิจมีมากช่วยอุดหนุนราคาที่นั่งชั้น Economy ได้ แต่จากนี้การจัดสรรก็เปลี่ยนใหม่หมด นับจากนี้ผู้คนท่องเที่ยวตระหนักว่าเราต้องเปลี่ยนแปลง ยกระดับการให้บริการ และเลือกกลุ่มเป้าหมายที่เน้นเข้ามาไทย

ส่วนห้างสรรพสินค้า ภัตตาคาร และร้านอาหาร เดิมคนก็เดินเข้าห้างฯ ทำให้ร้านค้าขนาดใหญ่ขายดี แต่จากสถานการณ์โควิดทำให้คนไม่กล้าเดินห้าง แต่เลือกใช้บริการร้านค้าขนาดเล็ก หรือสั่งอาหารไปทานที่บ้านแทน ซึ่งไม่มีความจำเป็นต้องจำกัดลูกค้าด้วยจำนวนโต๊ะที่ร้าน แต่หันไปเน้นเรื่องคุณภาพแทน

“ฉะนั้นผู้ที่ถูกกระทบก็ต้องเปลี่ยนแปลง สิ่งเหล่านี้ไม่เคยเกิดขึ้น แม้ว่าเป็นวิกฤติ แต่ก็เป็นโอกาสที่จะแสวงหาหนทางได้ ธุรกิจอื่นลำบากแต่ธุรกิจออนไลน์กลับขยายตัว ขึ้นอยู่กับว่าเราจะเรียนรู้และอยู่กับมันอย่างไร คนที่จะอยู่รอด คือความสามารถสรางความแตกต่าง กับคู่แข่ง และตรงกับความต้องการลูกค้า และนำข้อแตกต่างด้วยต้นทุนต่ำสุดแต่มีประสิทธิภาพสูงสุด เป็นหัวใจการทำธุรกิจ ในยุคโควิดระบาด และไอทีกำลังแพร่หลาย สิ่งที่เห็นได้ชัด การที่จะสร้างความแตกต่าง ตอบแสนองลูกค้าในทุกมิติ ข้อมูลเป็นสิ่งสำคัญ”นายสมคิด กล่าว

ขณะที่ธุรกิจค้าปลีก (Retail) เห็นว่ามีอำนาจต่อรองสูงที่สุด แม้ว่าคนไม่เข้าห้างก็ยังสามารถช็อปออนไลน์ได้ ซึ่งการทำแพลตฟอร์มเป็นหัวใจในการทำธุรกิจ ไม่จำเป็นต้องพึ่งพาผู้ประกอบการอีคอมเมิร์ซรายใหญ่ ไม่เช่นนั้นอำนาจต่อรองอยู่กับรายใหญ่ ดังนั้นเจ้าของแบรนด์ และเจ้าของสินค้า ต้องเข้าถึงลูกค้าโดยตรง จากทั้งแพลตฟอร์มต่าง ๆ ที่สร้างขึ้นมาเอง ทีมงานศึกษาและวิเคราะห์สร้างกลยุทธ์การตลาดสื่อถึงลูกค้า สร้างแพลตฟอร์มให้แข็งแรง

นายสมคิด กล่าวว่า ภาคธุรกิจสามารถใช้เทคโนโลยีติดต่อถึงลูกค้าโดยตรง นำข้อมูลูกค้ามาวิเคราะห์เจาะลึก มาสร้างกลยุทธ์ ก็จะสามารถเห็นโอกาสใหม่ๆ ที่ไม่เคยเห็นมาก่อน สิ่งเหล่านี้ทำให้ธุรกิจเริ่มตื่นตัวใช้เทคโนโลยีสื่อสารกับลูกค้า และใช้ในการบริหารจัดการต้นน้ำถึงปลายน้ำ หรือมีการผลิต การจัดจำหน่าย และการชำระรวมถึงคลังสินค้า ถ้ารวมไว้ที่เดียวอย่างมีประสิทธิภาพก็จะดีมาก

“โควิดแม้ก่อให้เกิดวิกฤต แต่โลกอนาคต ภายใต้วิกฤติเปิดให้คนที่คิดเป็นปรับตัวได้เร็ว ไม่เช่นนั้นจะถูก disrupt เราต้องไม่ยอมแพ้ จุดเริ่มต้นประชาชน เอกชน ไปจนถึงรัฐบาล การผลักดันข้อมูลเศรษฐกิจด้วยไอทีสำคัญอย่างยิ่ง”นายสมคิด กล่าว

โดย สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (22 มิ.ย. 64)

Tags: , , , ,
Back to Top