นิด้าโพลเผยคนหนุนโหวต “พิธา” จนกว่าได้นายกฯ หากวืด “อุ๊งอิ๊ง” มีลุ้น

ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจของประชาชน เรื่อง “เลือกนายกรัฐมนตรี 2566”

โดยเมื่อถามว่าประชาชนมีความเห็นอย่างไร หากนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล ไม่สามารถได้คะแนนเสียงพอที่จะดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ในการโหวตเลือกนายกรัฐมนตรีรอบแรกวันที่ 13 ก.ค. 66 เป็นดังนี้

อันดับ 1 ประชาชน 43.21% เห็นว่าควรเสนอชื่อนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ เพื่อให้รัฐสภาพิจารณาไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะได้ อันดับ 2 ประชาชน 20.69% เห็นว่าควรเสนอชื่อนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ เพื่อให้รัฐสภาพิจารณา อีก 1-2 รอบเท่านั้น

อันดับ 3 ประชาชน 12.98% เห็นว่าพรรคก้าวไกลควรยอมยกเลิกบางนโยบายที่ ส.ว.ไม่เห็นด้วย เพื่อให้ได้คะแนนเสียงเพิ่มขึ้น

อันดับ 4 ประชาชน 7.94% เห็นว่าพรรคก้าวไกลควรเปิดโอกาสให้พรรคเพื่อไทยเป็นแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาล 8 พรรคแทนทันที

อันดับ 5 ประชาชน 4.88% เห็นว่าพรรคก้าวไกลควรเจรจาชวนพรรคการเมืองในรัฐบาลปัจจุบันเข้าร่วมรัฐบาล เพื่อให้ได้คะแนนเสียงเพิ่มขึ้น

อันดับ 7 ประชาชน 2.67% เห็นว่าควรมีการชุมนุมประท้วงเพื่อกดดัน ส.ว. ให้เลือกนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ในการลงคะแนนเสียงครั้งต่อไป

อันดับ 8 ประชาชน 2.52% เห็นว่าพรรคเพื่อไทยควรขอเป็นแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาล 8 พรรคแทนทันที

อันดับ 9 ประชาชน 2.29% เห็นว่าพรรคก้าวไกลควรประกาศไปเป็นฝ่ายค้านทันที

อันดับ 10 ประชาชน 2.06% เห็นว่าพรรคเพื่อไทยควรสลับขั้วในการจัดตั้งรัฐบาลทันที

เมื่อถามถึงบุคคลที่มีโอกาสจะได้เป็นนายกรัฐมนตรี หากนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ไม่ได้รับเสียงสนับสนุนที่เพียงพอจากรัฐสภา เป็นดังนี้

อันดับ 1 ประชาชน 38.55% ตอบว่า นางสาวแพทองธาร ชินวัตร

อันดับ 2 ประชาชน 35.04% ตอบว่า นายเศรษฐา ทวีสิน

อันดับ 3 ประชาชน 6.79% ตอบว่า พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา

อันดับ 4 ประชาชน 5.65% ตอบว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ

อันดับ 5 ประชาชน 5.42% ตอบว่า พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ

อันดับ 6 ประชาชน 4.27% ตอบว่า นายอนุทิน ชาญวีรกูล

อันดับ 7 ประชาชน 1.45% ตอบว่า นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์

อับดับ 8 ประชาชน 1.07% ตอบว่า นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค

ทั้งนี้ ผลการสำรวจดังกล่าว มาจากความคิดเห็นของประชาชนทั่วประเทศที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ รวมทั้งสิ้น 1,310 หน่วยตัวอย่าง และทำการสำรวจระหว่างวันที่ 11-12 กรกฎาคม 2566

โดย สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (16 ก.ค. 66)

Tags: , , , ,
Back to Top